ข้อมูลเพื่อผู้บริโภค

มีอะไรก็กินไปเถอะ

   
เขียนโดย ปาจารยสาร
    มีอะไรก็กินไปเถอะวาทะงี่เง่าจากเหล่าผู้นำโลก ที่ต้องการบอกเรา ให้สำเหนียกว่า มีอะไรก็กินๆไปเถอะ..


ท่ามกลางความอดอยากขาดแคลน ที่แพร่ขยาย ลุกลามราวเชื้อโรค ภาพเหล่าผู้หิวโหย บนท้องถนนได้ทวีจำนวนไป พร้อมกับราคาอาหาร ที่พุ่งสูง เกิดขึ้นให้เห็นทั่วโลก เหมือนการล้มต่อๆ กันไป ของตัวโดมิโน ต่างกันก็แต่พวกเขาเหล่านี้ ไม่ใช่ตัวโดมิโนที่ไม่กิน ไม่หิว ไม่ทุกข์ยาก แต่เป็นมนุษย์
ที่ควรจะได้รับสิทธิ ในการดำรงอยู่อย่างมีศักดิ์ศรี และมีปัจจัย ในการดำรงชีวิต ขั้นพื้นฐานไม่ต่างจากคนอื่น ไม่ต่างจากเรา ไม่ต่างจากผู้นำโลก ในองค์กรโลกบาลหรือซีอีโอของบรรษัทข้ามชาติคนไหน

ยิ่งวิถีกินอยู่ การบริโภคการผลิต วิกฤตเท่าใด การวิเคราะห์ถึงเหตุ ปัจจัยและทางออกอันเชื่อมโยงถึง “อาชญากรรมทางโครงสร้างการพัฒนา” ที่แฝงฝังมานาน กลับถูกหยิบยกมาพูดถึง น้อยกว่าที่ควรจะเป็น บทวิเคราะห์ถึงเหตุ และ แนวทางแก้ปัญหา ที่ออกมาจากปาก ของกลุ่มผู้จัดระเบียบโลกใหม่ และองค์กรโลกบาล ทั้งหลาย ยังวนเวียนเน้นย้ำอยู่กับประเด็น ปริมาณประชากรโลก ที่มากเกินไป จนอาหาร ที่มีอยู่ไม่เพียงพอ ราคาน้ำมันพุ่งสูง ภาวะโลกร้อนที่ยากจะควบคุม เลยต้องปล่อยให้เป็นไป ตามกลไกคัดสรรทางธรรมชาติ ที่เกิด และจะดับไปเอง

เหล่านี้ แม้จะเป็นเหตุปัจจัยจริงๆ แต่ก็ เป็นวาทะงี่เง่าจากเหล่าผู้นำโลก ที่ต้องการบอกเรา ให้สำเหนียกว่า มีอะไรก็กินๆไปเถอะ... มาถึงขนาดนี้แล้ว และอีกนัยมันยังได้กลายเป็นจำเลย หรือคำอธิบายที่ “ง่าย” ต่อความเข้าใจซึ่งก่อเกิดขึ้นมา ได้อย่างเหมาะเจาะพอดี กับวาระเวลา เพื่อมาบดบัง “รอยด่าง” หลายๆรอยอย่างแนบเนียนจงใจ

รอยด่างใต้จาน

วิกฤตอาหารที่รุนแรงมากสุดในรอบเกือบยี่สิบปีทั่วโลก ข้าว ธัญพืช น้ำตาล เนื้อสัตว์ วัตถุดิบประกอบอาหารต่างๆ ฯลฯ สูงขึ้นเกิน ๕๐ % และหลายอย่แฮมเบอเกอร์างทะลุ เกิน ๑๐๐ % สิ่งจำเป็นกลายเป็นเรื่องเกินเอื้อมต่อหลายชีวิต ราคาอาหารที่พลิกผันให้มนุษย์เงินเดือน หรือชนชั้นแรงงานกลายเป็น “คนจน” เพียงชั่วข้ามคืนยิ่งกระหน่ำซ้ำซัดคนที่ในภาวะปกติก็แทบไม่มีแม้แต่เศษเงิน อยู่แล้วให้ต้องกลายเป็น มนุษย์กินดินต่างข้าว ราวชั่วกระพริบตาประชากรโลกกว่าร้อยล้านคนต้องกลายเป็น ผู้อดอยากที่รอคอย การสงเคราะห์ไปวันๆปรากฏการณ์เหล่านี้ อาจอยู่เหนือความคาดหมาย ของคนทั่วไป แต่นั่นไม่ใช่กับองค์กรโลกบาล ไม่ใช่กับประเทศที่มีอำนาจแทรกแซงนโยบายประเทศที่ด้อยกว่าทางอำนาจต่อรอง และไม่ใช่กับบรรดาบรรษัทผูกขาด อุตสาหกรรมอาหาร ที่กุมกำทิศทางการพัฒนาของโลก

ไม่ต่างจากยมบาลกำลังชี้นิ้วว่าจะให้ใครอดใครอิ่ม... ใครรอดใครตาย

หนังสือเล่มล่าของ เดวิด รอธคอปฟ์ อดีตรองปลัด กระทรวงพาณิชย์ ของสหรัฐ ตอกย้ำตลกร้ายทำนองนี้ คนเพียงหกพันคนที่เรียกว่า


กลุ่ม “ซุปเปอร์คลาส” (Super Class) หรือ “ซุปเปอร์ริช” (SuperRich) มีอำนาจเหนือ การตัดสินใจของรัฐบาล เป็นแหล่งทุนให้กับ พรรคการเมือง เป็นทั้งนักธุรกิจ และผู้มีบทบาท ทางนโยบายระดับประเทศ ซึ่งส่งผลต่อวิถี ความเป็นอยู่ของคนนับล้านที่เหลือทั่วโลก

คนกลุ่มนี้ กำหนดได้ว่าจะให้ใคร อด-อิ่ม รอด-ตาย สวย-ขี้เหร่ รวย-จน ฯลฯ จากอำนาจ ในการออกแบบโครงสร้าง เศรษฐกิจ และการสถาปนา คุณค่าบางอย่างขึ้นมาในสังคมผ่านการตลาด จากในครัวของเรา แล้วมองลึกลงไปในจานอาหารตรงหน้า บรรษัทไม่กี่รายครอบครองผูกขาด อุตสาหกรรมอาหาร ที่เรากินอยู่ทุกวัน ไม่ว่าจะเมล็ดพันธุ์ พันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ ปุ๋ย ยาฆ่าแมลง เทคโนโลยีเกษตร การตลาด การขนส่ง โฆษณา การสร้างคุณค่าขึ้นมา รองรับสินค้า ฯลฯ ไม่ใช่เรื่องเกินจริงที่อาหารบางอย่าง ตั้งแต่การผลิต จนถึงปากเรา อาจไม่ได้หลุดออกไป จากการดำเนินการของทุนกลุ่มเดียวเลย ผู้บริโภคไร้ทางเลือก ที่จะหาอาหารที่ดีต่อสุขภาพตัวเอง และโลก เกษตรกรรายย่อย ก็ไร้อำนาจในการจัดการ และเข้าถึงทรัพยากรตัวเอง

 

“ขนมปังในสหรัฐมีทุกอย่างยกเว้นแป้ง” เป็นตลกเสียดสีวัฒนธรรมบริโภคแบบอเมริกัน ที่สร้างเสียงหัวเราะได้แบบขื่นๆ และอาจไม่ใช่แค่เรื่องเล่าเกินจริงอีกต่อไป เมื่อการครอบครองผูกขาดอุตสาหกรรม อาหารของบรรษัท ดูจะชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ บรรษัทสัญชาติอเมริกัน ไม่กี่แห่งแทบจะครอบโลกทั้งโลกได้ ไม่ว่าจะเป็นมอนซานโต ที่ควบคุมตลาดเมล็ดพันธุ์ดัดแปลงพันธุกรรรม (GMO) ไว้กว่า ๙๐ % ทำรายได้เป็นกอบเป็นกำ จากเมล็ดพันธุ์จดสิทธิบัตร คาร์กิลซึ่ง แปรรูปสินค้าเกษตรออกวางขายทั่วโลก และมีตัวแทน อยู่ในหน่วยงานรัฐ ด้านเกษตรในร้อยกว่าประเทศ และอยู่ในธนาคารเพื่อการพัฒนา ส่วนหุ้นของ อาร์เชอร์ ดาเนียลส์มิดแลนส์ บรรษัทผลิตอาหาร และเอทานอลจากข้าวโพดก็พุ่งทะยานขึ้นกว่า ๒.๕ % สวนกระแส เศรษฐกิจขาลง ของสหรัฐ ฯลฯ นี่แค่ตัวอย่างเล็กแสนเล็ก....


บรรษัทเหล่านี้สร้างหายนะต่อกระบวนการการผลิตอาหารทั่วโลก ตลอดจนส่งผลให้วิถี ความเป็นอยู่ และวัฒนธรรมการบริโภคเปลี่ยนแปลงไปสิ้นเชิงสถานการณ์นี้ดูจะทวีความรุนแรง มากขึ้น จากกระแสพืชพลังงาน ที่นำไปสู่การจับมือควบรวมระหว่างบรรษัท เพื่อดำเนินธุรกิจ เชื้อเพลิงชีวภาพ ซึ่งทั่วโลก มีนโยบายเพิ่มการผลิตอีกมหาศาล และนั่นหมายถึงการครอบครอง“ที่ดิน”โดยกลุ่มทุนอีกมหาศาลเช่นกัน

 

 

กลุ่มทุนยักษ์ด้านอุตสาหกรรมอาหาร และธุรกิจเกษตรในไทย อย่างเครือเจริญโภคภัณฑ์หรือซีพี ก็กำลังเดินหน้าเข้าสู่ธุรกิจพลังงานทดแทน อย่างจริงจัง (หลังสนับสนุนให้ เกษตรกรปลูกพืชเชิงเดี่ยวจนเข้าสู่วงจรหนี้สิน กลายเป็นคนจนเชิงโครงสร้าง ผูกขาดวัตถุดิบ และกระบวนการผลิต สร้างวัฒนธรรมบริโภคตลอดยี่สิบสี่ชั่วโมงเบียดขับร้านโชว์ห่วยเก่าๆ ได้ สำเร็จไปแล้ว)

และในท่ามกลางวิกฤต ซีพีก็นำเสนอ “ซุปเปอร์ข้าว” ซึ่งเป็นพันธุ์ข้าวลูกผสมที่ให้ ผลผลิตถึง ๑,๐๐๐ - ๒,๐๐๐ ก.ก.ต่อไร่ ทนโรคและแมลง เก็บเกี่ยวได้รวดเร็ว เพื่อให้มาเป็น “ทางเลือก” แก่เกษตรกรและสังคมไทย

ซีพีจะส่งต่อสายพันธุ์ข้าวที่ได้ไปยังเกษตรกรในลักษณะของต้นกล้าที่ พร้อมสำหรับการปักดำ แทนที่จะขายเป็นเมล็ดพันธุ์ข้าว ให้กับเกษตรกร นำไปหว่าน ในแปลงปลูกเอง ซึ่งการปลูกข้าวของเกษตรกร ในแบบเดิม มักเกิดการสูญเสีย ระหว่างเพาะปลูก ทำให้ได้ผลผลิต ไม่ตรงตามต้องการ

 

ต่างจากต้นกล้า ของสถานีวิจัยที่ผ่านการให้ปุ๋ย และยากันเชื้อรา ในสัดส่วนที่เหมาะสม พร้อมลงแปลงปลูกจริง ด้วยเครื่องปักดำ” เป็นสิ่งที่ประธานผู้บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ของเครือเจริญโภคภัณฑ์กล่าว แต่ที่ไม่ได้ถูกบอก ออกมาดังๆ คือพันธุ์ข้าวลูกผสม เป็นโครงการที่ซีพีร่วมมือกันกับบริษัทเมล็ดพันธุ์อีกหลายแห่ง ดังนั้นมันจึง“มีเจ้าของ” และ อยู่ภายใต้ การจดสิทธิบัตร ซึ่งเกษตรกร ไม่สามารถ เก็บพันธุ์รุ่นสอง ไว้ใช้ได้

ทั้งยังนับเป็นพันธุ์ตัดแต่ง ที่ต้องใช้สารเคมี ในการเพาะปลูกมาก สิ่งนี้ไม่ใช่อธิปไตย และความมั่นคงทางอาหารเลย และเป็นทางออก ที่มาจาก วิธีคิดแบบด่วนได้ ผูกขาด ลดทอนความหลากหลาย และมองทรัพยากร เป็นเพียงปัจจัยการผลิต เพื่อสนองการบริโภค

ในยุคสมัยที่เราเริ่มวิตกกัน ถึงความมั่นคง ทางอาหาร อธิปไตย ทางอาหาร ความหลากหลายทางชีวภาพ ยุคสมัย ที่มีศัพท์อย่างเอฟทีเอ จีเอ็มโอ นาโนเทคโนโลยี บรรษัทข้ามชาติ การจดสิทธิบัตร โจรสลัดชีวภาพ ฯลฯ ลอยเข้ามาให้ระคายเคืองหู มันจึงเป็นยุค ที่ปรากฏการณ์ อย่างการลดลงของเมล็ดพันธุ์ท้องถิ่น นับล้านพันธุ์, ความตายและการล่มสลาย ของชาวนา,ตัวเลขคนเป็นโรคอ้วนทวีขึ้นอย่างรวดเร็ว วัยรุ่นจำนวนมากป่วยเป็นบูลีเมีย (กินแล้วล้วงคอให้อาเจียน) หรืออะนอเร็กเซีย (ไม่กล้ากินอะไรเลย) ขณะที่ก็มีคนหิวไส้แทบขาด แต่ไม่มีอะไรจะกิน นอกจากดินกับเกลือ ฯลฯ

จึงไม่ใช่เรื่องปกติหรือแค่ความผิดปกติของปัจเจกบุคคล ไม่ใช่สิ่งที่เลี่ยงไม่ได้จากปัจจัยทางธรรมชาติหรือตามกลไก ทางเศรษฐกิจ
แต่คืออาชญากรรมและความบิดเบี้ยวทางโครงสร้างการพัฒนา ที่ทำให้ทรัพยากรที่มีเพียงพอต่อทุกคน กลับกระจุกตัวอยู่กับคนไม่กี่พันคนเท่านั้น

{mxc}

พิมพ์ อีเมล

11283 views
ดิฉันได้อ่านบทความคอลัมน์ ชีวิตที่เลือกได้ เรื่อง กฟผ โดยคุณชัยอนันต์ สมุทวณิช ในนสพ. ผู้จัดการ เมื่...

Read more

24140 views
แม้ว่าในฉลากยา จะระบุให้ผู้ใช้ยาได้ทราบถึงวิธีใช้ยาและความถี่ของการใช้แล้วก็ตาม ...

Read more

10640 views
ถกกันอีกรอบกับประเด็น ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่เอกชนเตรียมรวมตัวกันในนาม 9 สมาคมฯ ขอรัฐแก้กฎหมาย...

Read more

13478 views
 ปัจจุบันนี้อาหารสำเร็จรูปเป็นที่นิยมสำหรับผู้บริโภคมากขึ้น ฉลากโภชนาการเป็นข้อมูลที่ช่วยให้ไ...

Read more

รู้ไว้ใช้สิทธิ์

IMAGE มหากาพย์ซิมฟรี แถมหนี้ไม่อั้น
“ได้รับแจกซิมฟรี แต่ไม่ได้เปิดใช้บริการ...
IMAGE อันตรายจากการหางานตามใบปลิว
เดี๋ยวนี้เวลาไปไหนมาไหน...
IMAGE สิทธิของผู้โดยสาร
ทุกครั้งที่เกิดอุบัติเหตุทางถนนสิ่ง ที่ตามมาก็คือ...
IMAGE กฎหมายน่ารู้ผู้โดยสาร
พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ