บริการสุขภาพ

เครือข่ายผู้ป่วย บุก สปสช. จี้รัฐบาลเร่งแก้ปัญหาจัดซื้อยารวมระดับประเทศ

684260

เครือข่ายผู้ป่วย บุก สปสช. จี้รัฐบาลเร่งแก้ปัญหาจัดซื้อยารวมระดับประเทศ ชี้ข้อสรุป “รองนายกฯ วิษณุ”-รมว.สธ.ที่เชื่อ สตง.มีปัญหาเชิงกฎหมายทำชีวิตผู้ป่วยกว่า 4 แสนแขวนบนเส้นด้ายหลัง กย.นี้

ที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ – เมื่อเวลา 9:30 น.เครือข่ายผู้ป่วยโรคเรื้อรัง นำโดย นายธนพลธ์ ดอกแก้ว ประธานชมรมเพื่อนโรคไตแห่งประเทศไทย และนายอนันต์ เมืองมูลไชย ประธานเครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ประเทศไทย และตัวแทนเครือข่ายอีกกว่า 30 คน ได้เดินทางมาที่ สปสช.เพื่อยื่นหนังสือถึง นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี, นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาธร รัฐมนตรีสาธารณสุขและ นพ.สักดิ์ชัย กาญจนวัฒนา เลขธิการ สปสช. ขอให้ทำความชัดเจนทางกฎหมายของการบริหารจัดการจัดซื้อยารวม 7 ประเภท ภายใต้กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ 2561 และให้เสนอคณะรัฐมนตรีให้ สปสช.ดำเนินการต่อไปก่อน

นายธนพลธ์ ดอกแก้ว ประธานชมรมเพื่อนโรคไตแห่งประเทศไทย แสดงความกังวลต่อมติของบอร์ด สปสช.เสียงข้างที่เป็นผลมาจากการหารือร่วมระหว่างรองนายกฯวิษณุ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข สธ. กรมบัญชีกลาง สปสช. และ สตง. เมื่อวันที่ 15 ส.ค. ที่ผ่านมาว่า การจัดซื้อยาร่วม 7 ประเภทดังกล่าวโดย รพ.ราชวิถี ในช่วงต้นปีงบประมาณ 2561 (ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2560 เป็นต้นไป) จะดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่องหรือไม่ หากมีเหตุขัดข้องหรือดำเนินการไม่ทัน จะเกิดการขาดแคลนยาทั้งประเทศ ซึ่งนั่นหมายถึงชีวิตผู้ป่วยเกือบ 400,000 คนที่ต้องอยู่บนเส้นด้ายนี้

“ยังไม่มีความชัดเจนในแง่ของกฎหมาย ที่ สตง.เสนอให้ขึ้นทะเบียน รพ.ราชวิถีเป็น ‘เครือข่ายหน่วยบริการ’ จัดซื้อยาแทน แต่ตามมาตรา 3 ของ พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 ระบุให้เป็นการรวมตัวของหน่วยบริการกันเอง ไม่ใช่เป็นการบังคับให้ทุกโรงพยาบาลทั้งในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขและนอกสังกัดกระทรวงสาธารณสุขต้องมาเป็น ‘เครือข่ายหน่วยบริการ’ อีกทั้งหน้าที่ของเครือข่ายหน่วยบริการตามกฎหมายก็ไม่ได้กำหนดเรื่องการจัดซื้อยา ไม่เพียงเท่านั้น สตง.ยังเสนอแนะให้ สปสช.ทำผิดจากที่เคยเสนอแนะมา คือการจ่ายเงินไปก่อนที่จะเกิดบริการจริง ซึ่ง สตง.เคยชี้ว่า ทำไม่ได้ นอกจากนี้ยังมีความเกี่ยวพันกับ พ.ร.บ.จัดซื้อจัดจ้างภาครัฐฉบับใหม่ เรื่องการซื้อแทนกัน ที่ต้องรอการออกกฎกระทรวงการคลังตาม พ.ร.บ.ซึ่งต้องใช้เวลา หากเกิดปัญหาจะเกิดการขาดแคลนยาทั้งประเทศ ซึ่งนั่นหมายถึงชีวิตผู้ป่วยเกือบ 400,000 คนที่ต้องอยู่บนเส้นด้ายนี้”

“ผู้ป่วยล้างไตผ่านช่องท้องต้องเผชิญชะตากรรม เพราะหากไม่ได้รับการล้างไตภายใน 3 วัน จะเกิดภาวะน้ำท่วมปอดและเสียชีวิตได้ ปัจจุบันภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติมีผู้ป่วยล้างไตผ่านช่องท้องประมาณ 2.5 หมื่นคน ตรงนี้ต้องถามว่าโรงพยาบาลจะรับไหวหรือไม่ รวมทั้งผู้ป่วยเหล่านี้ต้องเปลี่ยนเป็นการฟอกไตแทน ทั้งเครื่องฟอกไต บุคลากรทางการแพทย์และงบประมาณขณะนี้ต้องถามว่าเพียงพอต่อการรองรับหรือไม่ ซึ่งสุดท้ายผู้ป่วยอาจต้องร่วมจ่ายอีก

นอกจากนี้ผู้ไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายยังต้องรับยาอีริโทรโพอิติน (erythropoietin) ยากระตุ้นเม็ดเลือดแดง หากระบบขาดยา ไม่มียาให้กับผู้ป่วยแล้วเสียชีวิต ตรงนี้ใครจะรับผิดชอบ อยากฝากถึงผู้ใหญ่ว่า อย่าเอาชีวิตผู้ป่วยเป็นเดิมพันเพราะทุกชีวิตก็มีค่า จึงต้องเร่งแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าโดยเร็ว” ประธานชมรมเพื่อนโรคไตกล่าว

ทางด้านนายอนันต์ เมืองมูลไชย ประธานเครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ประเทศไทย ชี้ว่า เดือนกรกฎาคม ปลัดกระทรวงสาธารณสุขยอมรับเองว่าไม่มีความพร้อม ผ่านมาไม่ถึงเดือนจะให้พวกเราเชื่อว่า รพ.ราชวิถีจะมีความพร้อมได้อย่างไร อีกทั้ง ถ้าจะให้ รพ.ราชวิถีดำเนินการได้ ต้องเตรียมการสร้างระบบจัดสรรกำลังคนใหม่ ทำให้ผู้ติดเชื้อฯ ผู้ป่วยโรคเรื้อรังต้องมาเสี่ยงขาดยาโดยไม่มีเหตุอันควร ดังนั้นจึงไม่สมเหตุสมผลเลยที่ไม่ให้ สปสช.ดำเนินการจัดซื้อยารวม เหมือนเช่นที่ทำมาตลอดระยะเวลา 10 ปี

“ดังนั้น เมื่อไม่มีความชัดเจนทั้งในแง่ของกฎหมายและศักยภาพ-ประสิทธิภาพในการบริหารจัดการยา ขอให้รองนายกฯวิษณุ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขทำความชัดเจนทางกฎหมายด้วยการให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตีความ ไม่ใช่เอาความเห็นของ สตง.ที่เป็นหน่วยตรวจสอบมาตีความกฎหมายว่าทำได้หรือทำไม่ได้ โดยระหว่างนี้ ให้เสนอคณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้ สปสช.ดำเนินการไปดังที่เคยเป็นมาผ่านคณะกรรมการฯที่มีการแต่งตั้งโดยรัฐมนตรีจนกว่าจะมีการแก้ไข พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติเพื่อให้ สปสช.สามารถสร้างกลไกเพื่อการบริหารกองทุนนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป”

“ผู้ติดเชื้อเอชไอวีทั่วประเทศที่ต้องรับยาต้านไวรัสมีประมาณ 3 แสนคน โดยคนเหล่านี้ต้องกินยาทุกวัน แม้ว่าผู้ติดเชื้อจะขาดยาได้แต่หากต้องเริ่มต้นกินยาต้านไวรัสใหม่อาจทำให้ค่ารักษาเพิ่มขึ้น เพราะต้องดูว่าสามารถกินยาต้านไวรัสสูตรเดิมได้หรือไม่ มีการดื้อยาแล้วหรือยัง และหากต้องเปลี่ยนยาต้านไวรัสสูตรใหม่ นั่นหมายถึงค่ายาที่เพิ่มขึ้น โดยยาต้านไวรัสสูตรพื้นฐานราคาอยู่ที่ 800-1,000 บาทต่อเดือน แต่ยาต้านไวรัสสูตรดื้อยามีสูงถึง 8,000-10,000 บาท ภาระตรงนี้ใครจะเป็นผู้รับผิดชอบ”

รายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ
ธนพลธ์ ดอกแก้ว 083-8333096
อนันต์ เมืองมูลไชย 081-0256570

684261

684262

พิมพ์ อีเมล

อปสข.กทม.เผยชื่อ รพ.รัฐ-เอกชน รองรับ ปชช. หลัง รพ.ถอนตัวจากบัตรทอง

press pic 290860 web002

 

อปสข.เขตพื้นที่ กทม. ประชุมหารือแนวทางรองรับการให้บริการประชาชนหลัง รพ.เอกชนถอนจากระบบบัตรทอง “หมอสมศรี” ประธาน อปสข.เผย ได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่งจาก รพ.ในแต่ละสังกัดทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อเข้ามาดูแลประชาชน ขอให้ประชาชนวางใจว่าจะได้รับบริการสาธารณสุขที่มีมาตรฐานเหมือนเดิม

วันนี้ (29 ส.ค.60) ณ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ ถ.แจ้งวัฒนะ ศ.เกียรติคุณ พญ.สมศรี เผ่าสวัสดิ์ ประธานอนุกรรมการหลักประกันสุขภาพระดับเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร (อปสข.เขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร) ให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุมว่า การประชุมในวันนี้ คณะอนุกรรมการฯ ได้หารือแนวทางการดูแลประชาชนเพื่อรองรับหลังจาก รพ.มเหสักข์ซึ่งเป็นโรงพยาบาลเอกชนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ได้ลาออกจากการเป็นหน่วยบริการภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง) และ รพ.แพทย์ปัญญา, รพ.บางนา 1, รพ.กล้วยน้ำไท และ รพ.วิภารามปากเกร็ด ซึ่งเป็นหน่วยบริการในระบบไม่ขอเป็นหน่วยรับส่งต่อให้คลินิกชุมชนอบอุ่นบางแห่ง ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2560 เป็นต้นไป 

ศ.เกียรติคุณ พญ.สมศรี กล่าวต่อว่า การหารือครั้งนี้ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดียิ่งจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนเพื่อร่วมให้บริการสุขภาพประชาชนอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็น กระทรวงสาธารณสุข, กระทรวงกลาโหม, กระทรวงศึกษาธิการ, สำนักการแพทย์ สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร และโรงพยาบาลเอกชน รวมถึงหน่วยบริการเอกชนในพื้นที่กรุงเทพมหานครในการเข้ามาดูแลประชาชน จึงขอให้ประชาชนวางใจว่าจะได้รับบริการสุขภาพตามมาตรฐานเหมือนเดิม โดยมี รพ.แต่ละสังกัดได้ตอบรับการให้บริการประชาชนอย่างต่อเนื่องดังนี้

1.รพ.ในสังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร ได้แก่ รพ.กลาง, รพ.เจริญกรุงประชารักษ์ และ รพ.สิรินธร

2.รพ.ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ได้แก่ รพ.เลิดสิน, รพ.นพรัตนราชธานี และ รพ.ราชวิถี 

3.รพ.ในสังกัดกระทรวงกลาโหม ได้แก่ รพ.ภูมิพลอดุลยเดช, รพ.พระมงกุฎเกล้า

4.สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร ได้แก่ ศูนย์บริการสาธารณสุขในพื้นที่

5.โรงเรียนแพทย์ ได้แก่ รพ.วชิรพยาบาล และ รพ.จุฬาลงกรณ์

6.รพ.เอกชน ได้แก่ รพ.มงกุฎวัฒนะ และ รพ.อนันต์พัฒนา 2

7.หน่วยบริการรับส่งต่อ และคลินิกอบอุ่นในพื้นที่กรุงเทพมหานครที่เกี่ยวข้อง

“ประชาชนผู้มีสิทธิบัตรทองที่ รพ.มเหสักข์ และเครือข่ายของ รพ.มเหสักข์ สามารถเข้ารับบริการได้ถึงวันที่ 30 กันยายน 2560 หลังจากนั้น สปสช.เขต 13 กทม.จะดำเนินการเปลี่ยนแปลงหน่วยบริการประจำให้ใหม่ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2560 เป็นต้นไป แต่หากประชาชนไม่สะดวก ก็สามารถขอเปลี่ยนแปลงหน่วยบริประจำได้ตามสถานที่ต่างๆ ได้ ในส่วนคลินิกชุมชนอบอึ่นที่ได้รับผลกระทบจากหน่วยบริการรับส่งต่อนั้น อปสข.เขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร ได้ประสานงานกับ รพ.ต่างๆ ได้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยประชาชนไม่ต้องวิตกกังวล” ศ.เกียรติคุณ พญ.สมศรี กล่าว

ทั้งนี้ สถานที่ที่สามารถขอเปลี่ยนแปลงหน่วยบริการประจำ ดังต่อไปนี้

1) จุดรับลงทะเบียนบัตรทองที่สำนักงานเขต 19 เขต ที่เปิดให้บริการ ให้บริการในวันจันทร์– วันศุกร์ เวลา 08.00 –16.00 น. (สอบถามเขตที่เปิดให้บริการ โทร.1330 หรือตรวจสอบข้อมูลได้ที่http://bkk.nhso.go.th คลิ๊กเลือก สำหรับประชาชน เลือกแผนที่จุดรับลงทะเบียน 27 เขต)

2) จุดรับลงทะเบียนบัตรทอง ที่สถานีรถไฟหัวลำโพง ชั้น 1 ด้านข้างประชาสัมพันธ์ ให้บริการทุกวันเวลา 08.00 – 19.00 น.

เอกสารประกอบการลงทะเบียน ได้แก่ สำเนาบัตรประชาชนเพียงใบเดียว กรณีที่เป็นเด็กใช้สูติบัตรเด็กและสำเนาบัตรประชาชนของผู้ปกครอง

press pic 290860 web003

 

press pic 290860 web001

 

พิมพ์ อีเมล

ผู้ติดเชื้อ HIV หวั่นขาดยาช่วงรอยต่อเปลี่ยนกลไกจัดซื้อ จี้ ‘ปิยะสกล’ ชี้แจงขั้นตอนจัดซื้อยาต้านไวรัสฯ ให้กับทุกโรงพยาบาลทั่วประเทศ

600810 file2ผู้ติดเชื้อเอชไอวีทั่วประเทศร่วมกันรณรงค์ในเฟสบุ๊ค และสื่อสังคมออนไลน์ด้วยการโพสต์รูปและติดแฮชแท็ค #แก้กฎหมายให้สปสชซื้อยา เพื่อทวงถามต่อ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (รมว.สธ.) ถึงความชัดเจนในการดำเนินการจัดซื้อยารวมระดับประเทศ จากการตีความของสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ว่าสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ไม่มีอำนาจจัดซื้อยาและเวชภัณฑ์ ๗ กลุ่ม กว่า ๑๑๐ รายการ ซึ่งรวมถึงยาต้านไวรัสเอชไอวีด้วย

อ่านต่อ

พิมพ์ อีเมล

บทความใกล้เคียงกัน