คำเตือน

JFolder: :files: Path is not a folder. Path: /home/consumer/web/consumerthai.org/public_html/images/action/law61/560129_action_law

แจ้งให้ทราบ

There was a problem rendering your image gallery. Please make sure that the folder you are using in the Simple Image Gallery plugin tags exists and contains valid image files. The plugin could not locate the folder: images/action/law61/560129_action_law

สารีชวนประชาชนเดินหน้าปั่นจักรยาน ให้รัฐผ่านกฎหมายองค์การอิสระฯ

29 ม.ค. 56 มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค จัดเสวนา "มาตรา61(องค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค) ช่วยแก้ปัญหาผู้บริโภคได้อย่างไร" โดยมีนักวิชาการ นักกฎหมายเข้าร่วมเสวนา

 

 

นางสาวสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ผู้ผลักดันกฎหมายองค์การอิสระฯ รายงานความคืบหน้ากฎหมาย ม.61 ว่า 15 ปี ยังไม่มีกฎหมายองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค และเนื่องจากคณะกรรมาธิการร่วมพิจารณาร่างพระราชบัญญัติองค์การอิสระเพื่อ การคุ้มครองผู้บริโภคของทั้งสองสภาได้พิจารณาร่างพรบ.องค์การอิสระเพื่อการ คุ้มครองผู้บริโภคแล้วเสร็จและรอนำสู่การพิจารณาของทั้งสองสภาเพื่อให้การเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบกฎหมายฉบับนี้

“การพิจารณากฎหมายชั้นวุฒิสภาได้แก้ไข 4 ประเด็น ได้แก่ 1) เพิ่มงบประมาณจาก 3 บาทเป็น 5 บาทต่อหัวประชากร 2) เพิ่มองค์ประกอบคณะกรรมการสรรหา จาก 8 เป็น 9 คน โดยมีผู้แทนจากที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยของรัฐ 1 คน เป็นกรรมการสรรหา 3) เพิ่มอายุกรมการจาก 25 ปีเป็น 35 ปี 4) มีบทลงโทษคณะกรรมการองค์การอิสระฯ หากไม่ปฏิบัติหน้าที่

จนสุดท้าย ส.ส.ไม่รับกฎหมายที่แก้ไขของวุฒิสภา จึงตั้งกรรมาธิการร่วมสองสภา 22 คน พิจารณากฎหมายอีกครั้งและได้พิจารณาแล้วเสร็จ 9 ม.ค. 56  ซึ่งสิ่งที่น่า จับตาว่าจะมีการตัดตอนกลไกการคุ้มครองผู้บริโภค ก็คือความพยายามในการลดหรือตัดตอนบทบาทของคณะกรรมการองค์การอิสระฯทั้ง ไม่ให้ตรวจสอบภาคเอกชน (ธุรกิจ) ยกตัวอย่าง แคลิฟอร์เนียฟิตเนส กรณีผิดประกศห้ามรับสมัครสมาชิกเกิน ๑ ปี แต่ทางแคลิฟอร์เนียเปิดรับสมัครสมาชิกตลอดชีพ

ประเด็นไม่ให้มีบทบาทในการเปิดเผยชื่อสินค้าหรือบริการที่ละเมิดสิทธิผู้บริโภค ซึ่งองค์การอิสระฯ ต้องเป็นหน่วยงานที่เข้าไปตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งกรรมาธิการไม่อยากให้ตรวจสอบภาคเอกชน ขณะที่หน่วยงานรัฐไม่สามารถฟ้องหน่วยงานของรัฐด้วยกันได้ แต่ในต่างประเทศ เช่น เวียดนาม อินโดนีเซีย หากสินค้าไม่ได้มาตรฐานนั้นเขาได้นำชื่อสินค้ามาเปิดเผยขึ้นเว็บไซต์  และไม่ให้มีบทบาทส่งเรื่องให้อัยการสูงสูดพิจารณาแต่งตั้งพนักงานฟ้องแทนผู้บริโภค  จากข้อสังเกตคาดว่าร่างกฎหมายฉบับนี้จะไม่ผ่านสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งหากผ่านมาก็คิดว่าอาจไม่เป็นประโยชน์กับผู้บริโภคเท่าที่ควร”

นอกจากนี้ยังเชิญชวนประชาชน ปั่นจักยานรณรงค์ให้รัฐบาลผ่านร่างกฎหมายองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค "ปั่นจักรยาน ถีบกฎหมาย ม.61 องค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค เข้าสภาฯ"  พรุ่งนี้ (30 มกราคม)เวลา  10 โมงเช้า    เส้นทางปั่นจากสวนสันติภาพ พญาไท แยกศรีอยุธยา จตุรทิศ โรงแรมเซ็นต์จูรี่ และกลับสวนสันติภาพ

นางรัศมี วิศทเวทย์   ในฐานะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชนกล่าวว่า องค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคนั้น ทำให้มองเห็นปัญหาผู้บริโภคที่อยู่นอกกรอบ แต่สามารถเชื่อมโยงปัญหาต่างๆ เข้าด้วยกันเพื่อแก้ไขปัญหาได้

“กรณีอำนาจหน้าที่ขององค์การอิสระฯ เรื่องการฟ้องแทนประชาชนนั้นถือเป็นเรื่องที่สำคัญ  และไม่ควรถูกตัดตอน เพราะอำนาจหน้าที่ของรัฐนั้น อย่าง สคบ. ถึงแม้จะมีอำนาจในการฟ้องแทนประชาชนได้  แต่กรณีนี้ประชาชาชนมีปัญหากับหน่วยงานรัฐ ก็จะฟ้องไม่ได้  และถึงแม้ว่าในปัจจุบันจะมีกฎหมายวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภคที่ให้ประชาชนฟ้องเองได้แล้ว ก็ถือเป็นรายเคสไป ประชาชนเองก็ยังต้องไม่มีความรู้กระบวนการทางกฎหมาย การจะตัดตอนอำนาจหน้าที่จึงไม่ควร”

 พร้อมทั้งกล่าวเสริมว่าการกำหนดงบประมาณต่อหัวประชาชน มีความสำคัญเพราะต้องเป็นอิสระจากรัฐบาล และการพิจารณามีการปรับใหม่จาก 5 บาทในชั้นการพิจารณาของวุฒิสภา กลับไปเหลือ 3 บาท ควรมีการพิจารณาเรื่องนี้ด้วย

“กรณีปัญหาแคลิฟอร์เนียว้าว ที่ยังไม่มีใครดูเรื่องสัญญามาตรฐานที่ไม่ทำให้เกิดปัญหาเหล่านี้ขึ้น  ซึ่งหากมีองค์การอิสระฯคน่าจะเป็นประโยชน์และเป็นศูนย์รับเรื่องร้องทุกข์ทุกเรื่องให้กับผู้บริโภคได้” นางรัศมี กล่าว

 

ด้านนายเฉลิมพงษ์  กลับดี  ทนายอาสามูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวถึงกรณีการฟ้องรวมหมู่ แทนผู้บริโภค กรณีปัญหาเดียวกันและสร้างความเดือดร้อนในวงกว้างว่า  การฟ้องรวมหมู่นั้นสำคัญมาก อย่างกรณีบ้านเอื้ออาทรซึ่งเป็นของการเคหะแห่งชาติ ก็จะฟ้องการเคหะฯไม่ได้  เพราะเป็นหน่วยงานของรัฐ การคงไว้ซึ่งหน้าที่ตามมาตรา 19 นั้นที่ให้ฟ้องแทนประชาชนนั้นสำคัญมาก

{gallery}action/law61/560129_action_law{/gallery}

พิมพ์ อีเมล

บทความใกล้เคียงกัน