อภ.ผลิตวัคซีนหวัดใหญ่2009ใช้ได้ต.ค.นี้

อภ.เผยวัคซีนไข้หวัดใหญ่ 2009 ราคาเพียงโด๊สละ 200 บาท เริ่มผลิตใช้ 2 ต.ค.นี้

 

นพ.วิทิต อรรถเวชกุล

นพ.วิทิต อรรถเวชกุล ผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม (อภ.) เปิดเผยว่า โรงงานผลิตวัคซีนไข้หวัด ใหญ่ครบวงจรของอภ. จะได้รับเชื้อเป็นสำหรับผลิตวัคซีนไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ชนิดเอ 2009 เอช1เอ็น1 ในวันที่ 2 ก.ค.นี้ และสามารถผลิตใช้ได้ในเดือนต.ค.นี้ ซึ่งตามข้อตกลงและความร่วมมือกับองค์การอนามัยโลก อภ.สามารถผลิตวัคซีนชนิดฉีดพ่นทางจมูกได้ในราคา 200 บาทต่อโด๊ส

ทั้งนี้ ในวันที่ 11 ก.ค. นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี จะเดินทางมาตรวจเยี่ยมห้องปฏิบัติการ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร จ.นครปฐม ซึ่งเป็นโรงงานนำร่องที่มีการผลิตวัคซีนไข้หวัดใหญ่ครบวงจร ซึ่งคาดว่าองค์การอนามัยโลกจะตรวจให้การรับรองมาตรการผลิตที่ดีขององค์การอนามัยโลกให้กับโรงงานของอภ. เป็นแห่งแรกของไทย

“ขณะนี้มีโรงพยาบาลเอกชนหลายแห่งติดต่อขอซื้อวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลกับอภ. เนื่องจากขณะนี้มีการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ทำให้ประชาชนตื่นตัวในการป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ แม้วัคซีนดังกล่าวจะไม่สามารถป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ข้ามสายพันธุ์ได้ก็ตาม” นพ.วิทิต กล่าว

อย่างไรก็ตาม วัคซีนดังกล่าว จะต้องสั่งจองล่วงหน้า ซึ่งอภ. ได้ ส่งมอบวัคซีนไข้หวัดใหญ่ที่กรมควบคุมโรคสั่งจองกระจายไปยังโรงพยาบาลต่างๆ ในสังกัดหมดแล้ว จึงไม่เหลือวัคซีนอยู่ในสต๊อก แต่หากประชาชนมีความนิยมในการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่เพิ่มขึ้น ในปีหน้าอาจจะมีการสั่งจองวัคซีนไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลเพิ่มอีก 5,000-1 หมื่นโด๊ส



ด้านพญ.กิติมา ยุทธวงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสมาคม ผู้วิจัยและผลิตเภสัชภัณฑ์ (พรีมา) กล่าวว่า ทราบข่าวจากบริษัทยาต่างประเทศที่เป็นสมาชิกของพรีมาว่า ในช่วงเดือนก.ย.นี้ วัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 จะผลิตสำเร็จแล้ว โดยมีบริษัทที่วิจัยสำเร็จและผลิตได้ประมาณ 4-5 แห่ง

“ในจำนวนนี้ทางบริษัทยาที่ผลิตได้จะร่วมบริจาควัคซีนดังกล่าวให้กับองค์การอนามัยโลกนำไปรักษาประชากรในประเทศต่าง 150 ล้านโดส” พญ.กิติมา กล่าว

สำหรับยอดผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 เมื่อวานนี้เพิ่มขึ้น 69 ราย ในจำนวนนี้เป็นนักเรียน 60 ราย เป็นผู้ป่วยรายใหม่ 8 ราย และเดินทางกลับมาจากต่างประเทศ 1 ราย รวมทั้งหมดติดเชื้อแล้ว 774 ราย ในจำนวนนี้มีผู้ป่วยอาการหนัก 1 ราย ที่รักษาตัวอยู่ในห้องไอซียู

นสพ.โพสต์ทูเดย 23/6/52

พิมพ์ อีเมล

อย.เร่งทำความเข้าใจแพทย์-เภสัชเปิดใจรับยาสามัญ

อย.รุกประชุมสร้างความเข้าใจให้แพทย์-เภสัช เปิดใจรับยาสามัญ ยันปลอดภัยได้มาตรฐาน ไม่ต้องห่วงละเมิดสิทธิบัตร ไม่เกี่ยวกับแพทย์-เภสัชฯ กลัวเกินเหตุตกเป็นเครื่องมือกีดกันยาสามัญมีคุณภาพเข้ามาใช้ใน รพ.

อ่านต่อ

พิมพ์ อีเมล

กินกะปิ แนะทำให้สุกก่อนประกอบอาหาร

สสจ.ระนอง ตรวจพบเชื้อจุลินทรีย์ในกะปิ แนะทำให้สุกก่อนประกอบอาหาร
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดระนอง เผยผลการตรวจวิเคราะห์ตัวอย่างกะปิ พบเชื้อจุลินทรีย์สาเหตุโรคอาหารเป็นพิษหลายชนิด แนะวิธีรับประทานให้ปลอดภัยด้วยการทำกะปิให้สุก ความร้อน 60 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 10 นาที
นายแพทย์ธงชัย กีรติหัตถยากร นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดระนอง เปิดเผยว่า “กะปิ” หรือ “เคย” หากเก็บรักษาไว้นานและนำมาบริโภคไม่ถูกต้องอาจได้รับเชื้อจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรคอาหารเป็นพิษได้

จากการดำเนินงานเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านอาหารโดยสุ่มเก็บตัวอย่างกะปิในจังหวัดระนองส่งตรวจวิเคราะห์คุณภาพมาตรฐาน ณ ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ สุราษฎร์ธานี ผลปรากฏว่าส่วนใหญ่พบเชื้อจุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุให้เกิดโรคอาหารเป็นพิษหลายชนิด ซึ่งกะปิที่เก็บไว้นานโดยไม่ได้แช่เย็น หรือแช่ในที่มีความเย็นไม่เพียงพอ ทำให้เชื้อจุลินทรีย์เจริญเพิ่มจำนวนมากขึ้น และเมื่อนำมาบริโภคก็จะก่อให้เกิดอาการเจ็บป่วย ได้แก่ ปวดและเกร็งที่ช่องท้อง ท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย

สำหรับวิธีการนำกะปิมารับประทานควรทำกะปิให้สุกเสียก่อนโดยการทอด ย่าง ปิ้ง หรือคั่ว ก็ได้ ด้วยความร้อน 60 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 10 นาที วิธีการเลือกซื้อกะปิที่ปลอดภัยให้เลือกซื้อกะปิที่มีลักษณะ ดังนี้ สีควรเป็นสีตามธรรมชาติ คือ สีน้ำตาลเข้มถึงน้ำตาลแดง ไม่ซื้อชนิดที่มีสีแดงเข้มหรือสีม่วงอมแดง ลักษณะภายนอกสังเกตว่าเก่าหรือมีความชื้นสูงหรือไม่ เนื้อกะปิต้องละเอียดเป็นเนื้อเดียวกัน เหนียว และไม่แห้งหรือเปียกเกินไป ควรมีกลิ่นหอมตามธรรมชาติของกะปิ ไม่มีกลิ่นคาว กลิ่นฉุนของแอมโมเนีย กลิ่นสาบหรือกลิ่นอับ รสชาติต้องมีรสเค็มกลมกล่อม ไม่มีรสขม
 
สนข.กรมประชาสัมพันธ์ 18 มิ.ย. 2552

พิมพ์ อีเมล

บทความใกล้เคียงกัน