คำเตือน

JFolder: :files: Path is not a folder. Path: /home/consumer/web/consumerthai.org/public_html/images/law/551210_law_konkan

แจ้งให้ทราบ

There was a problem rendering your image gallery. Please make sure that the folder you are using in the Simple Image Gallery plugin tags exists and contains valid image files. The plugin could not locate the folder: images/law/551210_law_konkan

ผู้บริโภคอีสาน เร่งรัฐออก พ.ร.บ.องค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค มอบเป็นของขวัญปีใหม่

มาคมผู้บริโภคจังหวัดขอนแก่น เรียกร้องให้รัฐบาล เร่งออก พ.ร.บ.องค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค มอบเป็นของขวัญปีใหม่(ปี 2556)ให้กับผู้บริโภคไทย

 

10 ธ.ค. 55 เวลา 10.30 น. ณ บริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย อ.เมือง จ.ขอนแก่น สมาคมผู้บริโภคจังหวัดขอนแก่นและกลุ่มผู้บริโภคที่ได้รับความเดือดร้อนจากด้านต่างๆ รวมตัวกันแถลงข่าวเนื่องในวันรัฐธรรมนูญ  เรียกร้องให้รัฐบาลเร่งออก พ.ร.บ.องค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค มอบเป็นของขวัญปีใหม่(ปี 2556)ให้กับผู้บริโภคไทย

ตลอดระยะเวลาการขับเคลื่อนให้มีองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคนับตั้งแต่รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540(มาตรา 57) จนถึงรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 (มาตรา 61) รวมระยะเวลาจนถึงปัจจุบัน  15 ปี ที่ทางเครือข่ายองค์กรผู้บริโภคทั่วประเทศร่วมผลักดันกันมาก็ยังไม่มีรัฐบาลไหนให้ความสำคัญกับการให้เกิดองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค  ซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน พ.ศ. 2550 เขียนไว้ชัดเจนมากขึ้นในมาตรา 61  ดังนี้

สิทธิของบุคคลซึ่งเป็นผู้บริโภคย่อมได้รับความคุ้มครองในการได้รับข้อมูลที่เป็นความจริง และมีสิทธิร้องเรียนเพื่อให้ได้รับการแก้ไขเยียวยาความเสียหาย รวมทั้งมีสิทธิรวมตัวกันเพื่อพิทักษ์สิทธิผู้บริโภค  ให้มีองค์การเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคที่เป็นอิสระจากหน่วยงานของรัฐซึ่งประกอบด้วยตัวแทนผู้บริโภค  ทำหน้าที่ให้ความเห็นเพื่อประกอบการพิจารณาของหน่วยงานของรัฐในการตรา และการบังคับใช้กฎหมายและกฎ และให้ความเห็นในการกำหนดมาตรการต่างๆ เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค  รวมทั้งตรวจสอบและรายงานการกระทำหรือละเลยการกระทำอันเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคทั้งนี้  ให้รัฐสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินการขององค์การอิสระดังกล่าวด้วย

นายปฏิวัติ  เฉลิมชาติ ผู้จัดการสมาคมผู้บริโภคจังหวัดขอนแก่นกล่าวว่า ที่ผ่านมาองค์กรผู้บริโภคทั่วประเทศ ได้ร่วมมือกันเข้าชื่อเสนอกฎหมาย จำนวน 12,208 รายชื่อต่อประธานรัฐสภาเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2552 ผ่านการรับหลักการกฎหมายวันที่ 5 ตุลาคม 2553 ผ่านการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 20 เมษายน 2554 และเข้าสู่การพิจารณาของวุฒิสภา แต่วันที่ 10 พฤษภาคม 2554 รัฐบาลประกาศยุบสภา  ทำให้การพิจารณากฎหมายต้องยุติลง  ต่อมาวันที่  28  กันยายน  2554 รัฐบาลปัจจุบันได้เสนอให้รัฐสภามีมติเห็นชอบให้วุฒิสภาพิจารณาร่างกฎหมายฉบับนี้ต่อได้ และวุฒิสภาได้เห็นชอบร่าง พ.ร.บ.องค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ...โดยมีการแก้ไข เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2555

วันที่ 5 กันยายน 2555 สภาผู้แทนราษฎรได้มีการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ...กรณีการแก้ไขเพิ่มเติมของวุฒิสภา  โดยสภาผู้แทนราษฎรมีมติไม่เห็นชอบด้วยกับการแก้ไขเพิ่มเติมของวุฒิสภาและตั้งกรรมาธิการร่วมในการพิจารณากฎหมาย จำนวน  22 คน จนถึงปัจจุบันโดยไม่มีหลักประกันใดๆ ว่าจะมีกฎหมายฉบับนี้ออกมาบังคับใช้หรือไม่  เมื่อใด หรือมีแล้วจะไม่ถูกตัดตอนไม่สามารถทำหน้าที่อย่างที่ผู้บริโภคคาดหวัง  ไม่ว่าจะเป็นการตรวจสอบธุรกิจเอกชนในการละเมิดสิทธิผู้บริโภค  การเปิดเผยรายชื่อสินค้าหรือบริการที่ละเมิดสิทธิผู้บริโภค  สามารถส่งเรื่องให้อัยการสูงสุดพิจารณาแต่งตั้งพนักงานอัยการดำเนินคดีตามที่อัยการสูงสุดเห็นสมควร  หรือการสนับสนุนให้ผู้ใช้สิทธิของตนเองเพิ่มขึ้น รวมทั้งการสร้างความเข้มแข็งให้กับเครือข่ายองค์กรผู้บริโภค

ทางด้านนายวัฒนา  บุตุธรรม นายกสมาคมผู้บริโภคจังหวัดขอนแก่น กล่าวว่า จากสถานการณ์ปัญหาผู้บริโภคที่เกิดขึ้นในจังหวัดขอนแก่น  โดยสมาคมผู้บริโภคจังหวัดขอนแก่นได้รับเรื่องร้องเรียนตั้งแต่เดือนมกราคม 2555 จนถึงเดือนพฤศจิกายน 2555 รวม 130  เรื่อง  เรื่องที่ได้รับเรื่องร้องเรียนมาจากมากไปหาน้อย คือ ปัญหาด้านบริการสาธารณะจำนวน 26 เรื่องเช่นเรื่องรถโดยสารสาธารณะไม่ปลอดภัย,  รองลงมาคือเรื่องปัญหาด้านสื่อ-โทรคมนาคม จำนวน 22 เรื่อง ,ปัญหาด้านบริการสุขภาพ-สาธารณสุข จำนวน 21 เรื่อง,ปัญหาด้านประกันภัย จำนวน 21 เรื่อง, ปัญหาด้านสินค้าและบริการทั่วไป จำนวน 12 เรื่อง ,ปัญหาด้านการเงินการคลัง หนี้ จำนวน  11 เรื่อง, ปัญหาด้านอสังหาริมทรัพย์-ที่อยู่อาศัย จำนวน 4 เรื่อง ,ปัญหาด้านอาหารและยา 2 เรื่อง ,ปัญหาด้านแรงงาน 2 เรื่อง และสุดท้ายปัญหาเรื่องอื่นๆ จำนวน  9 เรื่อง  และนับวันปัญหาผู้บริโภคจะสลับซับซ้อน   ยากที่จะแก้ไขเยียวยา ยิ่งจะเข้าสู่ประชาคมอาเซียนโดยไม่มีใครเป็นเกราะกำบัง  จึงจำเป็นต้องมีองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค

นางจิระนันท์  พากเพียร  อุปนายกสมาคมผู้บริโภค  กล่าวถึงประโยชน์ที่ผู้บริโภคจะได้รับเมื่อมีองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค

๑.     มีตัวแทนผู้บริโภคทำหน้าที่เป็นปากเป็นเสียงคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคในการได้รับข้อมูลที่เป็นความจริง

๒.     ให้ความเห็นและบังคับใช้นโยบายเพื่อให้มีการคุ้มครองผู้บริโภคเพิ่มขึ้น เช่นกรณีแร่ใยหินที่พบข้อมูลว่าทำให้เกิดมะเร็งเยื่อหุ้มปอด  ให้มีการยกเลิกใช้ในประเทศ

๓.     ตรวจสอบการทำงานของหน่วยงานรัฐว่าให้การคุ้มครองผู้บริโภคดีพอหรือไม่จากปัญหาในปัจจุบัน

๔.     เป็นหน่วยสนับสนุนผู้บริโภคแบบเบ็ดเสร็จ  การคุ้มครองผู้บริโภคในประเทศมีหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  แม้แต่อยากร้องเรียนปัญหาการละเมิดสิทธิก็ยากที่จะรู้ว่าต้องเดินไปที่ไหน  โทรศัพท์สายด่วนเบอร์อะไร  ยกตัวอย่างง่ายๆ หน่วยงานที่ทำเรื่องอาหารปลอดภัยมี 11 กระทรวง 13  หน่วยงาน

๕.     การจัดให้มีสมัชชาองค์กรผู้บริโภคอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อรับฟังความคิดเห็น ต่อการคุ้มครองผู้บริโภครวมถึงการเสริมสร้างความเข้มแข็งขององค์กรผู้บริโภค

นายกฤติ  ทินบุตร  ผู้เสียหายจากการถูกบังคับให้ทำประกันชีวิต กล่าวว่าตนเองมีปัญหาที่ตัวแทนขายประกันมาบังคับให้ทำประกันชีวิต ต้องการที่จะได้เบี้ยประกันคืน ไปร้องเรียนต่อหลายหน่วยงานก็ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้  ถ้าหากมีองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคนี้เกิดขึ้นก็น่าจะเป็นช่องทางหนึ่งที่จะช่วยแก้ไขปัญหาผู้บริโภคได้

ทางด้านนายพันวรรษา  ถิรธนากร ผู้เดือดร้อนจากการซื้อบ้านเอื้ออาทร  กล่าวว่าปัญหาของตนเมื่อไปซื้อบ้านแล้ว   ผ่อนชำระผิดนัดชำระบางเดือน ต่อมาถูกการเคหะซื้อคืน และมีการบอกเลิกสัญญาโดยไม่มีการบอกกล่าวล่วงหน้า ไปร้องเรียนต่อผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่นหลายท่าน  ไปร้องต่อ สคบ.ขอนแก่น  ไปร้องต่อนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีหลายท่าน ก็ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้  จนสุดท้ายต้องมาพึ่งกระบวนการยุติธรรมเอง ถ้าหากมีองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคเกิดขึ้นคิดว่าจะมาช่วยแก้ไขปัญหาผู้บริโภคได้และฟ้องร้องแทนผู้บริโภคได้ด้วย

ดังนั้น  ในวันนี้เป็นวันรัฐธรรมนูญ  สมาคมผู้บริโภคจังหวัดขอนแก่นและผู้เสียหายจากการซื้อรถใหม่ป้ายแดง,ผู้เสียหายจากหนี้ธนาคาร,ผู้เสียหายจากการทำประกันชีวิต,ผู้เสียหายจากการซื้อบ้านเอื้ออาทร จึงเรียกร้องไปยังรัฐบาลให้เร่งออก พ.ร.บ. องค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคที่ไม่มีความพิกลพิการ  สมบูรณ์ตามแบบฉบับขององค์กรผู้บริโภคเดี๋ยวนี้ (จะให้รอถึง พ.ศ.ไหน)   เพื่อมอบเป็นของขวัญปีใหม่ให้กับผู้บริโภคไทย และผู้บริโภคจะยกย่องท่านว่าเป็นรัฐบาลที่ให้ความสำคัญกับการคุ้มครองผู้บริโภค 

{gallery}law/551210_law_konkan{/gallery}

พิมพ์ อีเมล

บทความใกล้เคียงกัน