เตือนภัย นสพ. ตำรวจพลเมือง หลอกลวงผู้บริโภค

Art-book
ชัดเจนแล้ว นสพ. ตำรวจพลเมือง หลอกลวงผู้บริโภค ชัดเจนแล้ว นสพ. ตำรวจพลเมือง หลอกลวงผู้บริโภค หนังสือจากอธิบดีกรมกิจการสตรีและครอบครัวหนังสือยืนยัน พร้อมทำจดหมายถึงผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด

ภายหลังการแจ้งเตือนผู้บริโภค เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2558 ของ สภาปฏิรูปแห่งชาติ โดยนางสาวสารี อ๋องสมหวัง ประธานกรรมาธิการปฏิรูปการคุ้มครองผู้บริโภค กรณี หนังสือพิมพ์ตำรวจพลเมืองออกรับสมัครสมาชิกโดยการประกาศ ประชาสัมพันธ์เชิญชวนสมัครเป็นสมาชิก โครงการสวัสดิการเพื่อสมาชิกหนังสือพิมพ์ตำรวจพลเมือง 1 ชีวิต 1 ล้าน ผ่านช่องทางต่าง ๆ อย่างแพร่หลายและต่อเนื่องทั้งทางเว็บไซต์ ผ่านโปรแกรมไลน์โทรศัพท์เคลื่อนที่ และจัดประชุมสัญจรในจังหวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศ โดยผู้สมัครทุกรายจะต้องเสียค่าสมัครคนละ 1,500 – 3,000 บาท แบ่งเป็นค่าสมาชิกหนังสือพิมพ์ 850 บาท ค่าสมาชิกสมาคมณาปนกิจสงเคราะห์พลังเครือข่ายประชาชน คนละ 650 บาท และบางรายชำระเงินถึง 2,500 – 3,000 บาท

ในที่สุดวันที่ 14 พฤษภาคม 2558 นายสมชาย เจริญอำนวยสุข อธิบดีกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว ได้ออกหนังสือแจ้งเตือนการสมัครสมาชิกหนังสือตำรวจพลเมือง ไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด เพราะการดำเนินการของหนังสือพิมพ์ตำรวจพลเมือง เข้าข่ายเป็นการฌาปนกิจสงเคราะห็ แต่ไม่ได้จดทะเบียนจัดตั้งเป็นสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์ให้ถูกต้องตามพระราชบัญญัติการฌาปนกิจสังเคราะห์ พ.ศ. 2545 ทำให้คนที่เป็นสมาชิกไม่มีหลักประกันหากหนังสือพิมพ์ฯไม่จ่ายเงินสวัสดิการตามที่ประชาสัมพันธ์ไว้

23 พฤษภาคม 2558 นางสาวสารี อ๋องสมหวัง ประธานกรรมาธิการปฏิรูปการคุ้มครองผู้บริโภค ชวนให้ผู้บริโภคทั่วประเทศที่สมัครสมาชิกขอเงินคืนหนังสือพิมพ์ตำรวจพลเมือง และแจ้งความให้ดำเนินคดีกับหนังสือพิมพ์ตำรวจพลเมือง เพื่อให้ตำรวจคุ้มครอง และดำเนินคดีว่าการกระทำดังกล่าวเข้าข่ายเป็นการฉ้อโกงประชาชนหรือไม่ พร้อมทั้งขอให้ผู้บริโภคช่วยกันเผยแพร่ข่าวสารไปยังผู้บริโภคคนอื่นๆ

พร้อมทั้งให้ความเห็นต่อว่าการหลอกลวงคือการละเมิดสิทธิผู้บริโภค การปกป้องสิทธิผู้บริโภคต้องอาศัยพลังพลเมืองผู้บริโภคและภาครัฐบังคับใช้กฎหมาย ทำงานร่วมกันจึงสำเร็จ

อนึ่งเนื่องจากการลงพื้นที่รับฟังความคิดเห็นจากพี่น้องประชาชนทั่วประเทศ ของสภาปฏิรูป โดยเฉพาะในเขตภาคกลาง ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กอปรกับได้รับเรื่องร้องเรียนจากประชาชน พบว่า มีหนังสือพิมพ์ตำรวจพลเมืองออกรับสมัครสมาชิกโดยการประกาศ ประชาสัมพันธ์เชิญชวนสมัครเป็นสมาชิก โครงการสวัสดิการเพื่อสมาชิกหนังสือพิมพ์ตำรวจพลเมือง 1 ชีวิต 1 ล้าน ผ่านช่องทางต่าง ๆ อย่างแพร่หลายและต่อเนื่องทั้งทางเว็บไซด์ ผ่านโปรแกรมไลน์โทรศัพท์เคลื่อนที่ และจัดประชุมสัญจรในจังหวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศ โดยผู้สมัครทุกรายจะต้องเสียค่าสมัครคนละ 1,500 – 3,000 บาท แบ่งเป็นค่าสมาชิกหนังสือพิมพ์ 850 บาท ค่าสมาชิกสมาคมณาปนกิจสงเคราะห์พลังเครือข่ายประชาชน คนละ 650 บาท และบางรายชำระเงินถึง 2,500 – 3,000 บาท

ซึ่งจากการตรวจสอบข้อเท็จ จริงจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พบว่า การดำเนินกิจการฌาปนกิจสงเคราะห์ดังกล่าวไม่ได้มีการยื่นจดทะเบียนจัดตั้ง สมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์จากนายทะเบียนสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์ประจำท้องที่ และพบว่ามีการรับสมัครสมาชิกทั่วประเทศกว่า 190,000 ราย และที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาพบประมาณ 3,000 ราย รวมมูลค่าความเสียหายกว่า 300,000,000 บาท

คณะ กรรมาธิการปฏิรูปการคุ้มครองผู้บริโภค เห็นว่า การกระทำของหนังสือพิมพ์ตำรวจพลเมืองถือเป็นการชักชวน ชี้ช่อง หรือจัดการโดยวิธีอื่นใดที่คล้ายคลึงกันให้ผู้อื่นเข้าสมัครเป็นสมาชิกสมาคม ฌาปนกิจสงเคราะห์ที่ยังมิได้จดทะเบียนโดยถูกต้องตามกฎหมาย และโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนเป็นเงินหรือทรัพย์สินไม่ว่าจะเป็นสินจ้าง หรือค่าใช้จ่ายอื่นจากการชักชวน ชี้ช่อง หรือจัดการโดยวิธีอื่นใดที่คล้ายคลึงกัน

ให้ผู้อื่นเข้าสมัครเป็น สมาชิกสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์ที่ยังไม่ได้จดทะเบียนโดยถูกต้องตามกฎหมาย โดยได้รับประโยชน์ตอบแทน เป็นเงินหรือทรัพย์สินอื่นไม่ว่าจะเป็นสินจ้างหรือค่าใช้จ่ายอื่นจากการชัก ชวน ชี้ช่อง หรือจัดการนั้น ซึ่งเป็นความผิดตามมาตรา 33 และมาตรา 34 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามมาตรา 66 แห่งพระราชบัญญัติการฌาปนกิจสงเคราะห์ พ.ศ. 2545

อย่างไรก็ตาม เพื่อเป็นการปกป้องและรักษาประโยชน์ของประชาชนเป็นส่วนรวม คณะกรรมาธิการได้มีหนังสือถึงกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับ การคุ้มครองผู้บริโภค สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ให้เร่งตรวจสอบข้อเท็จจริงและดำเนินการตามกฎหมายให้ถึงที่สุดต่อไป
pic

พิมพ์ อีเมล

บทความใกล้เคียงกัน