สภาลงมติผ่านร่างพ.ร.บ.กสทช.'กรณ์'แฉกสท.-ทีโอทีจ่ายรัฐน้อย

สภาผู้แทนราษฎรผ่านร่าง พ.ร.บ.กสทช. ตั้ง 11 อรหันต์คุมกฏ ด้วยเสียงเห็นชอบ 236 เสียง นักวิชาการชี้ร่าง พ.ร.บ. ยังมีโครงสร้างกฎหมายที่ไม่สอดคล้อง จะก่อให้เกิดการฟ้องร้องตามมา กรณ์' เชื่อกฎหมาย กสทช.นำไปสู่การปรับโครงสร้าง อัด'กสท.-ทีโอที'ไม่บริการประชาชน แฉแบ่งประโยชน์ ให้รัฐปีละแค่ 20%

วานนี้(10พ.ย.) ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฏรได้มีมติเห็นชอบ 228 เสียง ต่อ 2 เสียง ในร่างพ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจาย เสียง วิทยุโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ... (กสทช) ที่คณะกรรมาธิการร่วมกันฯพิจารณาเสร็จแล้ว

ทั้งนี้คณะกรรมาธิการร่วมกันฯได้มีการแก้ไขรายละเอียดในบางประเด็น อาทิ มีการแก้ไขจำนวนกสทช.จากที่วุฒิสภาแก้ไข15 คน กลับมาเป็น11 คน และได้ตัดผู้ที่มีผลงานหรือมีความรู้ และมีความเชี่ยวชาญหรือประสบการณ์ด้านความมั่นคงของรัฐหรือการบริหารราชการ จำนวน 2 คนร่วมเป็นกรรมการกสทช.ออกไป ส่วนการเสนอชื่อผู้สมควรได้รับเลือกเป็นกรรมการมีสิทธิ์ขอขึ้นทะเบียนไว้ต่อ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ส่วนประเด็นเกี่ยวกับการกำหนดให้รัฐวิสาหกิจนำรายได้จากผลประกอบการที่ได้ รับส่งให้กสทช.เพื่อส่งเป็นรายได้แผ่นดิน คณะกรรมาธิการร่วมกันฯเห็นตามการแก้ไขของวุฒิสภา คือจาก 1 ปีเป็น 3 ปี

อย่างไรก็ตามสมาชิกได้อภิปรายท้วงติงในเรื่องของการกำหนดคุณสมบัติ ที่กรรมาธิการร่วมกันฯ เห็นชอบตามที่วุฒิสภาแก้ไขกำหนดไว้ไม่ต่ำกว่า 35 ปีบริบูรณ์ แต่ไม่เกิน 70ปีบริบูรณ์ ว่าเป็นการกำหนดอายุที่มากเกินไป อาจไม่เหมาะสมกับการปฏิบัติหน้าที่ ขณะเดียวกันส.ส.หลายคนแสดงความไม่เห็นด้วยกับข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการร่วม กันฯ โดยเฉพาะกรณีที่เสนอให้มีกสทช.แต่งตั้งผู้ที่มีผลงาน หรือมีความรู้มีความเชี่ยวชาญหรือประสบการณ์ด้านความมั่นคงของรัฐเข้าร่วม เป็นอนุกรรมการของกสทช.ด้วย

สุดท้ายที่ประชุมมีมติ เห็นชอบ 236 เสียงต่อ6 เสียง เห็นชอบให้ถอนข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการร่วมกันฯออกจากรายงานการประชุม โดยรายงานร่างดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้เมื่อวุฒิสภาพิจารณาเห็นชอบ ซึ่งขณะนี้มีการบรรจุเข้าสู่ระเบียบวาระการประชุมวุฒิสภาแล้วในวันที่ 15 พ.ย.นี้

โครงสร้างกม.ไม่สอดคล้องธุรกิจ
นายวสันต์ ภัยหลีกลี้ ประธานสภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย เปิดเผยภายในงานสัมมนา 'ชำแหละ ร่าง พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ..... (กสทช.)' ว่า หากกฎหมาย กสทช.ออกมาจะช่วยแก้ปัญหาการกระจุกตัวความเป็นเจ้าของสื่อเทคโนโลยีจาก ปัจจุบันที่สิทธิ์ครอบครองคลื่นความถี่ยังกระจุกตัวในมือของหน่วยงานภาครัฐ เช่น ทหาร อสมท.และกรมประชาสัมพันธ์

ขณะเดียวกัน พ.ร.บ. กสทช. ยังรองรับยุคการหลอมรวมสื่อ (คอนเวอร์เจนซ์) โดยควบรวมสององค์กรอิสระคือคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) กับคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์แห่งชาติ (กสช.) มาเป็นองค์กรเดียว คือ กสทช. ทำให้ง่ายต่อการดูแล
นายอนุภาพ ถิรลาภ นักวิชาการอิสระด้านสื่อสารและสารสนเทศ กล่าวว่า ร่าง พ.ร.บ. กสทช. ยังมีโครงสร้างกฎหมายที่ไม่สอดคล้องกับธุรกิจ เนื้อหาการกำกับกิจการวิทยุ และโทรทัศน์ ยังมีปัญหา ซึ่งกฎหมายยังมีส่วนที่ไม่สามารถปฏิบัติได้อีกมาก จะก่อให้เกิดการฟ้องร้องตามมา

'พ.ร.บ.นี้มีผลประโยชน์แฝงมาก เชื่อเถอะเงินทำได้ทุกอย่าง ถ้า พ.ร.บ. กสทช.ประกาศใช้เราจะดีใจกันได้แค่ 6 เดือน แล้วจะเกิดปรากฏการณ์หุ้นวิทยุ โทรทัศน์จะขึ้น แต่หุ้นโทรคมนาคมจะทรงตัว'

'กรณ์' แฉ'กสท.-ทีโอที'แบ่งประโยชน์ ให้รัฐปีละแค่ 20%
ขณะเดียวกัน วานนี้ นายกรณ์ จาติกวณิช ส.ส.กทม. พรรคประชาธิปัตย์ และรมว.คลัง อภิปรายว่า กฎหมายดังกล่าวถือว่าเป็นกฎหมายที่มีความสำคัญ และเป็นกฎหมายที่สังคมคาดหวังมากที่จะเปลี่ยนแปลงระบบโทรคมนาคมให้ทั่วถึง และทันสมัยมากขึ้น โดยต้องไปดูในเรื่องระบบโครงการของระบบโทรคมนาคม โดยเฉพาะเรื่องสัดส่วนสัมปทานที่ให้กับรัฐเป็นธรรมหรือไม่ ซึ่งตนรู้สึกอึดอัด และคาดหวังว่าพ.ร.บ.ฉบับนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง ดังนั้นเมื่อเห็นตรงกันว่า หากต้องการปรับโครงสร้างเพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงก็ต้องมีการแก้ไขใน เรื่องผลประโยชน์ของสัมปทาน ในมาตรา 84 ซึ่งก็มีคำตอบที่ได้คือถ้าเราเร่งรัดที่จะให้รัฐวิสาหกิจทั้ง 2 บริษัทโอนรายได้เข้าสู่รัฐแทนที่ทำเองก็อาจทำให้ทั้งบริษัทอยู่ไม่ได้

“กสท.หรือทีโอที ทำไมเรามองว่าเขาต้องมีรายได้ของเขา ตนไม่เข้าใจความคิดของคณะกรรมาธิการฯว่าทำไมต้องขยายเวลาส่งเงินเข้าแผ่นดิน จาก 1 ปีเป็น 3 ปี ในอดีตกสท.และทีโอที อาจเป็นรัฐวิสาหกิจที่ให้บริการประชาชนและต้องแข่งขันกับเอกชน แต่ปัจจุบันทั้งสองบริษัทเน้นในเรื่องพาณิชย์ ไม่ได้เน้นบริการประชาชน โดยในช่วง 3 ปีที่ผ่านมารายได้สัมปทานของกสท.สูงถึง 20,000 กว่าล้านแบ่งให้รัฐแค่ 2,700 ล้านบาท โดยเฉลี่ยในแต่ละปีมีการแบ่งรายได้ให้รัฐแค่ร้อยละ 20 จึงอยากถามว่าที่ผ่านมา กสท.ทำอะไรให้กับรัฐหรือประชาช

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 11 พฤศจิกายน 2553 07:51 น.

พิมพ์ อีเมล

บทความใกล้เคียงกัน