เสนอแก้ พรบ.คอมฯ ชี้ละเมิดเสรีภาพ ปชช.

เพื่อให้กฎหมายมีความเป็นกลางจริง หลังจากที่ผ่านมา ถูกรัฐบาลนำมาใช้เป็นเครื่องมือจัดการกลุ่มผู้ที่อยู่ตรงข้าม แต่กลับกระทบผู้ใช้เน็ตวงกว้าง ต้องเป็นเหยื่อจากการแสดงความคิดเห็น ขณะที่การปฏิบัติของ จนท.ยังเป็น 2 มาตรฐาน...

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วานนี้ (29 เม.ย.) เครือข่ายพลเมืองเน็ตได้จัดเวทีเสวนา "วิพากษ์ผลกระทบจากกฎหมายและการเมืองต่อสิทธิมนุษยชนพลเมืองเน็ต" ที่ห้องประชุมสถาบันวิจัยสังคม ชั้น 4 คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีวิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย และตัวแทนกลุ่มสิทธิมนุษยชนเข้าร่วมแสดงความคิดเห็น อาทิ นายจอน อึ๊งภากรณ์ ผู้อำนวยการโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw) นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ ผู้ประสานงานเครือข่ายพลเมืองเน็ต นายกานต์ ยืนยง สมาชิกเครือข่ายพลเมืองเน็ต และผู้อำนวยการ Siam intelligence Unit (SIU) นายสุเทพ วิไลเลิศ เลขาธิการคณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ (คปส.) และนางอังคณา นีละไพจิตร ประธานคณะทำงานยุติธรรมเพื่อสันติภาพ

นาง สาวสุภิญญา กล่าวว่า ที่ผ่านมาหลังการบังคับใช้กฎหมาย พรบ.ว่าด้วยการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 มีผู้ถูกดำเนินคดีโดยใช้กฎหมายฉบับนี้ไปแล้วจำนวน 5 ราย เนื่องจากมีความผิดฐานหมิ่นประมาท และหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์ ในจำนวนนี้มีทั้งที่ได้รับการประกันตัว และไม่ได้รับการประกันตัว โดยสิ่งที่เกิดขึ้นสร้างผกระทบไปสู่สังคมผู้ใช้อินเทอร์เน็ต และคนทำเว็บไซต์วงกว้าง ไม่ใช่แค่ปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง แต่เป็นความไม่ชัดเจนในตัวกฎหมาย และผู้ใช้กฎหมาย ทำให้การดำเนินคดีกับผู้ต้องหาในคดีเกี่ยวกับความผิดทางคอมพิวเตอร์ ที่บทลงโทษร้ายแรงกว่า เมื่อเทียบกับคดีหมิ่นประมาททั่วไปที่เป็นคดีแพ่ง

ผู้ ประสานงานเครือข่ายพลเมืองเน็ต กล่าวต่อว่า นอกจาก พรบ.คอมฯ แล้วในช่วงที่เกิดเหตุการณ์ความไม่สงบในกรุงเทพฯ ของกลุ่มคนเสื้อแดง ช่วงเทศกาลสงกรานต์ ทำให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ประกาศใช้ พรก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ส่งผลให้ภาครัฐมีเครื่องมือสำหรับปิดกั้นเว็บไซต์ ของฝ่ายที่คิดเห็นตรงข้ามรัฐบาลกว่า 60 เว็บไซต์ รวมถึงเคเบิ้ลทีวี และวิทยุชุมชนของกลุ่มคนเสื้อแดง อีกทั้งการดำเนินคดียังเป็นไปในรูปแบบ 2 มาตรฐาน ระหว่างบุคคลทั่วไป และคนที่มีฐานะหรือมีชื่อเสียงในแวดวงสังคม ทำให้ผู้ต้องหาจากความผิดตาม พรบ.คอมฯ จะกลายเป็นชาวบ้านทั่วไปที่ใช้อินเทอร์เน็ต

นางสาวสุภิญญา กล่าวอีกว่า ส่วนตัวรู้สึกไม่มั่นใจกับความมุ่งมั่นของรัฐบาลชุดนี้ ที่กำลังมุ่งหาทางแก้ไขความขัดแย้งทางการเมือง ด้วยการแก้ไขกฎหมาย และรัฐธรรมนูญ เนื่องจากความขัดแย้งของกลุ่มคนที่มีความคิดต่างกัน 2 ข้าง อาจทำให้รัฐบาลเอนเอียงไปข้างใดข้างหนึ่ง ส่งผลให้เกิดการลิดรอนเสรีภาพของประชาชน ที่จะแสดงออกความคิดเห็นอย่างเสรี หากกฎหมายที่แก้ออกมาไม่มีความเป็นกลาง กลายเป็นเครื่องมือของรัฐบาล สุดท้ายจะไม่มีใครยอมรับ เพราะมีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเสียประโยชน์ คนที่รับเคราะห์ คือ ประชาชนธรรมดา อย่างไรก็ตาม ยังฝากความหวังว่ารัฐบาลชุดนี้จะมีความตั้งใจ และมุ่งมั่นที่จะแก้ไขปัญหาให้สำเร็จ เพื่อประชาชนจะไม่ตกเป็นเหยื่อของการใช้กฎหมาย เพื่อแก้ไขความขัดแย้งทางการเมือง และกลุ่มที่อยู่ตรงข้ามกับรัฐบาล

ด้าน นายเมธา มาสขาว เลขาธิการคณะกรรมการรณรงค์เพื่อสิทธิมนุษยชน (ครส.) กล่าวว่า จากการเสวนาฯ ครั้งนี้ สรุปได้ว่า ผลกระทบจากกฎหมายและการเมือง ต่อสิทธิมนุษยชน มาจากปัญหาการอ้างความมั่นคงของรัฐ จึงนำไปสู่การใช้อำนาจลิดรอนเสรีภาพของประชาชน แต่ความมั่นคงของรัฐนั้นไม่ใช่ความมั่นคงของประชาชน กฎหมายที่ออกมาบังคับใช้ เป็นเครื่องมือที่ทำให้รัฐบาลได้ประโยชน์ในการเลือกปฏิบัติกับผ่านที่อยู่ ตรงข้ามรัฐบาล ดังนั้น จึงมีข้อเสนอให้ภาครัฐพิจารณา ในการปรับปรุงกฎหมาย พรบ.คอมฯ ใหม่ เพื่อยกเลิกการละเมิดสิทธิ์ของประชาชนผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ในมาตราที่ 14, 15 และ 16 ลดโทษการหมิ่นประมาทบนอินเทอร์เน็ตให้เท่ากับโทษหมิ่นประมาทของกฎหมายแพ่ง

เลขาธิการ ครส.กล่าวด้วยว่า นอกจากการแก้ไปปรับปรุงกฎหมายที่มีความทับซ้อนกันแล้ว ในด้านกระบวนการยุติธรรมจะต้องถูกแก้ไข ในการปฏิบัติกับผู้ต้องหาในคดีความผิดตาม พรบ.คอมฯ และกฎหมายแพ่งในความผิดหมิ่นประมาท หรือ หมิ่นสถาบันฯ ที่ไม่ได้ออกมาใช้เพื่อปกป้องประชาชน แต่เพื่อปกป้องการทำงานของเจ้าหน้าที่รัฐ พร้อมทั้งร่วมกันเร่งผลักดันกฎหมาย อื่นๆ เช่น พรบ.ข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อถ่วงดุลอำนาจของรัฐบาล ท้ายที่สุด คือ การปฏิรูปการทำงานของเจ้าหน้าที่รัฐ ทั้งตำรวจ ทหาร และกองทัพ ไม่ให้นำเอากฎหมายด้านความมั่นคงมาใช้ปิดกั้น การแสดงความคิดเห็นของประชาชนอีก

พิมพ์ อีเมล

บอร์ดกทช. สั่งสบท.แจง กรณีกล่าวหาโปรโมชั่น " ทรูมูฟ"ขัดกม.

นายสุรนันท์ วงศ์วิทยกำจร เลขาธิการ คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการ(บอร์ด)ของ กทช.เมื่อเร็วๆนี้ได้มีการพิจารณากรณี บริษัท ทรูมูฟ จำกัด (ผู้ทำตลาดโทรศัพท์มือถือ "ไอโฟน 3 จี ")ยื่นหนังสือร้องเรียนมายัง กทช.ขอให้ทางบอร์ด กทช. เข้าตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของ นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา ผู้อำนวยการสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม (สบท.)และอนุกรรมการรับเรื่องร้องเรียน และบริการประชาชน สบท.ว่าทำหน้าที่เหมาะสมหรือไม่

"ที่ประชุมบอร์ด กทช.ได้ให้ สบท.จัดทำรายละเอียดชี้แจงเกี่ยวกับกรณีดังกล่าวอย่างเร็วที่สุด คาดว่า สบท.จะนำรายละเอียดเสนอต่อบอร์ด กทช.ภายในสัปดาห์นี้ หรืออย่างช้าในการประชุมครั้งถัดไป" นายสุรนันท์ กล่าว

ก่อนหน้านี้ ผู้อำนวยการ สบท.และอนุกรรมการรับเรื่องร้องเรียน และบริการประชาชน สบท. ได้ออกมาตั้งข้อสังเกตว่าโมโมชั่นของทรูมูฟในการส่งเสริมการขายโทรศัพท์มือถือไอโฟน3จี ว่า ขัด พ.ร.บ. การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544 หรือไม่ เนื่องจากรายการส่งเสริมการขายดังกล่าว เป็นสัญญาผูกค่าเครื่อง กับค่าบริการไว้ด้วยกัน

นายสุรนันท์ กล่าวว่า สำหรับการร้องเรียนครั้งนี้ ทรูมูฟ ให้เหตุผลว่า ข้อความที่ออกไป ได้ส่งผลทำให้ประชาชนเกิดความสับสน และเกิดความรู้สึกไม่ดีกับการจัดจำหน่ายเครื่องโทรศัพท์ ไอดฟน3จี นอกจากนี้ ยังส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ในการประกอบธุรกิจของ ทรูมูฟ อย่างรุนแรง รวมทั้งยังเป็นการใช้อำนาจหน้าที่โดยไม่ถูกต้อง และไม่ชอบด้วยกฎหมายของสบท.

ในเบื้องต้นทาง สบท.ได้เข้าพบกับทางผู้ที่เกี่ยวข้องของ กทช.เพื่อชี้แจงถึงการปฏิบัติหน้าที่ ไปแล้วว่า เป็นการกระทำตามหน้าที่ เพื่อประโยชน์ต่อผู้บริโภค พร้อมยืนยันว่าการให้ข่าวออกไปก็ เพื่อปกป้องสิทธิอันชอบด้วยกฎหมายของผู้บริโภค และเป็นการป้องกันปัญหาความขัดแย้งที่จะเกิดขึ้นระหว่างบริษัทกับผู้บริโภคที่ตามมาด้วย

ข้อมูลจาก นสพ.แนวหน้า 5/5/55

พิมพ์ อีเมล

กทช.รื้อยกแผง"สบท.-TRIDI-ไอซี" ลดบทบาท-ริบอำนาจคืน

กทช. รื้อยกแผง "สบท.-ทริดี้-ไอซี" เล็งปรับสถานะลดบทบาท-ริบอำนาจ

อ่านต่อ

พิมพ์ อีเมล

บทความใกล้เคียงกัน