บริษัทยอดเยี่ยม-ยอดแย่"51 กระจกสะท้อน "ความรับผิดชอบ" ธุรกิจ

การประกาศผลโหวตจาก โครงการสำรวจความเห็นของ ผู้บริโภคเรื่องผลิตภัณฑ์ บริการ และโฆษณา ยอดเยี่ยม/ยอดแย่ ประจำปี พ.ศ. 2551 โดยมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคและภาคีเครือข่าย เมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา จึงไม่เพียงเป็นครั้งแรกในไทยที่มีการจัดอันดับบริษัทยอดเยี่ยมและยอดแย่ 

ในเวลาเดียวกันนี้เป็นเสมือนสัญญาณ จากผู้บริโภค และอาจจะเป็นแรงผลักดันที่สำคัญในการเคลื่อนแนวคิดความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรในอนาคต !!

กระจกสะท้อน "ธุรกิจ" 


รศ.ดร.จิราพร ลิ้มปานานนท์ ประธานมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า จากการทำโครงการนี้เพื่อสร้างความตระหนักให้กับผู้บริโภคและให้ความสำคัญกับสิ่งที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์และบริการแม้กระทั่งสื่อโฆษณา ในขณะที่องค์กรธุรกิจเองจะได้เห็นว่าการส่งเสียง ของผู้บริโภคมีผลกระทบต่อผู้ผลิต และเป็นกระจกบานใหญ่ที่สะท้อนให้ผู้ผลิตปรับพฤติกรรมในบางเรื่อง ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้จะทำให้ทั้งผู้บริโภคและผู้ผลิตมีความเข้มแข็ง ดังเช่นในต่างประเทศการทำแบบนี้จะเป็นเครื่องมือหนึ่งที่จะทำให้เรื่องนี้ลงสู่การปฏิบัติที่เป็นจริงมากขึ้น 



"ที่ผ่านมาเราได้รับเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับสินค้าและบริการต่างๆ ที่ละเมิดสิทธิของผู้บริโภคเป็นจำนวนกว่า 3,000 เรื่อง การจัดกิจกรรมนี้จะทำให้ผู้บริโภคมี ช่องทางในการแสดงความคิดเห็นต่อสินค้า บริการ และโฆษณาที่ละเมิดสิทธิผู้บริโภค และในขณะเดียวกันก็จะเป็นการยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ บริการ และโฆษณาของผู้ประกอบธุรกิจในประเทศไปพร้อมกันด้วย" รศ.ดร.จิราพรกล่าว

เบบี้มายด์-SCB-ไทยประกันเข้าวิน
สำหรับผลการตัดสินจากผลโหวตของประชาชนกว่า 3,000 คนทั่วประเทศ จากการสำรวจของเอแบคโพลและสื่อมวลชนทั้งอินเทอร์เน็ต และโทรทัศน์ ฯลฯ พบว่าบริษัทยอดเยี่ยมแบ่งเป็น 3 รางวัล 1.ผลิตภัณฑ์ยอดเยี่ยม ได้แก่ แป้งเด็กเบบี้มายด์ เนื่องจากผู้บริโภคเห็นว่ากลิ่นหอม เนื้อแป้งละเอียดเนียนนุ่ม ราคาประหยัด ไม่แพ้ง่าย 2.บริการยอดเยี่ยมได้แก่ ธนาคารไทยพาณิชย์ เพราะเอาใจใส่ลูกค้า บริการรวดเร็ว ให้คำแนะนำดี (โดยไม่ได้พิจารณาเรื่องโครงสร้างดอกเบี้ย) และ 3.รางวัลโฆษณายอดเยี่ยมได้แก่ โฆษณา ชุดแม่ต้อยของบริษัทไทยประกันชีวิต ด้วยเหตุผลว่า เป็นโฆษณาที่มีเนื้อหากินใจ สร้างสรรค์ 

ปตท.คว้า บ.ยอดแย่
สำหรับบริษัทยอดแย่ในสายตาผู้บริโภค 3 รางวัล ได้แก่ผลิตภัณฑ์ยอดแย่ได้แก่ ก๊าซและน้ำมันของบริษัท ปตท. เนื่องจาก ผู้บริโภคเห็นว่ามีราคาแพง การควบคุมราคาขายของทางร้านไม่ชัดเจน ถังเก่า น่ากลัวอันตราย ไม่ชอบผู้ถือหุ้น มีการขนส่งที่ล่าช้า ใช้ได้เฉพาะรถบางชนิดเท่านั้น และใช้ราคาน้ำมันจากประเทศสิงคโปร์ โดยไม่ยอมใช้ราคาต้นทุนที่แท้จริงทั้งที่เป็นรัฐวิสาหกิจ บริการยอดแย่ได้แก่ บริการ รถโดยสารสาธารณะ ที่รวมตั้งแต่รถประจำทางของ ขสมก. รถร่วม รถทัวร์ของ บ.ข.ส. รถไฟ เพราะพนักงานไม่สุภาพ ที่นั่งแคบ ไม่ตรงเวลา และขายตั๋วเกินราคา สภาพรถไม่ดี ขับรถเร็ว รู้สึกไม่ปลอดภัย ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน ที่พบว่าประเทศไทยมีอุบัติเหตุรถโดยสารสาธารณะเฉลี่ยปีถึงละ 3,000-4,000 ครั้ง ส่วนโฆษณายอดแย่ได้แก่โฆษณาของบริษัททีวี ไดเร็ค โดยให้เหตุผลว่า เป็นการโฆษณาเกินจริง น่าเบื่อ สินค้าไม่มีคุณภาพ เป็นสินค้าไม่จำเป็น ชักจูงเกินไปและหลอกลวง ประชาชน 

แม้จะเป็นเวทีเล็กๆ แต่ผลจากเวทีนี้ย่อมเป็นกระจกสะท้อนสำคัญถึงการทบทวนถึงความรับผิดชอบขององค์กรที่เป็นเพียงคำกล่าวอ้างของใครหลายคน !!

ข้อมูลจาก  ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 04 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

พิมพ์ อีเมล

คลัง-สคบ.รื้อกฎหมายคุมขายตรง

โพสต์ทูเดย์ — คลังจับมือสคบ. คุมเข้มธุรกิจขายตรง หวั่นกลายพันธุ์เป็นแชร์ลูกโซ่

แหล่งข่าวจากกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า หลังจากกลุ่มป้องปรามเงินนอกระบบ กระทรวงการคลัง ได้ตรวจพบพฤติกรรมบริษัทขายตรงหลอกลวงผู้บริโภคในรูปแบบของแชร์ลูกโซ่ได้จำนวนมาก ล่าสุดได้รับการแจ้งจากสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) แจ้งว่า กำลังปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. 2545 เพื่อให้ตรวจสอบผู้ประกอบธุรกิจขายตรงได้มากขึ้น

แหล่งข่าวเปิดเผยว่า แนวทางที่สคบ.จะแก้ไขคือ การกำหนดคุณสมบัติของบริษัทที่ขอจดทะเบียนประกอบธุรกิจขายตรงและตลาดแบบตรง ต้องมีทุนจดทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ขั้นต่ำ 10 ล้านบาท และการเพิ่มบทกำหนดโทษจำคุกกับผู้ประกอบธุรกิจที่กระทำการฝ่าฝืนกฎหมายดังกล่าวอย่างรุนแรง

ปัจจุบันมีบริษัทที่แจ้งว่าทำธุรกิจขายตรงในประเทศไทยจำนวนทั้งสิ้นกว่า 500 บริษัท แต่จากการตรวจสอบล่าสุดของสคบ. พบว่ามีกว่า 200 บริษัทที่ปิดกิจการไปแล้ว

ขณะที่บริษัทขายตรงที่ถูกร้องเรียนว่าทำธุรกิจลักษณะคล้ายแชร์ลูกโซ่ ซึ่งอยู่ระหว่างการตรวจสอบของกรมสอบสวนคดีพิเศษมีประมาณ 20 บริษัท

แหล่งข่าวเปิดเผยว่า ธุรกิจแบบขายตรงที่แอบแฝงแชร์ลูกโซ่มีสินค้าหลากหลายประเภท เช่น อาหารเสริม ผลิตภัณฑ์ในครัวเรือน ซึ่งบางบริษัทอ้างการประกอบธุรกิจแบบเดียวกันในต่างประเทศ เน้นการหาสมาชิกทางเว็บไซต์ โดยให้ซื้อสินค้าของทางบริษัทเพื่อการสมัครเข้าเป็นสมาชิกในราคาค่อนข้างสูง และให้สมาชิกหาสมาชิกรายใหม่โดยได้ผลประโยชน์ตอบแทน โดยทางบริษัทไม่ได้ประกอบธุรกิจจากการขายสินค้า แต่นำเงินจากสมาชิกรายใหม่มาหมุนเวียนให้แก่สมาชิกรายเก่า

หากประชาชนมีความสนใจประกอบธุรกิจประเภทขายตรง ควรตรวจสอบความถูกต้องของบริษัทก่อน
ข้อมูลจาก นสพ.โพสต์ทูเดย์ 3/5/52

พิมพ์ อีเมล

ราคากลางค่าซ่อมใหม่คลอดแล้ว!

วินาศภัยเฮ! ราคากลางใหม่ค่าซ่อมรถแล้วเสร็จ เผยละเอียดยิบกว่าเดิม แยกตามขนาดแล้วยังแยกย่อยตามยี่ห้อ-ชิ้นงานด้วย มีทั้งถูก-แพงกว่าเดิม ถัวเฉลี่ยไปตามชิ้นงาน ชัดสุดรถตู้โตโยต้าคอมมูเตอร์ขนาด-ชิ้นงานใหญ่ขึ้น ราคาแพงขึ้น 10-15% ขณะโตโยต้ายาริสยิ้มร่าค่าซ่อมถูกกว่าเดิม เหตุชิ้นงานบางชิ้นขนาดเล็กลง ยอมรับราคาอู่กลางแพงกว่า แต่ไม่ทุกตัว เหตุไม่ได้นำมาเทียบตั้งแต่ ต้น เกรงไขว้เขว เทียบกับราคา เดิมที่ใช้อยู่เท่านั้นคาดประกาศ ใช้ใน 1-2 เดือนนี้หลังเสนอ คณะกรรมการประกันภัยยานยนต์ตรวจสอบ 

แหล่งข่าวจากคณะทำ งานราคากลาง สมาคมประกันวินาศภัย 

เปิดเผย “สยามธุรกิจ” ว่า ขณะนี้คณะทำงานได้จัดทำราคากลางค่าซ่อมรถยนต์เสร็จแล้ว เหลือเพียงแต่การตรวจสอบ เพื่ออนุมัติใช้เท่านั้น ทั้งนี้ราคากลางค่าซ่อมดังกล่าว เป็น การจัดทำขึ้นใหม่เพื่อให้สอดคล้องกับความ เป็นจริงในปัจจุบัน โดยคณะทำงานมาจาก 10 บริษัทประกันวินาศภัยชั้นนำของตลาด ประกันภัยรถยนต์ อาทิ วิริยะประกันภัย กรุงเทพประกันภัย สินมั่นคงประกันภัย ธนชาตประกันภัย เป็นต้น ผ่านการกลั่นกรองมาอย่างแล้วหลายชั้น จึงมั่นใจได้ใน ความเหมาะสม โดยใช้เวลาในการจัดทำราว 3-4 เดือน จึงได้ราคาค่าซ่อมกลางใหม่นี้ขึ้นมา โดยมีความแตกต่างจากของเดิม คือ มีความละเอียดมากขึ้น จากเดิมที่จะกำหนดราคาค่าซ่อม โดยแยกตามประเภทรถเพียงแค่ ขนาดเล็ก กลาง ใหญ่ และรถญี่ปุ่น หรือรถยุโรปเท่านั้น แต่ของ ใหม่มีความละเอียดมากขึ้นโดยแยกย่อยไปถึงยี่ห้อ และรุ่นของรถด้วย เช่น โตโยต้า ก็จะมีการแยกราคาตามรุ่นไปเลย เช่น แคมรี่ วีออส ยาริส เป็นต้น และแยกราคา ตามชิ้นด้วย จากเดิมที่แยกเฉพาะขนาดรถเท่านั้น ซึ่งไม่ละเอียดพอ

นอกจากราคากลางใหม่จะแยกตาม ยี่ห้อ และรุ่นของรถแล้ว ยังแยกราคาซ่อม ตามชิ้นงานอีกด้วย เช่น รถ 4 ประตู จะแยก เป็น 13 ชิ้นงานหลัก กับอีก 20 รายการชิ้นงานย่อย โดยชิ้นงานหลัก ได้แก่ ประตูรถ 4 บาน, บังโคลน 4 บาน, ฝากระโปรงหน้า-หลัง 2 ชิ้น, หลังคา 1 ชิ้น และกันชนหน้า-หลัง 2 ชิ้น ส่วนรถตู้ รถกระบะ ก็จะมีการแยกชิ้นงานต่างออกไปอีก เป็นต้น

“ราคากลางค่าซ่อมใหม่นี้ ถือว่าดีกว่าราคาค่าซ่อมกลางในอดีต เป็นธรรมกว่า เนื่องจากเราจัดทำขึ้นมาโดยใช้พื้นฐาน ของราคาค่าซ่อม และค่าอะไหล่ในปัจจุบัน รวมทั้งใช้หลักการของขนาดพื้นที่ คือ ขนาดของชิ้นงานเป็นหลัก ดังนั้นจึงไม่สามารถบอกได้ว่าราคาค่าซ่อมใหม่เฉลี่ยแล้วจะถูก หรือแพงกว่าของเดิมไปเท่าไร บอกได้เพียงว่ารถประเภทที่มีขนาดใหญ่ขึ้น หรือไซส์ที่มันใหญ่ขึ้นกว่าอดีตราคาค่าซ่อมแพงขึ้นแน่ แต่รถที่มีขนาดเล็กลงราคาก็จะถูกลง เช่น รถตู้ราคาค่าซ่อมแพง ขึ้นแน่ เพราะปัจจุบันขนาดของรถตู้ใหญ่ขึ้น เช่น โตโยต้าคอมมูเตอร์ ราคาค่าซ่อม แพงขึ้นประมาณ 10-15% ส่วนรถที่ราคา ค่าซ่อมกลางถูกลง คือ โตโยต้ายาริส ที่บังโคลนหน้าอาจจะราคาลดลง เพราะขนาดที่เล็กลง แต่กันชนหน้าราคาอาจจะเพิ่มขึ้น เพราะขนาดใหญ่ขึ้น ดังนั้นบอกยากว่าราคาถูก-แพงกว่าเดิมยังไง เพราะขึ้นกับราคาชิ้นงานแต่ละชิ้นด้วยบางชิ้นอาจถูกลง บางชิ้นอาจแพงขึ้น”

อย่างไรก็ดี ราคากลางค่าซ่อมใหม่ดังกล่าว คณะทำงานฯ ไม่ได้เทียบเคียงราคา กับของอู่กลาง แต่เทียบเคียงราคากับค่าซ่อม กลางเดิมของสมาคมฯ เป็นหลัก เพราะไม่อยากให้เกิดความไขว้เขว ซึ่งหากเทียบกับราคาค่าซ่อมกลางเดิมบางรายการอาจจะถูกกว่า บางรายการอาจจะใกล้เคียงกัน 

“ยอมรับว่าเราไม่ได้เทียบเคียงกับราคาของอู่กลางตั้งแต่แรก เพราะเกรงจะทำให้ไขว้เขวในการทำงาน ดังนั้นเราจึงเทียบเคียงกับของเดิมที่สมาคมฯ ได้ทำ มาก่อน แต่หากจะเทียบกับราคาของอู่กลาง ยอมรับว่าของอู่กลางจะแพงกว่า แต่ บางตัวก็ใกล้เคียงกัน เพราะเราไม่ได้นำมาเทียบตั้งแต่ต้น”

แหล่งข่าวรายเดิม กล่าวต่อว่า ราคา ค่าซ่อมกลางใหม่นี้ถือว่าละเอียดมาก เหลือ เพียงการนำเสนอต่อคณะกรรมการประกัน ภัยยานยนต์ชุดใหม่ ซึ่งอาจจะมีการสั่งทบทวน หรืออาจจะนำไปหารือกับอู่กลาง ก่อนก็เป็นได้ แต่คาดว่าภายใน 1-2 เดือน ก็น่าจะได้ประกาศใช้ได้แล้ว

ข้อมูลจาก นสพ.สยามธุรกิจ  ฉบับที่ 993 ประจำวันที่ 2-5-2009  ถึง 5-5-2009

พิมพ์ อีเมล

บทความใกล้เคียงกัน