กองทุนน้ำมันฯ ชะลอจ่ายค่าโง่ ปตท.นำเข้าก๊าซ 8 พันล้าน

กองทุนน้ำมันฯ เตรียมควัก 3 พันล้าน อุดหนุนผู้ประกอบการให้ชะลอปรับขึ้นราคาน้ำมัน หลังหมดโปรโมชัน 6 เดือน ส่วนค่าโง่ ปตท.นำเข้าก๊าซหุงต้ม 8 พันล้าน ที่ติดภาระต้นทุนสูง คงต้องรอให้ชนเพดานหมื่นล้านก่อน

อ่านต่อ

พิมพ์ อีเมล

รื้อโครงสร้างพลังงาน ลดอำนาจผูกขาด ปตท.

การตัดสินใจตรึงราคาก๊าซแอลพีจีและเอ็นจีวี รวมทั้งการปรับแผนการผลิตไฟฟ้าใหม่ให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำลง ของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เมื่อเร็วๆ นี้ ถือเป็นการตัดสินใจของผู้นำประเทศที่ “รู้เท่าทัน”

 

อ่านต่อ

พิมพ์ อีเมล

นโยบายประชานิยม นับถอยหลัง กองทุนน้ำมันฯ

รายงานโดย :ทีมข่าวพลังงาน:
วันพุธที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2552 นสพ.ไทยโพสต์
การตัดสินใจของ รัฐบาล “อภิสิทธิ์” ในการตรึงราคาก๊าซหุงต้ม หรือแอลพีจี ต่อไปแบบไม่มีกำหนด และการอุ้มราคาขายปลีกน้ำมันหลังสิ้นสุดมาตรการลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันใน เดือนก.พ.

อ่านต่อ

พิมพ์ อีเมล

กรมธุรกิจพลังงาน เตรียมออกประกาศควบคุมการนำเข้าถังเอ็นจีวี

กรมธุรกิจพลังงาน เตรียมออกประกาศควบคุมการนำเข้าถังเอ็นจีวีมาใช้ในประเทศ และออกกฎหมายการทำลายถังเอ็นจีวีหมดอายุการใช้งานภายในกลางปีนี้
 
นายศิริศักดิ์ วิทยอุดม รองอธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน กล่าวว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดตั้งคณะกรรมการพิจารณา การร่างประกาศการนำเข้าถังก๊าซธรรมชาติ (ถังเอ็นจีวี) เพื่อกำหนดมาตรฐานความปลอดภัยของถังเอ็นจีวีที่จะนำเข้ามาในไทย โดยเบื้องต้นให้ทุกบริษัทที่นำเข้าถังเอ็นจีวีต้องส่งข้อมูลรายละเอียดของ ถังเอ็นจีวีที่จะนำเข้า และหากเจ้าหน้าที่สุ่มตรวจพบว่าไม่ผ่านมาตรฐานที่กำหนดจะไม่อนุญาตให้นำเข้า ถังทั้งล็อต ซึ่งร่างประกาศดังกล่าวต้องผ่านการรับฟังความเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อออกเป็นประกาศข้อกำหนดการนำเข้าถังเอ็นจีวีก่อน จากนั้นเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรีพิจารณาเห็นชอบ พร้อมออกเป็นประกาศกฎกระทรวงพาณิชย์ว่าด้วยการนำสินค้าเข้ามาในประเทศ คาดว่าร่างดังกล่าวจะแล้วเสร็จและมีผลบังคับใช้ภายในกลางปีนี้ ในขณะที่การควบคุมถังเอ็นจีวีหมดอายุการใช้งานอยู่ระหว่างการศึกษา ว่าจะนำกฎหมายใดมากำหนดให้ถังเอ็นจีวีที่หมดอายุใช้งานต้องถูกทำลายทิ้ง ป้องกันการลักลอบนำกลับมาใช้ใหม่ เนื่องจากไทยมีการนำเข้าถังเอ็นจีวีมาได้เพียง 3-4 ปี ในขณะที่อายุการใช้งานของถังอยู่ที่ประมาณ 15 ปี กรมธุรกิจพลังงานจะเร่งหาข้อกฎหมายมาควบคุมให้เสร็จสิ้นภายในปีนี้เช่นกัน
 
สนข.กรมประชาสัมพันธ์  20-01-52

พิมพ์ อีเมล

พลังงานเล็งซื้อไฟเอสพีพีเพิ่ม2พันเมกะวัตต์

 พลังงานเล็งรับซื้อไฟฟ้าจากเอสพีพีเพิ่มอีก 2,000 เมกะวัตต์ ในปลายปีนี้ มูลค่าลงทุนกว่า 7 หมื่นล้านบาท หวังกระตุ้นการลงทุนเอกชน

 นายพรชัย รุจิประภา ปลัด กระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า กระทรวงพลังงานมีแผนจะประกาศรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก (เอสพีพี) เพิ่มเติมอีก 2,000 เมกะวัตต์ ในช่วงปลายปีนี้ โดยมีกำหนดการจะให้ผลิตไฟฟ้าเข้าระบบในช่วงปี 2557 เพื่อกระตุ้นการลงทุนของภาคเอกชนต่อเนื่องในช่วงปี 2553-2554 คาดว่าจะมีเงินลงทุน 56,000-70,000 ล้านบาท ส่วนช่วงระยะสั้นนี้ กระทรวงพลังงานจะส่งเสริมให้เอสพีพีที่ยังไม่ได้ขายไฟฟ้าเข้าระบบอีก 1,900 เมกะวัตต์ จากที่เสนอขายทั้งหมด 4,000 เมกะวัตต์ เพื่อให้เข้าระบบเร็วขึ้นเป็นปี 2554-2555 จากแผนเดิมปี 2552-2557 

window.google_render_ad()

 "เอสพีพี เป็นโรงไฟฟ้าขนาดเล็กที่เดินหน้าได้เร็วกว่าโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ ทั้งการใช้เงินลงทุน และการจ้างงาน ที่สำคัญโรงไฟฟ้าขนาดเล็กบางระบบ เช่น ระบบผลิตไฟฟ้าและความร้อนร่วม (Cogeneration) ยังช่วยให้เกิดประสิทธิภาพการผลิต และลดลงทุนสายส่งในระยะยาวด้วย แต่การรับซื้อไฟฟ้าครั้งนี้จะต้องดำเนินการโดยคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (เรคกูเลเตอร์)" นายพรชัย กล่าว 

 

ส่วนแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า หรือ พีดีพี 2007 ที่คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) อนุมัติไปแล้วนั้น ได้เลื่อนโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ทั้งของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ (ไอพีพี) ออกไป เพื่อให้กำลังผลิตไฟฟ้าสอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจ โดยใช้จีดีพีโต 2% เป็นกรณีฐาน ทำให้การพยากรณ์ความต้องการใช้ไฟฟ้าระยะสั้น (ปี 2552- 2553 )ใกล้ความจริงมากขึ้น 

 

"แม้ว่าจะเลื่อนโครงการออกไป แต่อัตราสำรองไฟฟ้าปี 2552- 2554 ยังสูงที่ 22.4, 23.9 และ 23.4 % เพราะช่วงเวลาดังกล่าวมีการลงทุนผลิตไฟฟ้าเข้าระบบไปแล้ว แต่ในระยะยาวกำลังผลิตไฟฟ้าสำรองจะลดลงเหลือ 19.9% ปี 2555 และ 15.9% ปี 2557 "

 

อย่างไรก็ตาม เพื่อให้การพยากรณ์แผนพีดีพี ระยะ 15 ปีสอดคล้องกับความเป็นจริงมากที่สุด ทางกระทรวงพลังงานร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่ง ชาติ (สศช.) ศึกษาอัตราเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะยาวอีกครั้ง ซึ่งจะเสร็จใน 8 เดือนข้างหน้า เมื่อถึงตอนนั้นภาวะเศรษฐกิจอาจเปลี่ยนแปลง และกระทรวงพลังงานก็จะพิจารณาแผนพีดีพีระยะยาวอีกครั้ง 

 

"มติ กพช.ครั้งนี้ ยังให้เลื่อนผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้า จะนะ จ.สงขลา หน่วยที่ 2 ให้เร็วขึ้นเป็นปี 2557 จากแผนเดิมปี 2561 กำลังผลิต 800 เมกะวัตต์ มูลค่า 16,000 ล้านบาท เพื่อรองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าในภาคใต้ที่มีอัตราเติบโตปีละ 2-3% "

- กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ 21-01-52

พิมพ์ อีเมล

บทความใกล้เคียงกัน