พลังงานชง 3 แนวทางใช้ไฟฟรี เคาะอัตรา 80 หน่วย/เดือน

กระทรวงพลังงาน เตรียมเสนอขยายมาตรการใช้ไฟฟรี 6 เดือน เข้าครม.สัปดาห์หน้า พร้อมให้เลือก 3 แนวทาง ระบุอัตรา 80 หน่วยต่อเดือน เหมาะสมสุด เพราะเป็นการประหยัด
       
       วันนี้ (08 มกราคม 2552) นายพรชัย รุจิประภา ปลัดกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า มาตรการลดค่าใช้ไฟฟ้าของครัวเรือนของรัฐบาล 1 ใน 6 มาตรการ ระหว่างเดือนสิงหาคม 2551 ถึงเดือนพฤศจิกายน 2551 พบว่า ประชาชนมีการใช้ไฟลดลงในอัตราที่มากขึ้น โดยเฉพาะในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ส่วนการใช้ไฟฟ้าในพื้นที่ภูมิภาคเพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอตัวลง สำหรับการใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 80 หน่วยต่อเดือนฟรี ช่วยลดการใช้ไฟมากที่สุด
       
       ขณะที่การใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 150 หน่วยต่อเดือน ที่รัฐจ่ายค่าไฟให้ครึ่งเดียว มีภาคครัวเรือนได้รับส่วนลด 11.38 ล้านคน แบ่งเป็นครัวเรือนในเขตการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) จำนวน 0.9 ล้านคน และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) จำนวน 10.49 ล้านคน
       
       ดังนั้น กระทรวงพลังงานเตรียมเสนอขยายมาตรการใช้ไฟฟรี เพื่อลดภาระและค่าใช้จ่ายของประชาชนผู้มีรายได้น้อยออกไปอีก ให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาในสัปดาห์หน้า โดยมีตัวเลขเสนอไป 3 แนวทาง คือ 80 หน่วยต่อเดือน 90 หน่วยต่อเดือน และ 100 หน่วยต่อเดือน ในการปรับตัวเลขการใช้ไฟฟ้าให้เหมาะสม

พิมพ์ อีเมล

กฟผ.เสนอเรคกูเลเตอร์ปรับสูตรซื้อขายก๊าซ

กฟผ. 7 ม.ค. -  นายสมบัติ  ศานติจารี  ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เปิดเผยภายหลังร่วมพิธีลงนามกับบริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรี จำกัด  ในสัญญาให้บริการงานเดินเครื่องและบำรุงรักษาโรงไฟฟ้าราชบุรี  มูลค่ารวม  16,500  ล้านบาท  เกี่ยวกับค่าไฟฟ้าอัตโนมัติ (เอฟที) งวดใหม่ (ม.ค.-เม.ย.52 ) ว่า ทาง กฟผ.เสนอตัวเลขต้นทุนไปให้คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน หรือเรคกูเลเตอร์รับทราบแล้ว โดยเสนอไป 2-3  ราคา  แต่สุดท้ายจะปรับขึ้นมากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับเรคกูเลเตอร์ตัดสินใจ 

 

อย่างไรก็ตาม นายสมบัติ ยอมรับว่า ต้นทุนเอฟทีงวดนี้ปรับเพิ่มสูงมาก เนื่องจากราคาเชื้อเพลิงหลัก คือ ก๊าซธรรมชาติพุ่งมาอยู่ระดับเฉลี่ยประมาณ 250 บาทต่อล้านบีทียู  เป็นผลมาจากราคาก๊าซธรรมชาติที่เป็นสูตรผูกติดกับราคาน้ำมันเตาย้อนหลัง 6-12 เดือน โดยราคาในช่วงดังกล่าวนับเป็นช่วงราคาสูงสุดในช่วงราคาน้ำมันดิบ 147 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล  ซึ่งสวนทางกับราคาน้ำมันในขณะนี้ที่ต่ำลงเมื่อเทียบกับช่วงดังกล่าว โดยเคลื่อนไหวที่  40-50 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล  ดังนั้น  เพื่อทำให้ต้นทุนค่าไฟฟ้าสะท้อนราคาเชื้อเพลิงตลาดโลกที่แท้จริง

 

ผู้ว่าการ กฟผ.กล่าวอีกว่า กฟผ.ได้เสนอไปยังเรคกูเลเตอร์ ขอให้มีการเจรจากับบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เพื่อปรับเปลี่ยนสูตรการซื้อขายก๊าซธรรมชาติระหว่าง กฟผ.กับ ปตท.ใหม่ ให้เป็นสูตรราคาล่วงหน้า 4 เดือน  ซึ่งจะสะท้อนต้นทุนน้ำมันแท้จริงมากกว่าและน่าจะเป็นราคาที่ผูกติดกับความเป็นจริง  เนื่องจากสัญญาการซื้อขายน้ำมันส่วนใหญ่เป็นราคาล่วงหน้าที่สามารถดูได้จากข้อมูลต่าง ๆ  ในตลาดค้าน้ำมันของโลก แต่ยังไม่ทราบว่าเรคกูเลเตอร์จะเห็นด้วยหรือไม่  โดยหากเห็นด้วยแล้วก็สามารถปรับสูตรการค้าก๊าซฯ ระหว่าง กฟผ.กับ ปตท.ได้  ค่าไฟฟ้าก็น่าจะสะท้อนตามต้นทุนที่แท้จริงได้ไม่สวนทางราคาน้ำมัน  ส่วนปัญหา ปตท.กับเจ้าของสัมปทานแหล่งก๊าซที่ใช้สูตรราคาย้อนหลังจะได้รับผลกระทบหรือไม่นั้น  ผู้ว่าการ กฟผ. กล่าวว่า คงเป็นเรื่องของผู้ผลิตและจำหน่ายก๊าซจะเจรจากันเอง

 

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าเรคกูเลเตอร์จะมีการประชุมเพื่อสรุปค่าเอฟที ในต้นสัปดาห์หน้า  ซึ่งแม้ว่าในขณะนี้ต้นทุน    ค่าก๊าซธรรมชาติจะขยับสูงขึ้นเมื่อเทียบกับต้นทุนครั้งที่แล้ว  22  บาทต่อล้านบีทียู  คำนวณเป็นค่าเอฟทีที่ต้องปรับขึ้นมากกว่า 10  สตางค์ต่อหน่วย  และเมื่อไปรวมกับค่าเอฟทีเดิมงวดที่แล้วที่ต้องเกลี่ยมางวดนี้อีกไม่ต่ำกว่า  14.85  สตางค์ต่อหน่วย  รวมแล้วต้นทุนจะขึ้นประมาณเกือบ 30  สตางค์ต่อหน่วย  แต่เรคกูเลเตอร์จะใช้วิธีการเกลี่ยราคารอบใหม่เพื่อไม่ให้ประชาชนได้รับผลกระทบมากเกินไป  โดยคาดว่าค่าเอฟทีที่ปรับขึ้นงวดนี้จะใกล้เคียงกับงวดที่แล้วที่เคยปรับขึ้น 14.85 สตางค์ต่อหน่วย  ส่วนต้นทุนที่เกลี่ยไปนั้นคงจะนำไปเพิ่มในงวดต่อ ๆ ไปที่คาดว่าต้นทุนก๊าซจะลดลงตามสูตรผกผันตามราคาน้ำมันที่ลดลงในช่วนปลายปีที่ผ่านมาจนถึงขณะนี้.  -

 สำนักข่าวไทย
อัพเดตเมื่อ 2009-01-07 17:39:29

พิมพ์ อีเมล

ปตท.เสนอกระทรวงพลังงานปรับขึ้นNGVเป็น11บ./กก.

นายณัฐชาติ จารุจินดา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ บริษัท ปตท.จำกัด มหาชน ระบุว่า จากราคาน้ำมันที่ลดลง โดยเฉพาะกลุ่มดีเซล ปตท.จึงเสนอกระทรวงพลังงานปรับขึ้นราคาก๊าซเอ็นจีวีเป็น 11 บาทต่อกิโลกรัม จากปัจจุบัน 8.50 บาท เพราะต้นทุนทั้งระบบการจำหน่ายก๊าซอยู่ในระดับสูง และราคาต้นทุนเอ็นจีวีที่แท้จริงอยู่ที่ 14.50 บาทต่อกิโลกรัม ทั้งนี้ตั้งแต่ ปตท.จำหน่ายเอ็นจีวี ขาดทุนมาตลอด ปีนี้ขาดทุนไป 3,700 ล้านบาท ซึ่งจากมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ เดิมกำหนดให้เอ็นจีวีขึ้นราคาไม่เกินครึ่งหนึ่งของราคาน้ำมันดีเซล การปรับขึ้นเอ็นจีวี 11 บาทต่อกิโลกรัม จึงถือว่าเหมาะสม อีกทั้งจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวและราคาน้ำมันที่ลดลงมาก ส่งผลให้ความต้องการใช้เอ็นจีวีทดแทนน้ำมันลดลง ดูจากยอดติดตั้งเอ็นจีวีที่ลดลง ขณะที่ปริมาณความต้องการใช้อยู่ที่ 2,800-2,900 ตันต่อวัน แต่ปริมาณจำหน่ายมีสูงกว่า 3,000 ตันต่อวัน ปตท.จึงอยู่ระหว่างทบทวนแผนลงทุนทั้งหมด
ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ ปตท. กล่าวด้วยว่า แผนการก่อสร้างท่อก๊าซธรรมชาติเพื่อรองรับความต้องการใช้ไฟฟ้า และความต้องการใช้เอ็นจีวีต้องชะลอออกไป เพราะความต้องการใช้พลังงานทั้ง 2 ส่วนชะลอลง โดยเฉพาะการสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ ซึ่งกระทรวงพลังงานประกาศชะลอออกไป 1 ปี

พิมพ์ อีเมล

บทความใกล้เคียงกัน