ข้อมูลเพื่อผู้บริโภค

อาหารไทย:อาหารสมุนไพร

ผู้เขียนกำลังทำงานชิ้นหนึ่ง เป็นการค้นคว้าและเรียบเรียงเรื่องราวเกี่ยวกับอาหารไทยซึ่งสำนักพิมพ์แห่งหนึ่งในจังหวัดเชียงใหม่เป็นผู้ให้งบประมาณศึกษาและจะจัดแปลและพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษ ด้วยเหตุผลที่ว่า อาหารไทยนั้นเป็นที่นิยมของต่างชาติมากขึ้นเรื่อยๆ การจัดพิมพ์เรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับอาหารไทยจึงจะเป็นประโยชน์มากสำหรับชาวต่างชาติที่นิยมอาหารไทยและต้องการรู้และเข้าใจวัฒนธรรมทางด้านการกินของคนไทยให้มากขึ้น เห็นว่าข้อมูลบางส่วนน่าจะมีประโยชน์ต่อผู้บริโภคจึงเก็บมาฝาก


อย่างน้อยก็เพื่อให้เราได้รู้ว่าชาวต่างชาติแถวยุโรป อเมริกาให้ความสนใจอาหารไทยและอาหารแถบเอเชียมากขึ้น เพื่อย้ำความมั่นใจของเราว่า อาหารไทยนี่ล่ะค่ะดีที่สุด


กับคำถามที่ว่าอะไรทำให้ชาวต่างชาตินิยมอาหารไทย ? เจ้าของร้านอาหารไทยในบอสตันผู้หนึ่งให้เหตุผลว่า ที่ต่างชาตินิยมอาหารไทยเพราะมีรสเผ็ดที่กรุ่นกลิ่นหอมของเครื่องเทศ มีทั้งพล่า ยำ แกงและ ต้มยำ เขาบอกว่าอาหารไทยนั้นคล้ายผู้หญิงใส่น้ำหอมเดินผ่านแล้วทิ้งกลิ่นหอมกรุ่นชวนหลงไหล เมื่อได้รับประทานหนหนึ่งก็ติดใจ

ในอีกกระแสหนึ่งนั้น ปัจจุบันนี้ US. Department of Health and Human Services ได้เสนอให้ชาวอเมริกันลดการกินอาหารที่มีเเนื้อสัตว์ ไขมัน น้ำตาล หันมาเพิ่มผักผลไม้ ซึ่งเป็นอาหารแบบเอเชียเราเพื่อป้องกันโรคโภชนาเกินที่พบมากขึ้น ซึ่งตรงข้ามกับตอนที่เราเริ่มนิยมตะวันตกในช่วงร้อยปีที่สองของกรุงรัตนโกสินทร์มีผู้สำเร็จการศึกษาจากต่างประเทศมากมายที่นำความคิดในการรับประทานอาหารแบบตะวันตกเข้ามา เพื่อแก้ไขภาวะโภชนาการบกพร่องในหมู่คนไทย เริ่มจากการรับประทานอาหารให้ครบหมู่ การรับประทานเนื้อสัตว์มากขึ้น การดื่มนม ในระยะนี้แม้จะสามารถลดปัญหาการเป็นโรคขาดสารอาหารลงได้แต่ก็เกิดปรากฏการณ์ใหม่คือ คนไทยเป็นโรคที่ไม่เคยเป็นมาก่อนหรือเป็นน้อยมาก เเช่น โรคเก๊าท์ โรคนิ่วในถุงน้ำดี โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ และระดับไขมันในเลือดของคนไทยโดยเฉลี่ยสูงขึ้นกว่าก่อนมาก

ชาติตะวันตกที่นิยมรับประทานเนื้อสัตว์มานานหันมาสนใจอาหารเพิ่อสุขภาพมากขึ้น เพราะสังคมตะวันตกนั้นได้เห็นผลกระทบจากการบริโภคเนื้อ นม เนย มายาวนานกว่าของเรามาก จึงเป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้ตะวันตกหันมาทดลองอาหารอย่างตะวันออกมากขึ้น เพราะเห็นความอายุยืนของชาวจีนและญี่ปุ่น การที่อัตราการเป็นโรคมะเร็งและโรคหัวใจของผู้รับประทานอาหารจากถั่วเหลืองน้อยกว่าชาวตะวันตก และสนใจอาหารไทยในแง่ที่เป็นอาหารสมุนไพรบำรุงสุขภาพ ขณะเดียวกันคนไทยก็ยังติดกับดักของการโฆษณา แห่กันไปนิยมฟาสต์ ฟู้ดที่เข้ามาเปิดเกลื่อนถนนในเมืองทุกสาย

สมุนไพรในอาหาร
อาหารไทยกับสมุนไพรเป็นสิ่งที่แยกกันไม่ออก วัตถุดิบที่ใช้ในการปรุงอาหารส่วนใหญ่ก็มีคุณสมบัติทางยาด้วย เช่น รากผักชี มีกลิ่นหอม รสเย็น กระทุ้งพิษไข้ชนิดหัว เช่น หัด อีสุกอีใส แก้ไอ มะระขี้นกเป็นยาเจริญอาหาร ขับพยาธิในท้อง กระชาย เป็นยาแก้บิด ขับปัสสาวะ กระเทียมช่วยขับหงื่อ ฆ่าแบคทีเรีย ขับเสมหะ บรรเทาอาการไอ ลดไขมันอุดตันในเส้นเลือด เป็นต้น

พืชผักสวนครัวแทบทุกชนิดก็ว่าได้ค่ะที่มีสรรพคุณในการรักษาโรคเฉพาะอย่าง เมื่อเรานำพืชหลายๆอย่างมาประกอบกันเป็นอาหารแต่ละชนิดนั้น เราก็ย่อมได้คุณค่าจากอาหารจานนั้นๆอย่างมากมาย ข้อมูลอาหารกับคุณสมบัติทางยาที่นำมากล่าวในวันนี้ผู้เขียนได้มาจากหนังสือ แม่ครัวคุณภาพ ของ อาจารย์พเยาว์ ไทยวัชรามาศ วิทยาลัยอาชีวศึกษานครราชสีมา หากจะเป็นประโยชน์ก็เป็นคุณูปการของอาจารย์ท่านนี้ที่ได้เรียบเรียงมาเพื่อให้คนไทยรู้จักอาหารไทยในอีกมิติหนึ่งนอกเหนือไปจากเรื่องรสชาติหรือคุณค่าทางอาหาร

สมมุติว่าวันนี้เรากินข้าวราดแกง จะป็นแกงเผ็ดชนิดใดๆก็ตามหรือผัดเผ็ดก็ได้ สิ่งที่เราได้คือคุณสมบัติในการเป็นยาธาตุของแกงเผ็ดผัดเผ็ด ที่จะช่วยเรียกน้ำย่อย เจริญอาหารและขับลมในกระเพาะ

วันไหนกินต้มยำ ต้มโคล้งร้อนๆ วันนั้นเหมือนได้กินยาแก้หวัดคัดจมูกทีเดียวเพราะรสเปรี้ยวผสมรสเผ็ดรับประทานร้อนๆจะช่วยขับพิษไข้ออกมาทางเหงื่อ ตะไคร้ ใบมะกรูด สะระแหน่ พริก มะนาว นั้นช่วยเรียกน้ำย่อย ขับเหงื่อ ขับลม หัวหอมก็ทำให้คอโล่ง ถอนพิษไข้

หลายคนคงเคยได้ยินว่าแม่ลูกอ่อนต้องกินแกงเลียงเพื่อเรียกน้ำนมใช่ไหมคะ แต่นอกจากนี้แล้ว หัวหอม ใบแมงลักยังเป็นยาช่วยเจริญอาหาร ขับเหงื่ออีกด้วย

ถ้าคุณชอบอาหารรสจืดก็ไม่เป็นไรค่ะ เพราะต้มตำลึงหมูสับ ต้มฟักจะใส่เฉพาะโครงไก่หรือเนื้อไก่ก็ตาม ต้มมะระ ต้มหัวผักกาด เหล่านี้ล้วนมีคุณสมบัติทางยาทั้งสิ้น เพราะตำลึงนั้นมีธาตุเหล็กและวิตามินซีสูง บำรุงเลือด ฟัก มะระ หัวผักกาดต่างก็มีรสเย็น มีฤทธิ์ดูดพิษร้อนถอนพิษไข้ ทำให้อุณหภูมิในร่างกายลดลงเหมาะกับหน้าร้อนปีนี้ที่ร้อนสาหัสจริงๆค่ะ

อาหารไทยที่เป็นยานอนหลับก็มีนะคะ แกงขี้เหล็กนั่นไง ทั้งยังเป็นยาระบายอ่อนๆ แก้ไข้หัวลมได้เหมือนกินนแกงส้มดอกแคนั่นละค่ะ

มาถึงใบกุยช่ายผัด อาจารย์พเยาว์เล่าว่าคนงานในโรงสีข้าวชอบรับประทานใบกุยช่ายผัดกุ้งบ้างหมูบ้าง หรืออาจจะต้มใบกุยช่ายใส่เลือดหมู เพราะเชื่อว่าใบกุยช่ายจะช่วยพาละอองข้าวที่ตกค้างอยู่ตามหลอดคอ หลอดอาหาร ขับลงไปในกระเพาะเกือบหมด นักเลงสมัยก่อนไปต่อยไปตีกับใครมาก็ใช้ใบกุยช่ายคั้นน้ำผสมสุราดื่มแก้ช้ำใน อาจจะแก้ช้ำใจไปด้วยถ้าแพ้มา อย่างนี้อาจผสมสุราเเยอะหน่อย

มาถึงอาหารจานโปรดของใครหลายคนจำพวก ส้มตำ พล่า ยำ ลาบ ก้อย และน้ำพริกสารพัดชนิด อาหารกลุ่มนี้เป็นยาเรียกน้ำย่อย แก้โรคเบื่ออาหาร ธาตุพิการ อาหารไม่ย่อย เมื่อรับประทานกับผักก็ได้วิตามินสารพัดสารพัน แถมยังมีเส้นใยอาหารมากช่วยให้ระบบขับถ่ายของคุณทำงานได้คล่องขึ้น และก็ไม่อ้วนด้วยค่ะ

กินข้าวมื้อใหญ่อย่าให้อิ่มมาก เผื่อท้องไว้กินยำหัวปลีสักหน่อยหรือจะกินหัวปลีดิบจิ้มน้ำพริกก็ได้ หัวปลีมีรสฝาดช่วยลดกรดในกระพาะได้เพราะมีความป็นด่างเมื่อกินเข้าไปจะทำปฏิกิริยากับอาหารจำพวกเนื้อที่มีฤทธิ์ป็นกรด ทำให้เกิดความป็นกลาง ท้องเราจึงไม่อืดเฟ้อ ไม่เฉพาะหัวปลีเท่านั้นนะคะ ใบไม้ที่มีรสฝาดอย่างอื่น เช่น ยอดมะกอกน้ำ ยอดมะม่วงหิมพานต์ ใบอ่อนเสม็ดแดง ล้วนป็นยาลดกรดในกระเพาะอาหารทั้งสิ้น

นี่เป็นตัวอย่างที่นำมาเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้นนะคะ ยังมีอาหารเมนูหลักประจำชาติที่เอื้อให้เรารับประทานข้าวได้มาก กินผักดิบ ผักลวก ผักต้ม และผลไม้บางชนิดได้มากอย่างที่หาไม่ได้จากเมนูอื่น น้ำพริกนั่นละค่ะ

กินข้าวกับน้ำพริกดีกว่า
นึกถึงเพลงในสมัยหนึ่งที่ร้องว่า “กินข้าวกับน้ำพริกสิจ๊ะถึงได้สะได้สวย...” เพิ่งตระหนักเดี๋ยวนี้เองว่าเขาไม่ได้ร้องเอาเล่นเอาเพลินหรือไปตามเพลงแต่เพียงอย่างเดียว น้ำพริกนั้นนอกจากจะมีคุณค่าทางอาหารจากส่วนผสมไม่ว่าจะเป็นกะปิ น้ำปลา มะนาว กุ้งแห้ง หรือปลาแห้ง พริก กระเทียมแล้ว ยังเป็นอาหารถ้วยน้อยที่เอื้อให้เรารับประทานผักมากมายเพิ่มขึ้นอีก และผักส่วนใหญ่ที่รับประทานกับน้ำพริกนั้นก็มักเป็นผักพื้นบ้านที่มีคุณค่าทางยา ทางอาหาร หาง่าย ราคาไม่แพง เช่น ใบชะพลู ผักกระสัง ผักแว่น หัวปลี มะแว้ง หน่อไม้ขมิ้นขาว ใบกระถิน ยอดผักบุ้ง สายบัว ซึ่งพืชผักพื้นเมืองบางชนิดอาจไม่มีโอกาสขึ้นสำรับด้วยซ้ำถ้าไม่มีน้ำพริกถ้วยโปรด แถมเครื่องแนมอย่างปลาทูทอด กุ้งต้ม ที่ตามมาด้วยก็พอที่จะทำให้อาหารมื้อนั้นอร่อยวิเศษแล้ว

น้ำพริกไม่ใช่อาหารที่ผูกขาดฉพาะชาวบ้านเเท่นั้น ไม่ใช่อาหารคนจนอย่างที่คนรุ่นใหม่หลายคนคิด เพราะแม้แต่รัชกาลที่ 5 เองก็ทรงโปรดน้ำพริกมาก นอกจากนั้นน้ำพริกยังเป็นอาหารหลักที่แสดงออกถึงวัฒนธรรมทางด้านการกินที่ชัดเจนที่สุดของคนไทย

ที่ว่าพระบาทสมเเด็จพระจุลจอมเกล้าฯทรงโปรดน้ำพริกนั้นห็นได้จากเมื่อครั้งเสด็จประพาสยุโรปครั้งแรกในปี 2440 เมื่อเสด็จถึงเมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี ได้ทอดพระเนตรเห็นช่อองุ่นก็ทรงคิดถึงช่อมะม่วงและใคร่เสวยน้ำพริกมาก ถึงกับเขียนเล่าไว้ในจดหมายถึงสมเด็จพระบรมราชินีนาถว่า

“ ...ไปคิดถึงบ้านพ้นประมาณขึ้น ด้วยฉันทึ่งต้นองุ่นอยู่เสมอ ไปที่สวนในวังเเเห็นต้นองุ่นกำลังเป็นช่อเหมือนมะม่วง ที่เป็นหัวแมงวันบ้างก็มี น่ากินกับน้ำพริก ลองชิมดู มันอร่อยกว่าช่อมะม่วงมาก เลยคลั่งอยากกินน้ำพริกเป็นกำลัง ท่านพวกโก้หร่านทั้งหลายเห็นด้วยว่าไม่ได้นึก แต่การจะหาน้ำพริกเป็นพ้นวิสัย เพราะไม่มีกะปิ เรียกว่าตะกลามจนเนื้อเต้น กับข้าวฝรั่งเกือบกลืนไม่ลงทีเดียว...”

วันต่อมา ทรงใช้ปลาแอนโชวีตำน้ำพริกแทนกะปิ ซึ่งพระองค์วิจารณ์ว่าไม่เป็นรสเลย “พริกก็มีแต่พริกแห้งเผ็ดก้าวร้าว มะนาวก็มีแต่มะงั่วเปรี้ยวร้ายกาจ ต้องนึกว่าน้ำพริกจึงจะรู้ว่าน้ำพริก ปลาก็เหม็นคาวออกทูๆแต่เลวกว่าปลาทู ตกลงเป็นอร่อยแต่ช่อองุ่นเท่านั้น” เสด็จต่างประเทศในครั้งนั้นทำให้เห็นได้ชัดว่าพระองค์ทรงมีลิ้นไทยเป็นอย่างยิ่ง

ไม่เฉพาะแต่เรื่องเสวยเพียงอย่างเดียว ในงานปีใหม่เมษายน 2452 ซึ่งทรงให้จัดงานเฉลิมฉลอง มีการออกร้านจำหน่ายอาหารนั้น พระบาทสมด็จพระจุลจอมเกล้าฯก็ทรงหลนปลาร้า มีผักและปลาใส่ในกระทงขายเป็นชุด ชุดละ 3 บาทด้วย ซึ่งไม่เพียงแต่จะแสดงให้เห็นถึงความสนพระทัยในอาหารการกินและฝีมือในการปรุงอาหารแล้ว ยังเป็นเรื่องราวที่สะท้อนให้คนรุ่นใหม่ที่มองข้ามความสำคัญของน้ำพริก เครื่องจิ้มถ้วยต่างๆของไทย ได้มีโอกาสหันมาพิจารณาดูคุณค่าทั้งด้านอาหาร และวัฒนธรรมที่แทรกอยู่ในน้ำพริก

และที่ผู้เขียนเชื่อว่าน้ำพริกเป็นอาหารที่แสดงออกถึงวัฒนธรรมทางด้านการกินที่เด่นชัดที่สุดของคนไทยนั้น นอกจากจะเพราะคนไทยทุกครอบครัวคุ้นเคยกับการรับประทานน้ำพริกผักจิ้มปลาแนมแล้ว การปรุงน้ำพริกยังเป็นศิลปต้องคำนึงถึงความสอดคล้องกลมกลืนระหว่างรสของน้ำพริกกับผักที่เป็นเครื่องเคียงอีกด้วย เป็นต้นว่า ถ้าจิ้มกับผักดองที่มีรสเปรี้ยวอยู่แล้ว น้ำพริกก็ต้องลดเปรี้ยวลงเพิ่มความหวาน ถ้ารับประทานกับผักต้ม มรว.คึกฤทธิ์แนะนำให้เติมหัวกะทิเคี่ยวจนเป็นขี้โล้ลงไปเล็กน้อยทำให้น้ำพริกรสดีและน่ากินขึ้น น้ำพริกที่รับประทานกับผักทอดก็ต้องให้เหลวเล็กน้อย มีรสเปรี้ยวหวานเค็มเท่าๆกัน ซึ่งเทคนิคเล็กๆน้อยๆเหล่านี้เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ในการดัดแปลงปรุงแต่งอาหารที่ทำให้น้ำพริกให้น่ารับประทานและรสอร่อยขึ้น ทั้งยังมีรายละเอียดลงไปอีกว่าผักชนิดไหนเหมาะกับน้ำพริกหรือเครื่องจิ้มแบบใด ต้องใช้ของแนมเป็นอะไร ปลาทอด ปลานึ่ง เนื้อเค็ม ปลาเค็ม หรือไข่ต้ม เป็นต้น ลักษณะการปรุงอาหารแต่ละชนิดให้มีรสชาติเข้ากันนี้ก็เป็นลักษณะเด่นอย่างหนึ่งในสำรับไทย

น้ำพริกยังเกิดขึ้นเพื่อให้คนไทยรับประทานข้าวได้มากซึ่งก็เกี่ยวพันไปถึงข้อเท็จจริงที่ว่าสังคมไทยเป็นสังคมที่รับประทานข้าวเป็นอาหารหลัก น้ำพริกผักจิ้มและข้าวสวยร้อนๆ(หรือข้าวเหนียวนุ่มๆ)จึงเป็นอาหารหลักของคนไทยมานานนักหนา

อาหารทรงโปรด
ไม่เเพียงแต่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯเท่านั้นที่ทรงโปรดอาหารไทยแบบพื้นๆ ที่มิได้แตกต่างจากสามัญชน คุณหญิงประสานสุข ตันติเวชกุล ต้นเครื่องสำนักพระราชวังได้ให้สัมภาษณ์ไว้ในหนังสือ เครื่องต้นก้นครัว;ครัวจิตรลดา ว่า พระบาทสมเด็จพระจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันเองก็ทรงเสวยง่าย โปรดอาหารไทยๆ มื้อเช้าหากเสวยข้าวต้ม กับข้าวก็จะได้แก่ หัวไชโป๊วผัดไข่ ไข่เค็ม ไข่ปลาสลิด หนำเลี้ยบผัด ไข่เจียว ยำกุ้งแห้งเหล่านี้ป็นต้น

มื้อค่ำก็อาจเเป็นแกงจืด ต้มยำ ยำ ผัดเผ็ด ฉู่ฉี่ ผักพริกขิง พะแนง ส่วนเครื่องจิ้มก็พวกน้ำพริกมะขาม น้ำพริกมะเขือพวง น้ำพริกหนำเลี้ยบ น้ำพริกลงเรือ น้ำพริกกะปิ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงโปรดปลาทูทอดเช่นดียวกับพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเสวยได้บ่อยๆ เครื่องจิ้มก็จะเป็นผักสดชุบไข่ทอด ผักดอง ขิงดอง เครื่องเคียงก็เช่น ปลาสลิด หากมีน้ำพริกมะม่วง กุ้งต้ม หากมีน้ำพริกมะขามสด

นอกจากทุกพระองค์จะทรงโปรดเสวยง่ายๆธรรมดาๆเเช่นเดียวกับสามัญชนทั่วไปแล้ว ยังทงประหยัดอีกด้วย เมื่อก่อนห้องเครื่องเคยตั้งเครื่องต้น 4 อย่าง ตอนหลังสมเด็จพระบรมราชินีนาถทรงรับสั่งให้เหลือพียง 3 อย่าง และทุกพระองค์ก็เสวยเหมือนกันหมด

เมื่อเสด็จภาคเหนือเครื่องต้นก็จะเป็นอาหารทางเหนือทั้งหมด เเช่นน้ำพริกหนุ่ม ใส้อั่ว ยำขนุน เสด็จภาคใต้ก็จะเป็นอาหารใต้ประเภทข้าวยำ น้ำบูดู ผัดสะตอ ยำมะม่วง เสด็จอีสานก็จะมีลาบ ส้มตำ ปลาร้า

ทุกพระองค์จึงทรงเสวยอาหารไทยได้ทุกภาค ใครที่คิดว่าเครื่องต้นในวังจะวิจิตรพิศดารหรือเสวยกับข้าวมากมายก็เข้าใจเสียใหม่ได้แล้วค่ะ พระเจ้าอยู่หัวของเราก็ทรงปฏิบัติพระองค์เยี่ยงคนธรรมดาสามัญ ทั้งยังป็นคนธรรมดาที่ประหยัดอีกด้วย

โภชนาการในยุคโลกาภิวัฒน์
เนื่องจากยุคนี้เป็นยุคข้อมูลข่าวสาร วัฒนธรรมและทคโนโลยีถ่ายทอดไปมาถึงกันชั่วพริบตา อาหารก็เช่นเเดียวกัน ขณะที่อาหารไทยและเอชียเเข้าไปแพร่หลายในยุโรปอมริกา อาหารที่เป็นที่นิยมในยุโรปอเเมริกาก็หลั่งไหลเข้ามาในประเทศไทย ในเมืองใหญ่ของเราจึงมีอาหารจานด่วนหลายชนิดหลากยี่ห้อเข้ามาเปิดตัวกันอย่างคับคั่ง ทั้งแฮมเบอร์เกอร์ ฮอทด็อก พิซซ่า มันทอด โดนัท ซึ่งเหล่านี้กลายเป็นแฟชั่นของวัยรุ่นที่ระบาดรวดเร็วยิ่งกว่าโรคติดต่อ

ไม่เพียงแต่วัยรุ่นเท่านั้น ครอบครัวที่ต้องทำงานนอกบ้านทั้งสามีภรรยาต้องพึ่งพาอาหารถุงพลาสติก อาหารกล่องโฟม อาหารพร้อมปรุงในห้างสรรพสินค้า ที่แม้จะดูหน้าตาดีแต่ก็อาจมีพิษร้ายต่อผู้บริโภคได้ เช่นที่ตรวจพบในห้างดังหลายแห่งของกทม.เมื่อไม่นานมานี้

เราจะดำรงชีวิตอย่างปลอดภัยได้อย่างในสังคมที่มีแต่ความรีบเเร่งและตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของการโฆษณา? รศ.วลัย อินทรัมพรรย์ อาจารย์ประจำภาควิชาคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ได้แนะนำผู้บริโภคว่า เมื่ออยู่ในยุคข้อมูลเราก็ต้องศึกษาข้อมูลที่ถูกต้อง อ่านฉลากทุกครั้งที่ซื้อสินค้าอาหารเพื่อจะได้ทราบว่ามีสารอะไรปะปนอยู่บ้าง ไม่หลงเชื่อการโฆษณาแต่เพียงอย่างดียว และก็ควรดูแลลูกหลานที่ต้องดูโฆษณายั่วใจเด็กตามรายการสำหรับเด็กในโทรทัศน์ด้วย กินอาหารให้ถูกหลักโภชนาการ กินข้าวซ้อมมือให้มากเพิ่อจะได้เส้นใยอาหาร พยายามลดแป้ง ไขมัน น้ำตาล กินเนื้อสัตว์แต่พอควร เลือกเนื้อสัตว์ที่ไม่มีหนังและไขมัน กินปลาให้มากขึ้นทั้งปลาน้ำจืดและน้ำเค็ม เพราะปลานอกจากจะมีไขมันอิ่มตัวน้อยแล้วยังมีกรดไขมันจำป็นที่ช่วยลดไขมันในเส้นเลือดด้วย กินปลาตัวเล็กทอดกรอบ กุ้งแห้ง ดื่มนมพร่องมันนยหรือโยเกิร์ตป็นประจำพื่อให้ได้แคลเซียมพอพียง กินผักใบเขียวและสีเหลืองให้มาก กินผลไม้สดที่ไม่หวานจัดแทนขนม หลีกเลี่ยงอาหารที่ผ่านกรรมวิธีแปรรูป

แต่ก็นั่นละค่ะ ผู้บริโภคยุคใหม่ที่ต้องทำงานนอกบ้านอาจถอดใจเเสียก่อนเพราะโอกาสที่จะทำอาหารกินเองมีน้อย ความจริงอาหารบางอย่างทำได้ไม่ยากอย่างน้ำพริกผักจิ้มไงคะ น้ำพริกสูตรต่างๆที่ มรว.คึกฤทธิ์ ปราโมชเขียนไว้ได้เล่มหนึ่งนั้น ท่านก็บอกเสมอๆว่าสำหรับคนที่ไม่ค่อยมีเวลา หรืออยู่แฟลต ห้องเช่า ที่ไม่มีเครื่องครัวมากนักขอแค่มีครกเพียงใบเดียว น้ำพริกกับข้าวสวยและไข่เจียวร้อนๆสักจานก็อิ่มอร่อยได้แล้ว อาหารที่เราทำเองเรามักรู้สึกอร่อยกว่าซื้อเขากินเสมอ อย่างน้อยเราก็วาใจได้ว่าไม่มีสารแปลกปลอมเข้ามาอยู่ในจานอาหารของเรา คงมีน้อยคนนะคะที่กินไม่ได้แม้แต่ฝีมือตัวเอง

ในยุคนี้เราปฏิเสธการรับประทานอาหารนอกบ้านไม่ได้หรอกค่ะ แต่อย่างน้อยเราเลือกได้ ขอให้เรารู้ว่าอาหารแต่ละอย่างให้คุณค่าแก่ร่างกายอย่างไร ก็จะมีประโยชน์กว่าไปเลือกกินไก่ไม่มีกระดูกกับมันฝรั่งทอดหรือแฮมเบอเกอร์ที่ฝรั่งเเองก็เริ่มเมิน อย่างน้อยอาหารจานด่วนแบบไทยๆก็น่าจะเป็นที่พึ่งได้ ไม่ว่าจะเป็นขนมจีนน้ำยา ก๋วยเตี๋ยวผัดไทย ลาดหน้า ก๋วยเตี๋ยวชนิดต่างๆที่ปรุงใหม่ๆร้อนๆ หรือหากจะซื้ออาหารถุงก็ควรนำกลับมาอุ่นที่บ้าน อย่างน้อยอาหารไทยก็มีคุณค่าดังที่ได้กล่าวมาแล้ว

วารสารฉลาดซื้อฉบับที่ 19
ประจำเดือนมิถุนาย - กรกฎาคม 2540

 

พิมพ์ อีเมล

11365 views
ดิฉันได้อ่านบทความคอลัมน์ ชีวิตที่เลือกได้ เรื่อง กฟผ โดยคุณชัยอนันต์ สมุทวณิช ในนสพ. ผู้จัดการ เมื่...

Read more

24253 views
แม้ว่าในฉลากยา จะระบุให้ผู้ใช้ยาได้ทราบถึงวิธีใช้ยาและความถี่ของการใช้แล้วก็ตาม ...

Read more

10723 views
ถกกันอีกรอบกับประเด็น ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่เอกชนเตรียมรวมตัวกันในนาม 9 สมาคมฯ ขอรัฐแก้กฎหมาย...

Read more

13585 views
 ปัจจุบันนี้อาหารสำเร็จรูปเป็นที่นิยมสำหรับผู้บริโภคมากขึ้น ฉลากโภชนาการเป็นข้อมูลที่ช่วยให้ไ...

Read more

รู้ไว้ใช้สิทธิ์

IMAGE มหากาพย์ซิมฟรี แถมหนี้ไม่อั้น
“ได้รับแจกซิมฟรี แต่ไม่ได้เปิดใช้บริการ...
IMAGE อันตรายจากการหางานตามใบปลิว
เดี๋ยวนี้เวลาไปไหนมาไหน...
IMAGE สิทธิของผู้โดยสาร
ทุกครั้งที่เกิดอุบัติเหตุทางถนนสิ่ง ที่ตามมาก็คือ...
IMAGE กฎหมายน่ารู้ผู้โดยสาร
พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ