เรกูเลเตอร์เช็คต้นทุน"แอลเอ็นจี"ปตท. ก่อนเคาะค่าปั๊ม-อิตัลฯขายไฟทวายให้ไทย

นายกวิน ทังสุพานิช เลขาธิการคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน(เรกูเลเตอร์) กล่าวว่า เรกูเลเตอร์อยู่ระหว่างพิจารณารายละเอียดต้นทุนของ บมจ.ปตท. ที่เป็นผู้ลงทุนและนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว(แอลเอ็นจี) เพื่อใช้กำหนดค่าสถานีแอลเอ็นจี ซึ่งต้องเสร็จก่อนการนำเข้าและเปิดจำหน่ายช่วงเดือนเมษายน 2554 โดยยอมรับว่าอาจทำให้ต้นทุนราคาก๊าซธรรมชาติเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ส่วนจะเพิ่มขึ้นเพียงใดต้องดูว่ามีการนำเข้ามากเพียงใด

ส่วนโรงไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่(ไอพีพี) ทั้ง 4 แห่ง คือ 1.โรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติบางคล้า 2.โรงไฟฟ้าถ่านหินเนชั่นแนล เพาเวอร์ซัพพลาย 3.โรงไฟฟ้าก๊าซหนองแซง และ 4.โรงไฟฟ้าถ่านหินของ บมจ.โกลว์พลังงาน เบื้องต้นมีเพียงโรงไฟฟ้าของกลุ่มโกลว์ในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดที่ต้องทำ รายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ(อีเอชไอเอ) เพิ่มเติม แต่โกลว์มั่นใจว่าจะส่งไฟฟ้าเข้าระบบตามสัญญาในปลายปี 2554 ส่วนอีก 3 แห่งคาดว่าจะล่าช้ากว่าแผนทั้งหมด ซึ่งอาจมีผลให้ปริมาณสำรองไฟฟ้าลดต่ำลงได้ ด้านนายสุทัศน์ ปัทมสิริวัฒน์ ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) กล่าวว่า กลุ่มบริษัทอิตัลไทยที่ได้สิทธิพัฒนานิคมอุตสาหกรรมทวายในพม่า ได้เสนอขอจำหน่ายไฟฟ้าที่ผลิตจากถ่านหินของโครงการทวายแก่ไทย 1,800 เมกะวัตต์ ซึ่งขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐบาลว่าจะเห็นด้วยหรือไม่ โดยการรับซื้อไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้านในภาพรวมต้องไม่เกิน 20% ไม่เช่นนั้นจะเกิดความเสี่ยงที่จะพึ่งพาต่างชาติมากเกินไป ถ้ากระทรวงพลังงานตัดสินใจรับซื้อไฟฟ้าทวายก็ต้องเข้าระบบหลังปี 2560


ทั้งนี้ กฟผ.อยู่ระหว่างพิจารณาเสนอเพิ่มทุนบริษัท กฟผ.อินเตอร์เนชั่นแนล บริษัทลูกที่ กฟผ.ถือหุ้นทั้งหมด โดยจะเพิ่มทุนเป็นวงเงิน 10,000 ล้านบาท เพื่อจะได้มีวงเงินไปเจรจาซื้อหุ้น หรือเพิ่มทุนกิจการต่างประเทศที่พิจารณาอยู่ 10 โครงการ และเพื่อความรวดเร็วในการทำธุรกิจ เพราะถ้าลงทุนได้เร็วก็จะเป็นผลดีต่อไทย ทั้งเสริมสร้างรายได้ และเสริมความมั่นคงด้านพลังงาน

นสพ.แนวหน้า
วันที่ 30/11/2010

 

 

ส่วนโรงไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่(ไอพีพี) ทั้ง 4 แห่ง คือ 1.โรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติบางคล้า 2.โรงไฟฟ้าถ่านหินเนชั่นแนล เพาเวอร์ซัพพลาย 3.โรงไฟฟ้าก๊าซหนองแซง และ 4.โรงไฟฟ้าถ่านหินของ บมจ.โกลว์พลังงาน เบื้องต้นมีเพียงโรงไฟฟ้าของกลุ่มโกลว์ในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดที่ต้องทำ รายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ(อีเอชไอเอ) เพิ่มเติม แต่โกลว์มั่นใจว่าจะส่งไฟฟ้าเข้าระบบตามสัญญาในปลายปี 2554 ส่วนอีก 3 แห่งคาดว่าจะล่าช้ากว่าแผนทั้งหมด ซึ่งอาจมีผลให้ปริมาณสำรองไฟฟ้าลดต่ำลงได้ ด้านนายสุทัศน์ ปัทมสิริวัฒน์ ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) กล่าวว่า กลุ่มบริษัทอิตัลไทยที่ได้สิทธิพัฒนานิคมอุตสาหกรรมทวายในพม่า ได้เสนอขอจำหน่ายไฟฟ้าที่ผลิตจากถ่านหินของโครงการทวายแก่ไทย 1,800 เมกะวัตต์ ซึ่งขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐบาลว่าจะเห็นด้วยหรือไม่ โดยการรับซื้อไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้านในภาพรวมต้องไม่เกิน 20% ไม่เช่นนั้นจะเกิดความเสี่ยงที่จะพึ่งพาต่างชาติมากเกินไป ถ้ากระทรวงพลังงานตัดสินใจรับซื้อไฟฟ้าทวายก็ต้องเข้าระบบหลังปี 2560

ทั้ง นี้ กฟผ.อยู่ระหว่างพิจารณาเสนอเพิ่มทุนบริษัท กฟผ.อินเตอร์เนชั่นแนล บริษัทลูกที่ กฟผ.ถือหุ้นทั้งหมด โดยจะเพิ่มทุนเป็นวงเงิน 10,000 ล้านบาท เพื่อจะได้มีวงเงินไปเจรจาซื้อหุ้น หรือเพิ่มทุนกิจการต่างประเทศที่พิจารณาอยู่ 10 โครงการ และเพื่อความรวดเร็วในการทำธุรกิจ เพราะถ้าลงทุนได้เร็วก็จะเป็นผลดีต่อไทย ทั้งเสริมสร้างรายได้ และเสริมความมั่นคงด้านพลังงาน

วันที่ 30/11/2010

พิมพ์ อีเมล

บทความใกล้เคียงกัน