ตะลึง กุมารแพทย์พบสารตะกั่วในศูนย์เด็กเล็กกทม. เพียบ

พบสารตะกั่ว ในสิ่งแวดล้อมของเด็ก เพียบทั้งสีทาบ้าน สีในของเล่น ภาชนะใส่อาหาร น้ำจากน้ำประปา น้ำดื่มในถังหรือภาชนะจัดเก็บที่มีการเชื่อมด้วยสารตะกั่ว ภาชนะหุงต้มที่มีการเชื่อมด้วยสารตะกั่ว แก้วน้ำ ช้อน ฝุ่นที่พื้น ดินในบริเวณสนามเด็กเล่น  ดินสอสี/สีเทียน ดินน้ำมัน และโต๊ะเรียน


รศ. นพ. อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ ศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก  คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี เปิดเผยว่า ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ ร่วมกับกรุงเทพมหานคร วิศวกรความปลอดภัย ม เกษตร มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค คณะแพทยศาสตร์รามาธิบดี และสำนักงานกองทุนสนับสุนนสุขภาพ (สสส.) ตรวจสอบความปลอดภัยจากสารตะกั่วที่อยู่รอบตัวเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กของกทม จำนวน 17 ศูนย์โดยในแต่ละศูนย์ทำการตรวจ 13 จุด ได้แก่ สีทาบ้าน สีในของเล่น ภาชนะใส่อาหาร น้ำจากน้ำประปา น้ำดื่มในถังหรือภาชนะจัดเก็บที่มีการเชื่อมด้วยสารตะกั่ว ภาชนะหุงต้มที่มีการเชื่อมด้วยสารตะกั่ว แก้วน้ำ ช้อน ฝุ่นที่พื้น ดินในบริเวณสนามเด็กเล่น  ดินสอสี/สีเทียน ดินน้ำมัน และโต๊ะเรียน  พบว่า สีทาอาคารที่ปนเปื้อนด้วยสารตะกั่วยังเป็นปัญหาใหญ่ ขณะที่สารตะกั่วในผลิตภัณฑ์อื่นๆลดน้อยลงไปมากแล้ว สารตะกั่วปนเปื้อนเกินมาตรฐานความปลอดภัยในสีทาอาคารพบถึง 9 ศูนย์ ใน 17 ศูนย์ คิดเป็นร้อยละ 58

กุมารแพทย์เตือนมีอันตรายต่อสมองและไอ คิวของเด็กเล็ก วิศวกรความปลอดภัยและเขตจัดตั้ง “ทีมกำจัดสารตะกั่ว” แก้ไข สีในศูนย์พัฒนาเด็ก ตามแนวทางสากล  กรุงเทพมหานครจะขยายผลต่อไป มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคชี้สีน้ำมันในตลาดมีความเสี่ยงมากกว่าครึ่ง ทุกฝ่ายวอนศูนย์พัฒนาเด็กที่ดูแลเด็กอายุน้อยกว่า 6 ปีทั่วประเทศเร่งตรวจสอบสีอาคารโดยด่วน

ข้อมูลจาก นสพ.มติชน
11/2/53

พิมพ์ อีเมล

บทความใกล้เคียงกัน