บริการสุขภาพ

วิปรัฐบาลตีกลับร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองฯ ให้ สธ.ทำความชัดเจน-เข้าใจกับบุคลากรทางการแพทย์

ที่ประชุมวิปรัฐบาลให้ สธ.กลับไปทำความชัดเจนเรื่องร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ พร้อมทำความเข้าใจกับบุคคลากรทางการแพทย์

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 10.30 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล นายวิทยา แก้วภราดรัย ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล (วิปรัฐบาล) แถลงผลการประชุมวิปรัฐบาลว่า วิปรัฐบาลได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการ สาธารณสุข พ.ศ.... และข้อสรุปคณะกรรมการเสริมสร้างความสมานฉันท์ในระบบบริการสาธารณสุขโดยได้ เชิญปลัดกระทรวงสาธารณสุขและคณะกรรมการมาให้ข้อมูลเรื่องข้อสรุปร่วมกัน ซึ่งวิปรัฐบาลเห็นว่าข้อเสนอของคณะกรรมการสมานฉันท์ที่จะมีการปรับปรุงร่าง กฎหมายฯ 12 ประเด็น โดยวิปรัฐบาลได้มอบหมายให้กระทรวงสาธารณสุขกลับไปทำความชัดเจนว่าในการแก้ไข นั้นจำเป็นจะต้องยกร่างฯ ขึ้นมาใหม่หรือให้การแก้ไขเป็นภาระของสภาผู้แทนราษฎรหรือให้ปรับปรุงกันใน ชั้นกรรมาธิการ และให้กระทรวงสาธารณสุขไปทำความเข้ากับบุคลากรทางการแพทย์ในขอบข่ายทั่ว ประเทศ เพราะหลายคนยังกังวลต่อกฎหมายฉบับนี้

นายวิทยา กล่าวว่า เบื้อง ต้นวิปรัฐบาลยังไม่ได้มีการเลื่อนระเบียบวาระการพิจารณาเรื่องร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ หรือขอถอนออกจากวาระ แต่ได้ขอให้ทางกระทรวงสาธารณสุขเร่งดำเนินการทำความเข้าใจกับบุคลากรทางการ แพทย์และทำความชัดเจนเรื่องกฎหมาย โดยไม่ได้มีการกำหนดกรอบเวลาอะไร หากระหว่างที่ยังไม่มีความชัดเจนจากกระทรวงสาธารณสุขแต่เมื่อถึงวาระที่จะ ต้องพิจารณาร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้แล้ววิปรัฐบาลก็จำเป็นจะต้องดำเนินการพิจารณา ไปตามกระบวนการโดยไม่รอกระบวนการภายในของกระทรวงสาธารณสุข

แหล่งข่าวจากแกนนำวิปรัฐบาล เปิดเผยว่า 12 ประเด็นที่วิปรัฐบาลมอบหมายให้ปลัดกระทรวงสาธารณสุขไปพิจารณานั้นมีประเด็น ที่น่าสนใจคือ 1.เปลี่ยนชื่อจากร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ.... มาเป็น ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ได้รับผลกระทบจากการรับบริการสาธารณสุขหรือร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้รับบริการและผู้ให้บริการที่ได้รับความเสียหายจากการ บริการสาธารณสุข 2.เปลี่ยนหลักการของร่างกฎหมายฟให้เป็น “ให้มีกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้ได้รับผลกระทบจากการรับบริการสาธารณสุข” ซึ่งจะคุ้มครองทั้งผู้เสียหายและแพทย์ผู้ให้บริการ 3.เปลี่ยนคำนิยามของผู้เสียหาย ที่หมายความถึงผู้ได้รับความเสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขจากสถานพยาบาล ให้เป็น “ผู้เสียหาย” ในหลักการควรคุ้มครองเฉพาะประชาชนชาวไทย เนื่องจากเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนชาวไทยที่ควรจะได้รับความคุ้มครอง ซึ่งวิปรัฐบาลได้ตั้งข้อสังเกตว่าควรคุ้มครองแรงงานต่างด้าวด้วยหรือไม่

แหล่งข่าวระบุว่า นอกจากนี้ยังมีประเด็นที่ 8 เรื่องของการทำสัญญาประณีประนอมยอมความเมื่อรับเงินชดเชยไปแล้ว “เป็นการทำสัญญาประณีประนอมยอมความเพื่อยุติการดำเนินคดี” โดยในสัญญาประณีประนอมยอมความดังกล่าวควรมีเนื้อหาที่กำหนดให้ผู้เสียหาย ยินดีที่จะยุติการฟ้องร้องคดีทางแพ่งและอาญา และประเด็นที่ 9 การฟ้องร้องคดีอาญาและบทลงโทษ ซึ่งเห็นว่าในหลักการเมื่อรับเงินไปแล้วควรยุติการฟ้องคดีทางแพ่งและอาญา และเพื่อคลายความกังวลของทั้ง 2 ฝ่ายในสัญญาประณีประนอมยอมความควรกำหนดว่า “เมื่อรับเงินช่วยเหลือไปแล้วก็จะไม่มีการฟ้องคดีทางแพ่งและอาญาต่อไป” อย่างไรก็ตาม กฎหมายจะยุติได้เฉพาะคดีแพ่ง แต่ทางอาญาก็จะได้ประโยชน์ในการพิจารณาคดีในชั้นศาล โดยให้คงมาตรา 45 ที่ระบุถึงการให้ศาลนำเรื่องการที่ผู้เสียหายไม่ติดใจให้จำเลยได้รับโทษ มาพิจารณาประกอบด้วยในการนี้ ศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใดหรือไม่ลงโทษ เลยก็ได้

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 1 พฤศจิกายน 2553 19:06 น.

พิมพ์ อีเมล

บทความใกล้เคียงกัน