คำเตือน

JFolder: :files: Path is not a folder. Path: /home/consumer/web/consumerthai.org/public_html/images/emouth/action/540809web

แจ้งให้ทราบ

There was a problem rendering your image gallery. Please make sure that the folder you are using in the Simple Image Gallery plugin tags exists and contains valid image files. The plugin could not locate the folder: images/emouth/action/540809web

คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคสื่อภาคประชาชน ท้วงป้ายให้ความรู้รังนกไม่ผิดจรรยาบรรณ

เครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคสื่อภาคประชาชน ทักท้วงคณะกรรมการจรรยาบรรณวิชาชีพโฆษณา สมาคมโฆษณาแห่งประเทศไทย ชี้ป้าย “รังนกสำเร็จรูปชื่อดัง ใส่รังนกแท้ แค่ 1% เศษ” ไม่ละเมิดจรรยาบรรณวิชาชีพการโฆษณา เหตุไม่เข้าข่ายเป็นโฆษณาตามกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค ถือเป็นการสื่อสารสาธารณะให้ความรู้ที่เป็นประโยชน์แก่ผู้บริโภคสมควรได้รับ การยกย่อง

วันนี้(9 สิงหาคม 2554) ตัวแทนคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคสื่อภาคประชาชน อันประกอบด้วย นางสาวสารี  อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค  , ดร.เอื้อจิต วิโรจน์ไตรรัตน์  ผู้อำนวยการบริหารมูลนิธิสื่อมวลชนศึกษา   นายอิทธิพล ปรีติประสงค์  สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล และนางสาวบุญยืน  ศิริธรรม ประธานสหพันธ์องค์กรผู้บริโภค ได้ร่วมกันแถลงข่าว ต่อกรณีที่สมาคมโฆษณาแห่งประเทศไทย ได้รับพิจารณาเรื่องร้องเรียนจากบริษัท เซเรบอส (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ผลิตเครื่องดื่มรังนกสำเร็จรูป เกี่ยวกับป้ายข้อความ “ผลงานวิจัย ม.มหิดล รังนกสำเร็จรูปชื่อดัง ใส่รังนกแท้ แค่ 1% เศษ” ที่ติดอยู่หน้าจุดจ่ายเงินค่าทางด่วน ซึ่งจัดทำโดยนายเธียร ลิ้มธนากุล กรรมการผู้จัดการบริษัท ลีดดิ้ง อินเตอร์เนชั่นแนล มีเดีย จำกัด โดยบริษัท เซเรบอส กล่าวหาว่าการกระทำดังกล่าว  ถือเป็นการกระทำที่ผิดจรรยาบรรณการโฆษณาอย่างร้ายแรง และจงใจกล่าวโทษหรือบิดเบือนความจริงอันก่อให้เกิดผลกระทบในเชิงลบต่อผู้ผลิตในอุตสาหกรรมเครื่องดื่มรังนกแท้สำเร็จรูป

ต่อมา คณะกรรมการจรรยาบรรณวิชาชีพโฆษณา สมาคมโฆษณาแห่งประเทศไทย ได้มีการประชุมเพื่อพิจารณากรณีดังกล่าวเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคมที่ผ่านมา และมีมติเอกฉันท์เห็นว่า ข้อความในป้ายโฆษณาดังกล่าว เป็นการโฆษณาไม่ตรงกับข้อเท็จจริงในผลการวิจัยที่มีการอ้างอิงถึง และเห็นว่า ป้ายโฆษณาดังกล่าวกระทำผิดจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพโฆษณา ข้อ 5 ... “ไม่ควรกระทำการโฆษณาอันทำให้เกิดความสำคัญผิดในสาระสำคัญเกี่ยวกับสินค้า บริการ การแสดง หรืออื่นๆ หรือโอ้อวดสรรพคุณเกินความจริงจนทำให้ผู้เห็นหรือผู้ฟังเกิดความสำคัญผิด” และให้นายเธียร ลิ้มธนากุล แก้ไขข้อความในป้ายโฆษณาดังกล่าว

ดร.เอื้อจิต วิโรจน์ไตรรัตน์  ผู้อำนวยการบริหารมูลนิธิสื่อมวลชนศึกษา กล่าวว่า การนำเสนอข้อความในป้ายโฆษณาดังกล่าว ไม่ได้เป็นการนำเสนอข้อมูลเพื่อกล่าวร้ายใคร แต่เป็นการนำเสนอและเผยแพร่ข้อมูลซึ่งเป็นข้อเท็จจริงในลักษณะของการให้การศึกษาเพื่อสาธารณะกับผู้ที่ได้เห็นข้อความนี้ ซึ่งสถาบันการศึกษาที่ถูกอ้างชื่อถึงในป้ายโฆษณานี้ก็ไม่ควรใช้มิติทางด้านกฎหมายเข้ามาเกี่ยวข้อง โดยเข้าใจว่าเป็นการกระทำเพื่อผลประโยชน์ทางธุรกิจและทำให้สถาบันได้รับความเสียหายและจะไปดำเนินการทางกฎหมาย เพราะข้อมูลวิชาการที่เป็นผลงานของมหาวิทยาลัยก็ถือเป็นสมบัติสาธารณะที่ประชาชนควรจะได้รับทราบ  ซึ่งเราควรจะส่งเสริมให้ประชาชนและภาคเอกชนมีความตื่นตัวในการสร้างพื้นที่สื่อสารข้อมูลความรู้ที่เป็นประโยชน์กับผู้บริโภคในพื้นที่สาธารณะในลักษณะนี้ให้มากขึ้น ไม่ควรใช้เพื่อผลประโยชน์ทางธุรกิจแต่เพียงอย่างเดียว

ในขณะที่ นายอิทธิพล ปรีติประสงค์  ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายสื่อ กล่าวว่า จะถือว่าป้ายข้อความที่กล่าวถึงนี้เป็นการโฆษณาหรือไม่ ต้องดูตามคำนิยามของ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 ซึ่งให้ความหมายของการโฆษณาไว้ว่า หมายถึง การกระทำด้วยวิธีการใดๆ ให้ประชาชนเห็นหรือทราบข้อความเพื่อประโยชน์ในทางการค้า แต่จากข้อเท็จจริงในกรณีนี้ไม่พบว่าเป็นการกระทำเพื่อผลประโยชน์ทางการค้าแต่อย่างใด จึงไม่เข้าใจว่าเหตุใดคณะกรรมการจรรยาบรรณวิชาชีพโฆษณา สมาคมโฆษณาแห่งประเทศไทย ถึงมีมติเห็นว่า การแสดงข้อความในป้ายโฆษณาในลักษณะนี้เป็นการกระทำที่ผิดจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพโฆษณาได้

นายอิทธิพล กล่าวเพิ่มเติมว่า การทำป้ายประชาสัมพันธ์ข้อมูลในลักษณะนี้อยู่ในข้อยกเว้นไม่ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ผลงานวิชาการของมหาวิทยาลัยแต่อย่างใด ตามข้อยกเว้นของ พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 32 (4)  เพราะเป็นการเสนอรายงานข่าวทางสื่อสารมวลชนโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานนั้น อีกทั้งเห็นว่า ไม่น่าจะเข้าข่ายการกระทำผิดในเรื่องหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณาด้วย เนื่องจากไม่เห็นว่ามหาวิทยาลัยที่ถูกอ้างชื่อจะเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชังได้อย่างไร เพราะการนำผลงานวิชาการของมหาวิทยาลัยมาเผยแพร่ให้ความรู้สู่ประชาชนนั้นสมควรที่จะได้รับการเชิดชูยกย่องเสียมากกว่า

นางสาวสารี  อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค  กล่าวว่า  เมื่อช่วงปลายเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา มูลนิธิฯได้มีหนังสือถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ที่สำคัญคือ สมาคมโฆษณาแห่งประเทศไทย  เพื่อขอให้ทบทวนผลการพิจารณาว่าด้วยเรื่องจรรยาบรรณวิชาชีพโฆษณา  และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เพื่อขอให้ทบทวนการอนุญาตใช้ข้อความ “รังนกแท้ 100%) ที่อาจทำให้ผู้บริโภคเกิดความสับสนได้

ซึ่งล่าสุด ดร.นิวัต  วงศ์พรหมปรีดา เลขาธิการสมาคมโฆษณาแห่งประเทศไทยได้มีหนังสือตอบกลับมายังมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2554 แจ้งว่า คณะกรรมการจรรยาบรรณไม่สามารถพิจารณาทบทวนมติดังกล่าวได้ เพราะถือเป็นการแจ้งเรื่องอุทธรณ์พ้นจากกำหนด 5 วันทำการนับจากวันที่ได้รับแจ้งผลการพิจารณา อีกทั้ง คณะกรรมการบริหารสมาคมโฆษณาแห่งประเทศไทย มีความเห็นว่า ป้ายข้อความว่า “ผลงานวิจัย ม.มหิดล รังนกสำเร็จรูปชื่อดัง ใส่รังนกแท้แค่ 1% เศษ” ที่มีการร้องเรียนนี้ เป็นการอ้างอิงผลการวิจัยไม่ตรงกับข้อเท็จจริงในรายงานผลการวิจัยที่มุ่งเน้นวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการเป็นสำคัญ ส่วนปริมาณส่วนประกอบรังนกที่อ้างถึงนั้น เป็นข้อมูลที่ปรากฏบนฉลากผลิตภัณฑ์ที่พบเห็นได้โดยทั่วไป ดังที่มูลนิธิฯได้พบจากการตรวจสอบข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้อง ข้อมูลดังกล่าวจึงไม่ใช่ผลการวิจัยที่อ้างถึง

อย่างไรก็ตาม หากคณะกรรมการอาหารและยามีผลพิจารณาการใช้ข้อความ “รังนกแท้ 100%” ในโฆษณาเป็นอย่างอื่น  สมาคมฯพร้อมให้ความร่วมมือในการประสานงานเพื่อแจ้งให้สมาชิกทราบต่อไป



{gallery}emouth/action/540809web{/gallery}

 

พิมพ์ อีเมล

บทความใกล้เคียงกัน