คำเตือน

JFolder: :files: Path is not a folder. Path: /home/consumer/web/consumerthai.org/public_html/images/action/550621_t.v.uro

แจ้งให้ทราบ

There was a problem rendering your image gallery. Please make sure that the folder you are using in the Simple Image Gallery plugin tags exists and contains valid image files. The plugin could not locate the folder: images/action/550621_t.v.uro

ผู้บริโภคยื่นเรื่องผู้ตรวจการแผ่นดินสอบ กสท.ไม่ปฏิบัติหน้าที่แก้ปัญหาจอดำ

21 มิ.ย.55  สหพันธ์องค์กรผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค นำโดยสารี  อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เข้ายื่นหนังสือต่อประธานผู้ตรวจการแผ่นดินและคณะ ขอให้ตรวนจอบการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด และอาจจะเข้าข่ายการละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ของกสท. จนทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้บริโภค (ยกเว้นนางสาวสุภิญญา กลางณรงค์)

 

ในความจดหมายระบุว่า

เรื่อง ขอให้ตรวจสอบการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด และอาจจะเข้าข่ายการละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ของกสท.

จนทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้บริโภค (ยกเว้นนางสาวสุภิญญา กลางณรงค์)

เรียน ประธานผู้ตรวจการแผ่นดินและคณะ

สิ่งที่ส่งมาด้วย สำเนาหนังสือของสหพันธ์องค์กรผู้บริโภค ลงวันที่ ๘ มิถุนายน ๒๕๕๕

และวันที่ ๑๒ มิถุนายน ๒๕๕๕

 

ตามที่สหพันธ์องค์กรผู้บริโภคและองค์กรผู้บริโภคจำนวน ๓๐๒ องค์กร ได้ยื่นข้อเรียกร้องให้คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) มีมติโดยเร่งด่วนเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคให้สามารถดูการถ่ายทอดสดการแข่งขันฟุตบอลยูโร โดยขอให้มีคำสั่งทางปกครองกับช่อง ๓, ๕ และ ๙ บริษัทแกรมมี่  ตรวจสอบการดำเนินการของการสื่อสารแห่งประเทศไทย ตลอดจนสนับสนุนการดำเนินการเพื่อให้เกิดการเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นจริงจากบริษัททรู

แต่คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) ไม่ได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนแผนแม่บทกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์แห่งชาติ ทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้บริโภคจำนวนไม่น้อยกว่า ๑๐ ล้านครัวเรือน และอาจจะเข้าข่ายการละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ของ กสท. ยกเว้นนางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ ที่เป็นกรรมการ กสท. เสียงข้างน้อยที่สนับสุนนการดำเนินการตามมติของสหพันธ์องค์กรผู้บริโภคและได้สงวนความเห็นเสียงข้างน้อยไว้ ซึ่งการไม่ดำเนินการดังกล่าวอาจจะเข้าข่ายการไม่ปฏิบัติหน้าที่ หลายประการดังนี้

๑.       การดำเนินการของ กสท. อาจจะถือเป็นการละเมิดหลักการพื้นฐานตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๔๗ ที่ระบุว่าในการให้บริการสื่อสาธารณะนั้น จะต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับชาติ ในด้านการศึกษา วัฒนธรรม ความมั่นคงของชาติ ประโยชน์สาธารณะอื่นๆ และการแข่งขันที่เสรีและเป็นธรรม

๒.     การไม่ดำเนินการกับสถานีโทรทัศน์ ช่อง ๓, ๕ และ ๙ ที่อาจจะเข้าข่ายละเลยพระ ราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจาย เสียงวิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ มาตรา ๒๗ (๑๓) ให้กสท. คุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนมิให้ถูกเอาเปรียบจากผู้ประกอบกิจการและ คุ้มครองสิทธิในความเป็นส่วนตัวและเสรีภาพของบุคคลในการสื่อสารถึงกันโดยทาง โทรคมนาคม และส่งเสริมสิทธิเสรีภาพและความเสมอภาคของประชาชนในการเข้าถึงและใช้ ประโยชน์คลื่นความถี่ที่ใช้ในกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม

๓.      อาจจะเข้าข่ายละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๓๑ วรรคสองต่อบริษัทแกรมมี่ “ในกรณีที่ผู้ประกอบกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ หรือกิจการโทรคมนาคมดำเนินการใดๆในประการที่น่าจะเป็นการเอาเปรียบผู้บริโภคโดยอาศัยการใช้เครือข่ายหรือการโฆษณาอันมีลักษณะเป็นการค้ากำไรเกินควร หรือก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญ ไม่ว่าด้วยวิธีการใดตามหลักเกณฑ์ที่กสทช.กำหนด ให้กสทช.มีอำนาจสั่งระงับการดำเนินการดังกล่าวได้

๔.      รวมทั้งสามารถมีคำสั่งให้ฟรี ทีวี ช่อง ๓, ๕ และ ๙ ระงับการดำเนินการในประการที่น่าจะเป็นการเอาเปรียบผู้บริโภค โดยให้ทำการแพร่ภาพและเสียงรายการถ่ายทอดสดฟุตบอลยูโร ๒๐๑๒ ผ่านระบบการส่งทางภาคพื้นดินและทางอากาศโดยผ่านระบบจานรับสัญญาณดาวเทียม หรือดำเนินการใดๆ เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับชมผ่านการรับสัญญาณทุกประเภทตามที่เคยปฏิบัติ  โดยด่วนที่สุด

๕.      อาจจะเข้าข่ายการละเลยและไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ในการออกคำสั่งทางปกครองกับช่อง ๓, ๕ และ ๙ ในฐานะผู้มีสิทธิประกอบกิจการ เมื่อสถานีฯ ดังกล่าว หยุดให้บริการสาธารณะในบางช่องทางที่ดำเนินการอยู่ตามปกติ ในบางช่วงเวลาหรือมีการออกอากาศเพียงบางช่องทาง จึงเป็นการขัดต่อแผนแม่บทกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ รวมทั้งอาจขัดต่อมาตรา ๒๗ (๑๓) ในการส่งเสริมสิทธิเสรีภาพและความเสมอภาคของประชาชนในการเข้าถึงและใช้ประโยชน์คลื่นความถี่ที่ใช้ใน


กิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ หรือแม้แต่ กสทช. จะยังมิได้กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจัดทำผังรายการสำหรับใบอนุญาตแต่ละประเภทไว้ก็ตาม แต่การที่ผู้ประกอบกิจการจะเปลี่ยนแปลงผังรายการจากเดิมก็จะต้องแจ้งให้ กสทช. พิจารณาก่อนตามมาตรา ๓๔ แห่งพระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. ๒๕๕๑                  ซึ่งการถ่ายทอดสดฟุตบอลยูโร ๒๐๑๒ เป็นการเปลี่ยนแปลงผังรายการจากผังรายการเดิมของสถานีวิทยุโทรทัศน์  ช่อง ๓, ๕ และ ๙ ซึ่งได้มีข้อตกลงกับบริษัทในเครือแกรมมี่ล่วงหน้าเป็นเวลานาน

๖.       อาจ จะเข้าข่ายการละเลยหรือยกเว้นการดำเนินการตามมาตรา๓๒ ต่อการกระทำอันเป็นการผูกขาด ลด หรือจำกัดการแข่งขันในการประกอบกิจการกระจายเสียง หรือกิจการโทรทัศน์ ให้หมายรวมถึงการถือครองธุรกิจในกิจการที่เกี่ยวเนื่องกันในการใช้วัสดุหรือ อุปกรณ์ติดตั้งเป็นพิเศษเพื่อรับสัญญาณเสียงหรือภาพในลักษณะที่กีดกันการ แข่งขันอย่างเป็นธรรม

๗.      อาจจะละเลยการตรวจสอบอันเป็นประโยชน์ต่อการคุ้มครองผู้บริโภค ในการตรวจสอบผู้รับใบอนุญาต คือการสื่อสารแห่งประเทศไทย (กสท.) หากไม่มีการขออนุญาต เนื่องจากร่วมมือกับเอกชนในการส่งและตัดสัญญาณ ทำให้เอกชนบางรายได้ประโยชน์ และทำให้ผู้บริโภคไม่สามารถเข้าถึงบริการฟรีทีวีในครั้งนี้ อาจเข้าข่ายสมคบกระทำความผิดด้วย

 

ในการนี้ สหพันธ์องค์กรผู้บริโภคและเครือข่ายองค์กรผู้บริโภค ๓๐๒ องค์กร จึงได้เรียนมายังท่านและคณะ ให้ดำเนินการตรวจสอบการไม่ปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญและกฎหมายอย่างเคร่งครัด และอาจจะเข้าข่ายการละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ของ กสท. (ยกเว้นนางสาวสุภิญญา กลางณรงค์)  จนทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้บริโภคจำนวนมากและกว้างขวางทั่วประเทศ เพื่อให้ประชาชนผู้บริโภคได้รับบริการสาธารณะอย่างทั่วถึงจากฟรีทีวีในการถ่ายทดสดฟุตปลยูโร ๒๐๑๒

{gallery}action/550621_t.v.uro{/gallery}

พิมพ์ อีเมล