เผยผลทดสอบวัตถุกันเสียใน ‘ผลิตภัณฑ์หมูยอ’ ส่วนใหญ่ปลอดภัย แนะสังเกตข้อความไม่ใช้วัตถุกันเสียก่อนซื้อ

1D6665C0 B588 40F6 B0D3 5648BE3F9D7B

เผยผลทดสอบวัตถุกันเสียใน ‘ผลิตภัณฑ์หมูยอ’ ส่วนใหญ่ปลอดภัยแต่แนะผู้บริโภคสังเกตข้อความไม่ใช้วัตถุกันเสียก่อนตัดสินใจซื้อร่วมด้วย

วันนี้ (15 เมษายน 2564) นิตยสารฉลาดซื้อและโครงการสนับสนุนระบบเฝ้าระวังสินค้าและบริการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพร่วมกับเครือข่ายองค์กรผู้บริโภคภาคเหนือเปิดเผยผลทดสอบผลิตภัณฑ์หมูยอโดยสุ่มเก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์หมูยอที่วางจำหน่ายตามตลาดสดร้านขายของฝากในจังหวัดภาคเหนือและไฮเปอร์มาร์เก็ตในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลจำนวน 30 ตัวอย่างส่งตรวจวิเคราะห์ปริมาณวัตถุกันเสียประเภทกรดเบนโซอิก (Benzoic acid) และกรดซอร์บิก (Sorbic acid)

สรุปผลการทดสอบพบว่ามีผลิตภัณฑ์หมูยอจำนวน 3 ตัวอย่างที่ตรวจไม่พบสารกันบูดทั้งสองชนิดเลยได้แก่ 1) บิ๊กซีหมูยอ (หมูผสมไก่จากบิ๊กซีสาขาสุขสวัสดิ์.สมุทรปราการ 2) บ้านไผ่หมูยอ (หมูผสมไก่จากบิ๊กซีสาขาสุขสวัสดิ์.สมุทรปราการ  และ 3) .ขอนแก่นหมูยอ (หมูผสมไก่จากบิ๊กซีสาขาสุขสวัสดิ์.สมุทรปราการ

รวมถึงมีผลิตภัณฑ์หมูยอจำนวน 4 ตัวอย่างที่ตรวจพบกรดซอร์บิกแต่ไม่เกินเกณฑ์มาตรฐานได้แก่

1) เอโร่ aro จากสยามแม็คโครสาขาสามเสนกรุงเทพฯพบปริมาณกรดซอร์บิกเท่ากับ 6.34 มก./กก.

2) เซฟแพ็ค Savepak จากสยามแม็คโครสาขาสามเสนกรุงเทพฯพบปริมาณกรดซอร์บิกเท่ากับ 6.68 มก./กก.

3) 444 ตองสี่จากร้านตองสี่.ต๋อม.เมือง.พะเยาพบปริมาณกรดซอร์บิกเท่ากับ 860.23 มก./กก.

4) ป้าปี๋ (ขนาดใหญ่ซองสีแดงเหลือง)  พบปริมาณกรดซอร์บิกเท่ากับ  883.96 มก./กก.

และมีผลิตภัณฑ์หมูยอจำนวน 1 ตัวอย่างที่ตรวจพบกรดซอร์บิกเกินเกณฑ์มาตรฐานได้แก่หมูยอพญาลอตลาดแม่ทองคำ.พะเยาพบปริมาณกรดซอร์บิก 1,652.41 มก./กก.

อย่างไรก็ตามในส่วนของนิตยสารฉลาดซื้อตั้งข้อสังเกตว่าตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 418) .. 2563 เรื่องกำหนดหลักเกณฑ์เงื่อนไขวิธีการใช้และอัตราส่วนของวัตถุเจือปนอาหาร (ฉบับที่ 2) ตามบัญชีหมายเลข 1 แนบท้ายประกาศฯได้กำหนดปริมาณสูงสุดของวัตถุกันเสียประเภทกรดซอร์บิกในหมวดอาหารประเภทผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์บดและผ่านกรรมวิธีไว้โดยอนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 1500 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักอาหาร 1 กิโลกรัมทั้งนี้ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 418) ไม่ได้กำหนดปริมาณของวัตถุกันเสียประเภทกรดเบนโซอิกในอาหารประเภทหมูยอไก่ยอลูกชิ้น (เนื้อวัว,เนื้อหมู,เนื้อไก่ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์บดทำให้สุกโดยใช้ความร้อนเอาไว้ดังนั้นตามข้อกำหนดจึงไม่สามารถใช้วัตถุกันเสียประเภทกรดเบนโซอิกในผลิตภัณฑ์หมูยอได้

รวมทั้งจากการสังเกตเรื่องการแสดงข้อมูลการใช้วัตถุกันเสียบนฉลากผลิตภัณฑ์พบว่าตัวอย่างผลิตภัณฑ์หมูยอทั้ง 27 ตัวอย่างที่ตรวจพบวัตถุกันเสียมีเพียง 11 ตัวอย่างเท่านั้น (ร้อยละ 40.74) ที่แสดงข้อมูลการใช้วัตถุกันเสียบนฉลากผลิตภัณฑ์และจากการสังเกตข้อมูลวันผลิตและวันหมดอายุบนฉลากผลิตภัณฑ์พบว่าตัวอย่างผลิตภัณฑ์หมูยอทั้ง 30 ตัวอย่างมีเพียง 10 ตัวอย่างเท่านั้น (ร้อยละ 33.33) ที่แสดงข้อมูลวันผลิตหรือวันหมดอายุทั้งนี้ผลิตภัณฑ์หมูยอบางตัวอย่างที่วางจำหน่ายในตลาดสดหรือร้านของฝากซึ่งไม่ได้มีการระบุวันผลิตวันหมดอายุอาจเนื่องมาจากเป็นสินค้าที่ผู้ปรุงเป็นผู้จำหน่ายแก่ผู้บริโภคโดยตรงแบบวันต่อวัน

ทั้งนี้จากการตรวจสอบข้อมูลเลขสารบบอาหารพบว่าเลขอย.ที่แสดงบนฉลากผลิตภัณฑ์หมูยอบางตัวอย่างตรวจไม่พบข้อมูลในระบบฐานข้อมูลบนเว็บไซต์ของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาหรือมีชื่อผลิตภัณฑ์หรือสถานที่ผลิตไม่ตรงกับในระบบฐานข้อมูล

ข้อแนะนำในการบริโภคหากเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ของฝากจำพวกหมูยอไก่ยอลูกชิ้นไส้อั่วในเบื้องต้นผู้บริโภคอาจสังเกตข้อมูลบนฉลากสินค้าก่อนตัดสินใจซื้อว่ามีข้อความ “ไม่ใช้วัตถุกันเสีย” หรือไม่โดยหากไม่มีการแสดงข้อมูลการใช้วัตถุกันเสียบนฉลากอาจเป็นสินค้าที่ผลิตและจำหน่ายแบบวันต่อวันซึ่งแม่ค้าปรุงและนำมาขายเองก็ให้สอบถามจากแม่ค้าดูว่ามีการใช้สารกันบูดหรือไม่นอกจากนี้การบริโภคผลิตภัณฑ์แปรรูปจากเนื้อสัตว์ในปริมาณที่พอเหมาะและไม่บ่อยครั้งจนเกินไปเป็นการหลีกเลี่ยงการสะสมสารกันบูดและวัตถุเจือปนอาหารประเภทอื่นๆอีกด้วย


อ่านผลทดสอบฉบับเต็มได้ที่ https://www.chaladsue.com/article/3555/อาหาร-ฉบับที่-236-ผลทดสอบวัตถุกันเสียในผลิตภัณฑ์หมูยอ

พิมพ์ อีเมล

บทความใกล้เคียงกัน