อย่ายอมให้ ปตท. มัดมือชก ขึ้นราคาเอ็นจีวี ตามใจชอบ

การชุมนุมปิดถนนวิภาวดี บริเวณหน้าตึกปตท. และกระทรวงพลังงาน ของผู้ประกอบการรถขนส่ง และรถเมล์รว่ม เพื่อต่อต้านการขึ้นราคา ก๊าซเอ็นจีวี เมื่อวานนี้ แม้จะทำให้การจราจรติดขัด ทำความเดือดร้อนให้กับประชาชนที่จำเป็นต้องเดินทางผ่านบริเวณนั้น แต่ก็เป็นวิธีเดียวที่จะทำให้รัฐบาลยอมรับฟัง ความต้องการชองพวกเขา

หลังจากที่คณะรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร ซึ่งหาเสียงไว้ว่า จะกระชากค่าครองชีพของประชาชนให้ลดลงมา มีมติเมื่อวันที 8 ตุลาคม ปีที่แล้ว อนุมัติให้ปรับราคาแก๊สแอลพีจี และเอ็นจีวี ในภาคขนส่ง ตั้งแต่วันที่ 16 มกราคมนี้ เป็นต้นไป จนถึงสิ้นปี โดยขึ้นราคาแก๊สแอลพีจี เดือนละ 75 สตางค์ต่อกิโลกรัม รวม 12 เดือน เป็นเงิน 9 บาท และเอ็นจีวี เดือนละ 50 สตางค์ต่อกิโลกรัม ผู้ประกอบการขนส่ง ภายใต้การนำของสหพันธ์ขนส่งแห่งประเทศไทย และองค์กรเครือข่าย และแท็กซี่ ภายใต้การนำของเครือข่ายสหกรณ์แท๊กซี่ ซึ่งจะได้รับผลกระทบโดยตร ง ได้เพียรพยายามเจรจา พูดคุย เสนอข้อเรียกร้องต่อกระทรวงพลังงานมาตั้งแต่ต้นเดือนธันวาคม ให้ทบทวนการขึ้นราคา เอ็นจีวี แต่ไม่เคยได้รับความสนใจจาก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน นายพิชัย นริพทะพันธุ์ การเจรจาทุกครั้ง นายพิชัย จะอ้งวว่า เป็นมติ ครม. เป็นมติ ขอคณะกรรมการพลังงานแหง่ชาติ หรือ กพช. อย่างไรก็ต้องขึ้นราคา

ดังนั้น การที่นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี เรียกร้องให้ กลุ่มผู้ชุมนุม สลายการชุมนุม แล้วนั่งลงพูดคุยกันนั้น จึงเป็นการพูดไปด้วยความไม่รู้ ทำให้สังคมเข้าใจว่า ผู้ชุมนุมเลือกใช้การปิดถนน แต่การเจรจา ซึ่งตรงข้ามกับความจริงที่ว่า ผู้ประกอบการขนส่ง ต้องการเจรจาพูดคุยกันด้วยดี แต่กระทรวงพลังงานไม่ยอมรับฟัง

หนึ่งในป้ายประท้วง หน้ากระทรวงพลังงาน วานนี้ จึงมีข้อความว่า " น้องปู เอาอยู่ น้องพิชัย เอา "เขา"ออกไป" เพราะหลังจากผ่านการพูดคุยกันมาหลายครั้งแล้ว ผู้ประกอบการรู้สึกว่า นายพิชัย ถูก ผู้บริหาร ปตท. สนตะพาย และปฏิเสธที่จะคุยกับนายพิชัยอีก จนนายกิตติรัตน์ ซึ่งเป็นเหมือนม้าใช้ประจำรัฐบาล ต้องเป็นผู้เจรจาเอง

การชุมนุมปิดถนนของผู้ประกอบการขนส่ง แม้ว่าจะทำให้ประชาชนเดือดร้อนในเรื่องการจราจร แต่เป็นเรื่องที่สังคมต้องสนับสนุน เพราะมันเป็นวิธีการเดียวที่ พวกเขาซึ่งอยู่ในสถานะ ผู้มีส่วนเกี่ยวของ หรือ Stake Holder จะต่อสู้กับ ยักษ์ใหญ่ อย่าง ปตท. ซึ่งได้รับการคุ้มครองเป้นอย่างดีจากอำนาจรัฐ และอำนาจสื่อ

ถ้าใช้ภาษาเศรษฐศาสตร์การเมือง ก้ต้องบอกว่า นี่คือ การต่อสู้ทางชนชั้น ระหว่าง ทุนใหญ่ด้านพลังงาน ที่สมคบกับทุนการเมือง กับ นายทุนน้อย ที่เป็นผู้ประกอบการด้านขนส่ง และผู้ประกอบอาชีพอิสระ คือ คนขับแท็กซี่ ที่เห็นว่า การขึ้นราคาก๊าซเอ็นจีวี ไม่เป็นธรรม

การ ขึ้นราคาแบบขั้นบันไดเดือนละ 50 สตางค์ ต่อเดือน อาจจะดูน้อย แต่เมื่อรวมการปรับทั้งหมด 12 ครั้ง รวม 6 บาทต่อกิโลกรัม ทำให้ราคาแก๊สเอ็นจีวี ซึ่งปัจจุบันกิโลกรัม 8.50 บาท เมื่อถึงสิ้นปีจะเพิ่มขึ้นเป็น 14.50 บาท ซึ้งคิดเป็นอัตรา 70 % ซึ่งเป้นการปรับราคาในอัตราที่สูงมาก

ทำนอง เดียวกับ การป่าวประกาศของ ปตท. ว่า มีภาระขาดทุนสะสม จากการตรึงราคาแก๊สเอ็นจีวี ในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา ถึง 38,000 ล้านบาท ซึ่งดูแต่ตัวเลข จะรู้สึกว่าเยอะมาก แต่ถ้า สื่อ ไม่ถูกงบโฆษณาประชาสัมพัน์ของ ปตท. ปิดหู ปิดตา และปิดปาก ลองเอากำไรตั้งแต่ ปี 2547 ถึง 9 เดือนแรกของ ปี 2554 มาบวกกันดู ก็จะพบว่า 8 ปีที่ผ่านมา ปตท. มีกำไรสุทธิรวมกันถึง 7 แสนล้านบาท การขาดทุนที่ ปตท . อ้างว่า เกิดจาการตรึงราคาแก๊สเอ็นจีวี นั้น มีสัดส่วนไม่ถึง 5% หรือ ไม่ถึง ครึ่งเปอร์เซ็นต์ต่อ ปี ของกำไรที่เกิดจากการใช้ ทรัพยสินของแผ่นดินไปหาประโยชน์

เมื่อ เทียบกับ ผลตอบแทนต่อผู้ถือหุ้น ซึ่งไม่ต่ำกว่า 10 % ต่อปี โดยปี 2553 สูงถึง 18.06 เปอร์เซ็นต์ต่อปี การตรึงราคาก๊าซเอ็นจีวี ถือว่า เป็นภาระเพียงนิดเดียว แต่เป็นการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม ที่แท้จริง หาก ปตท. จะมีน้ำใจ ไม่คิดแต่การแสงหากำไรสูงสุด

ผู้ประกอบการขนส่ง ไมได้ปฏิเสธการขึ้นราคาแก๊สเอ๊นจีวี แต่พวกเขาเห็นว่า การขึ้นราคาถึง 70 % นั้นมากไป เป็นการเอารัดเอาเปรียบผู้บริโภค พวกเขาไม่ได้ต่อสู้คัดค้านการขึ้นราคาเอ็นจีวีของ ปตท. โดยใช้พวกมากมาปิดถนน นั่นเป็นทางเลือกสุดท้าย พวกเขาสู้ด้วย ข้อมูล ซึ่งแตกต่างจาก ปตท. โดยสิ้นเชิง ราคาที่พวกเขารับได้คือ ปรับขึ้นอีกกิโลละ 2 บาท ไม่ใช่ 6 บาท เพราะนั่นเป็นข้อมูลของ ปตท. ฝ่ายเดียว ซึ่งบวกเอาค่าบริหาร จัดการ ค่าขนส่ง ที่ล้วนอยู่ภายใต้การผูกขาดของ ปตท. เพียงผู้เดียว สามารถยักย้ายถ่ายเท ตั้งราคาขาย โอนกำไรจากกระเป่าซ้าย ไปสู่กระเป่าขวาได้ตามใจชอบ

เหตุผลที่ ปตท. มักจะใช้ เป็นข้ออ้างในการขึ้นราคา เอ็นจีวี เสมอ คือ การปรับขึ้นราคาครั้งนี้ เป็นไปตามมติข อง กพช. แต่ใครๆก้รู้ดีว่า กพช. ซึ่งจะต้องทำหน้าที่ กำกับ ดูแล ด้านนโยบาย ไม่ให้ ปตท. ซึ่ งเป็นผู้ผูกขาด ธุรกิจพลังงานรายเดียวในประเทศไทย มีอำนาจเหนือตลาด เอารัดเอาเปรียบ ผู้บริโภค กลับ มีผลประโยชน์ทับซ้อน เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน กับ ปตท.

เมื่อปลัดกระทรวงพลังงาน ซึ่งเป็นกรรมการที่มีบทบาทสำคัญ ใน กพช . ไปสวมหมวก เป็น ประธาน ปตท. และ รัฐมนตรีกระทรวงพลังงาน ซึ่งฟัง และทำตาม ความต้องการของปตท. เสมอมา ก็เป็นกรรมการ กพช. ด้วย ข้ออ้างขอ งปตท. ที่ว่า การปรับขึ้นราคาแก๊สเอ็นจีวี ครั้งนี้ เป็นไปตามมติ กพช. คงหลอกได้แต่เด็กอมมือเท่านั้น ความจริง ปตท. คือ ผู้กำหนด การตัดสนิใจของ กพช. มากกว่า ที่ กพช. จะเป็นผู้ควบคุม ปตท. ไม่ให้เอารัดเอาเปรียบผู้บริโภค

การชุมนุมปิดถนนของ ผู้ประกอบการขนส่ง จึงไม่ใช่เป็นการต่อสุ้กับทุนผูกขาดเพื่อผลประโนยชน์ของตัวเองเท่านั้น แต่ยังเป็นการต่อสู้เพื่อประชาชนส่วนใหญ๋ ที่อยู่ในสภาพถูกมัดมือชกจาก ปตท. เพียงเดียว เป็นสิ่งที่สังคมพึงเข้าใจ และให้การสนับสนุน

พิมพ์ อีเมล

บทความใกล้เคียงกัน