ข้อมูลเพื่อผู้บริโภค

รู้จักฟอร์มาลีน

เคยมีคนตั้งข้อสังเกตกับผักสดหรืออาหารทะเลสดที่สดแบบอมตะนิรันดร์กาลโดย ไม่รู้จักเหี่ยว ทั้งที่ซื้อมาตั้งแต่วันก่อน อีกทั้งไม่ได้แช่ในตู้เย็นด้วย ว่าเกิดขึ้นเพราะอะไร ในที่สุดจึงได้คำตอบว่าเป็นเพราะสารฟอร์มาลิน (Formalin) นั่นเอง

มารู้จักกับ “ฟอร์มาลิน”

ฟอร์มาลิน เป็นสารเคมีชนิดหนึ่งซึ่งมีพิษ ประกอบด้วยก๊าซฟอร์มาลดีไฮด์ (formaldehyde) ละลายน้ำด้วยความเข้มข้นร้อยละ 37 โดยน้ำหนัก และมีเมทิลแอลกอฮอล์ (methyl alcohol) ประมาณร้อยละ 10-15 เป็นองค์ประกอบด้วย มีลักษณะเป็นน้ำใส มีกลิ่นฉุน แสบจมูกและตา ใช้เป็นน้ำยาทำลายเชื้อโรค

ฟอร์มาลินในทาง การแพทย์นั้นใช้ในการดองศพไม่ให้เน่าเปื่อย ใช้เป็นยาดับกลิ่นฆ่าเชื้อโรคเพราะทำให้โปรตีนแข็งตัว ทางด้านอุตสาหกรรมสิ่งทอจะใช้เป็นน้ำยาอาบผ้าไม่ให้ย่น นอกจากนี้ยังมีคุณสมบัติฆ่าเชื้อโรคและเชื้อราในการเก็บรักษาธัญพืชหลังการ เก็บเกี่ยว และใช้เพื่อป้องกันแมลง แต่ไม่อนุญาตให้ใช้ในอาหาร

ฟอร์มาลินเจือปนในอาหารได้อย่างไร

มี รายงานจากประเทศต่างๆ เช่น อังกฤษ อเมริกา ญี่ปุ่น และอิตาลี ว่าในผักผลไม้บางชนิด เนื้อสัตว์บางประเภท โดยเฉพาะสัตว์ทะเล และเห็ดหอมมีปริมาณของสารฟอร์มาลดีไฮด์ในธรรมชาติสูง แต่อย่างไรก็ดี ปริมาณในระดับที่มีในอาหารเหล่านี้ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพของผู้ บริโภค ถึงกระนั้นฟอร์มาลิน ในรูปของสารเคมีได้ถูกนำมาใช้ในอาหารหลายประเภทด้วยความไม่รู้ถึงอันตรายของ สารชนิดนี้

ได้มีการนำฟอร์มาลินผสมน้ำไปราดใส่อาหารบางชนิด เช่น ปลาทู เนื้อหมู เพื่อป้องกันการเน่าเสีย โดยอาหารเหล่านี้จะถูกแช่ฟอร์มาลินก่อนนำมาวางขายเพื่อให้มีความสดได้นาน ไม่เน่าเสียเร็ว นอกจากนี้ยังมีการนำฟอร์มาลินมาใช้กับผักหลายชนิด โดยเฉพาะผักคะน้า ผักกาดขาว ผักกาดหอม ถั่วฝักยาว แตงกวา หน่อไม้ ยอดมะพร้าว และอื่นๆ โดยอ้างว่าใช้ฆ่าแมลงบนผักได้ดี และยังทำให้ผักสดอยู่ได้นานแถมราคายังถูกกว่าสารพิษฆ่าแมลงชนิดอื่นๆ ด้วย นอกจากจะใช้ฟอร์มาลินฉีดผักแล้ว บางครั้งฟอร์มาลินอาจมาจากปุ๋ย และสารพิษฆ่าแมลงที่ใช้ด้วย

แต่อย่างไรก็ดี ฟอร์มาลินที่มีในธรรมชาติ หรือที่มาจากปุ๋ยและสารพิษฆ่าแมลงส่วนใหญ่จะมีปริมาณน้อยมาก คือ ไม่เกิน 1 ppm (ส่วนในล้านส่วน) ซึ่งไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย ในขณะที่ฟอร์มาลินที่จงใจฉีดหรือแช่ในผักหรือเนื้อสัตว์นั้น หากใช้ปริมาณมากเกินไปและมีตกค้าง ย่อมเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคแน่นอน

พิษต่อระบบต่างๆ ในร่างกาย

หาก สูดดมฟอร์มาลินจะทำให้มีผลต่อระบบหายใจ คือ แสบจมูก เจ็บคอ ไอ หายใจไม่ออก ปอดอักเสบ น้ำท่วมปอด และอาจถึงตายได้ถ้าสูดดมในปริมาณมาก นอกจากผลต่อระบบหายใจแล้ว ยังมีผลต่อระบบผิวหนัง คือ ทำให้เกิดผื่นคัน จนถึงผิวหนังอาจไหม้เปลี่ยนเป็นสีขาวได้หากสัมผัสกับฟอร์มาลินโดยตรง สำหรับพิษต่อระบบทางเดินอาหารนั้นเป็นสิ่งที่น่าสนใจ เพราะมีการนำมาใช้กับอาหารกันมาก เมื่อกินอาหารที่ปนเปื้อนฟอร์มาลินในปริมาณมากจะมีอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรง ปวดท้อง ในปากและคอจะแห้ง หัวใจเต้นเร็ว แน่นหน้าอก อาจมีการถ่ายท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ปัสสาวะไม่ออกหรือปัสสาวะเป็นเลือด มีอาการเพลีย เหงื่อออก ตัวเย็น คอแข็ง ได้มีรายงานว่า มีผู้กินฟอร์มาลิน 2 ช้อนโต๊ะ เพื่อฆ่าตัวตาย พบว่า ตายภายใน 3 ชั่วโมงหลังจากได้รับสารดังกล่าว และเมื่อผ่าศพผู้ตายพบแผลไหม้ในหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร และลำไส้เล็ก

นอก จากผลในระยะสั้นที่มีอาการปรากฏชัดเจนแล้ว ผลในระยะยาวเคยมีรายงานว่า สารฟอร์มาลดีไฮด์ (formaldehyde) ซึ่งเป็นสารประกอบของฟอร์มาลินเป็นสารที่กระตุ้นให้เกิดมะเร็งได้อีกด้วย ฟอร์มาลินในอาหาร ผักหลายชนิดนอกจากจะฉีดสารพิษฆ่าแมลงแล้ว ยังมีการนำไปแช่ฟอร์มาลินอีกก่อนจำหน่าย เพื่อให้สดอยู่ได้นาน สังเกตได้จากผักในตลาดสดที่วางจำหน่ายไว้ 3-4 วันก็ยังสดอยู่ ไม่เหี่ยวเฉา ทั้งๆ ที่อากาศร้อน ผักที่อาจมีการปนเปื้อนของฟอร์มาลิน ได้แก่ ชะอม คะน้า ผักกระเฉด ผักชี ตั้งโอ๋ มะระ บวบ ถั่วฝักยาว ผักกาดขาว ฯลฯ ทั้งนี้ปริมาณฟอร์มาลดีไฮด์ที่ตรวจพบในผักชนิดเดียวกันจะแตกต่างกัน

สำหรับ ในเนื้อสัตว์ เคยมีรายงานตรวจพบฟอร์มาลดีไฮด์ในปลาทู ปลากระเบน ปลาจวด ปลาตาโต เนื้อไก่ เนื้อวัว เนื้อหมู กุ้ง ถึงแม้จะเป็นเนื้อสัตว์ชนิดเดียวกัน แต่ถ้ามาจากแหล่งที่แตกต่างกัน ก็พบว่า ปริมาณฟอร์มาลดีไฮด์ที่ตรวจพบก็แตกต่างกันไป บางแหล่งอาจไม่พบเลยก็มี ส่วนอาหารแห้งที่พบว่า มีปริมาณฟอร์มาลดีไฮด์ในปริมาณสูง คือ เห็ดหอมแห้ง เห็ดหูหนูแห้ง ซึ่งปริมาณที่พบว่าสูงนี้มีอยู่เองตามธรรมชาติ และหากเป็นฟอร์มาลดีไฮด์ที่มีอยู่เองตามธรรมชาติก็ไม่พบว่ามีอันตรายต่อ สุขภาพของผู้บริโภค

รู้จักเลือกบริโภคคือทางออก

เพื่อ ความปลอดภัยของตัวคุณและครอบครัว คงต้องพิถีพิถันเลือกบริโภคกันหน่อย แต่ไม่ต้องถึงกับงดบริโภคผักเพราะกลัวสารพิษฆ่าแมลงหรือฟอร์มาลิน เพราะถึงคุณจะเลี่ยงไปบริโภคอย่างอื่นก็คงเจอกับสารพิษอย่างอื่นอีกนั่นแหละ ดังนั้นการรู้จักเลือกซื้อ เลือกบริโภค และรู้วิธีการเตรียมอาหาร คงจะเป็นวิธีที่ดีที่สุด วิธีสังเกตว่าผักที่ซื้อมามีฟอร์มาลินหรือไม่นั้น ควรดมที่ใบหรือหักก้านดม ถ้ามีกลิ่นฉุนแสบจมูกก็อย่าซื้อมาบริโภคอีก สังเกตดูผักที่วางขายว่าสด ใบงาม (เกินความเป็นจริง) ไม่มีรูพรุนจากการกัดของแมลงเลย ตั้งขายไว้เป็นวันๆ ยังไม่เหี่ยว ก็ไม่ควรเลือกซื้อเพราะอาจมีฟอร์มาลินและสารพิษฆ่าแมลงซึ่งยังไม่หมดฤทธิ์ สะสมอยู่ด้วย

คุณอาจเลือกบริโภคผักพื้นบ้าน เช่น ตำลึง ชะอม กระถิน ผักกระเฉด ฟัก บวบ หัวปลี และผักชนิดอื่นๆ เพราะผักเหล่านี้จะทนโรค ไม่จำเป็นต้องใช้สารพิษฆ่าแมลงหรือถ้าจำเป็นต้องใช้ก็ใช้น้อย ถ้าจะให้ปลอดภัยก็อาจเลือกบริโภคในช่วงฤดูฝน เพราะช่วงนี้ผักพื้นบ้านเจริญได้ดี อาจไม่ต้องใช้สารพิษฆ่าแมลง แต่ถ้าเป็นฤดูร้อนและฤดูหนาว ผักเหล่านี้มักถูกแมลงรบกวน ดังนั้นเกษตรกรอาจนำสารพิษฆ่าแมลงและฟอร์มาลินมาใช้ ในกรณีที่ซื้อมาแล้วยังไม่แน่ในว่าอาจมีฟอร์มาลินติดมาอีก ก็ควรนำผักมาล้างน้ำไหล 5-10 นาที หรือแช่น้ำนิ่งราว 1 ชั่วโมง ซึ่งมีรายงานว่า ฟอร์มาลินส่วนมากจะถูกชะล้างออกไปหมด

ยังมีแหล่งที่ คุณสามารถมั่นใจได้ว่า คุณจะซื้อผักที่ปราศจากสารพิษปลอมปนมาในผักได้ ก็คือ ผักปลอดสารพิษ ซึ่งปลูกโดยกลุ่มเกษตรกรในโครงการของกรมส่งเสริมการเกษตร โดยจะมีการปลูกแบบกางมุ้งคลุมแปลงผักเพื่อป้องกันแมลงรบกวน แต่การปลูกด้วยวิธีนี้อาจเกิดเชื้อราง่ายเพราะความชื้นสูง อาจมีการฉีดสารพิษฆ่าเชื้อรา หรือสารพิษฆ่าแมลงบ้าง แต่จะเก็บมาขายเมื่อสารหมดฤทธิ์ตกค้างในพืชแล้ว นอกจากนี้ผักที่ปลูกโดยชาวบ้านที่ใช้สารกำจัดศัตรูพืชที่ทำจากสมุนไพร เช่น สะเดา ข่า ตะไคร้หอม ก็จะทำให้ไม่มีสารพิษตกค้าง การบริโภคผักเหล่านี้คงจะปลอดภัยกว่าผักที่ใช้สารพิษฆ่าแมลง การเลือกซื้อเนื้อสัตว์ ไม่ว่าจะเป็นเนื้อหมู เนื้อไก่ เนื้อวัว ตลอดจนปลา คงต้องสังเกตว่าลักษณะเนื้อนั้นสดผิดปกติหรือไม่ เพราะถ้าเป็นเนื้อที่ไม่แช่ฟอร์มาลินวางขายในตลาดสด ถ้าถูกแดดถูกลมนานๆ เนื้อแดงๆ นั้นจะเหี่ยว หรือถ้ามีกลิ่นฉุนๆ แปลกๆ แสบจมูก ก็ไม่ควรจะซื้อมาบริโภค เพราะคงต้องแช่ฟอร์มาลินอย่างแน่นอน

อย่างไร ก็ตาม ตราบใดที่เรายังคงอยู่ในสังคมที่เป็นพิษ และพ่อค้าแม่ค้ายังขาดความรับผิดชอบต่อสังคม ขาดคุณธรรม หวังแต่ผลประโยชน์ทางการค้า การคุ้มครองผู้บริโภคของรัฐฯ ยังครอบคลุมได้ไม่ทั่วถึง โอกาสที่ผู้บริโภคจะได้รับสารพิษในอาหารก็จะดำเนินต่อไป สิ่งเดียวที่ทำได้ขณะนี้ คือ การรู้จักระมัดระวังเลือกบริโภค เลือกซื้อสักนิด เพื่อจะได้มีชีวิตอยู่ในสังคมที่เป็นพิษนี้ไปได้อีกนานๆ

.............................................................................................................

ที่มา:

นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่ม : 165
เดือน-ปี :01/2536
คอลัมน์ :รู้ก่อนกิน
นักเขียนหมอชาวบ้าน :ผศ.ชนิพรรณ บุตรยี่
http://www.doctor.or.th/node/3244

พิมพ์ อีเมล

12086 views
ดิฉันได้อ่านบทความคอลัมน์ ชีวิตที่เลือกได้ เรื่อง กฟผ โดยคุณชัยอนันต์ สมุทวณิช ในนสพ. ผู้จัดการ เมื่...

Read more

26430 views
แม้ว่าในฉลากยา จะระบุให้ผู้ใช้ยาได้ทราบถึงวิธีใช้ยาและความถี่ของการใช้แล้วก็ตาม ...

Read more

11186 views
ถกกันอีกรอบกับประเด็น ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่เอกชนเตรียมรวมตัวกันในนาม 9 สมาคมฯ ขอรัฐแก้กฎหมาย...

Read more

14671 views
 ปัจจุบันนี้อาหารสำเร็จรูปเป็นที่นิยมสำหรับผู้บริโภคมากขึ้น ฉลากโภชนาการเป็นข้อมูลที่ช่วยให้ไ...

Read more

รู้ไว้ใช้สิทธิ์

IMAGE มหากาพย์ซิมฟรี แถมหนี้ไม่อั้น
“ได้รับแจกซิมฟรี แต่ไม่ได้เปิดใช้บริการ...
IMAGE อันตรายจากการหางานตามใบปลิว
เดี๋ยวนี้เวลาไปไหนมาไหน...
IMAGE สิทธิของผู้โดยสาร
ทุกครั้งที่เกิดอุบัติเหตุทางถนนสิ่ง ที่ตามมาก็คือ...
IMAGE กฎหมายน่ารู้ผู้โดยสาร
พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ