บริการสุขภาพ

ยื่นหนังสือ ส.ว. แก้เกณฑ์คำนวณบำนาญ

เครือข่ายบำนาญแรงงานนอกระบบ ยื่นหนังสือ ส.ว. แก้เกณฑ์คำนวณบำนาญ ให้นำเงินสะสมช่วงอยู่นอกแรงงานนอกระบบ มาคำนวณด้วย เพื่อได้บำนาญตลอดชีพ

ที่รัฐสภา เครือข่ายบำนาญภาคประชาชน 7 องค์กร นำโดยนายอเนก จิรจิตอาทร ตัวแทนเครือข่าย ยื่นหนังสือถึงนายวิเชียร คันฉ่อง ส.ว.ตรัง ประธานคณะกรรมาธิการ(กมธ.)วิสามัญพิจารณาร่างพ.ร.บ.กองทุนการออมแห่งชาติ วุฒิสภา เพื่อขอให้กมธ.แก้ไขเพิ่มเติมร่างโดยระบุว่า ร่างกฎหมายนี้โดยเฉพาะมาตรา 39 แม้จะยอมให้แรงงานนอกระบบ ซึ่งมีการเปลี่ยนงานไปมาระหว่างระบบต่างๆอยู่ตลอดเวลา สามารถสะสมเงินออมต่อเนื่องได้ แต่ไม่ยินยอมให้นำเงินออมสะสมในระหว่างที่มีการย้ายออกจากการเป็นแรงงานนอก ระบบไปสู่ระบบอื่น มาคิดคำนวณเป็นเงินบำนาญ โดยเพียงให้รับเป็นเงินก้อนทั้งจำนวนเมื่ออายุครบ 60 ปี ซึ่งเงินลักษณะบำเหน็จแบบนี้หมดเร็ว และเสียโอกาสที่จะได้เงินบำนาญตลอดชีพ เพราะจำนวนเงินที่จะนำมาคิดคำนวณเป็นบำนาญมีน้อยเกินไป ซึ่งกระทรวงการคลังกำหนดเบื้องต้นไว้ที่ 500 บาทต่อเดือน โดยเฉพาะกลุ่มแรงงานรายได้น้อยที่มักมีการเปลี่ยนย้ายงานบ่อยครั้ง

นายอเนก กล่าวต่อว่า เครือข่ายฯจึงขอเสนอให้กมธ.แก้ไขประเด็นดังกล่าวให้สามารถนำเงินออมสะสมต่อ เนื่องในช่วงที่มีการปรับเปลี่ยนจากแรงงานนอกระบบไปเป็นแรงงานระบบอื่นๆ มารวมคิดคำนวณเป็นเงินบำนาญได้ ซึ่งไม่ส่งผลกระทบต่อฐานะการเงินของกองทุน เพราะที่รัฐบาลห่วงเรื่องการแบกรับการจ่ายเงินบำนาญหากสมาชิกมีอายุเกินกว่า 80 ปี นั้น ความจริงภาระไม่มากมายนัก เพาะระบบการบริหารกองทุนก็มีมาตรการแก้ไขไวแล้ว โดยมีการหักเงินผลประโยชน์จากบัญชีเงินบำนาญของผู้รับบำนาญ เข้าบัญชีกองกลางตามมาตรา 50 เพื่อสำรองจ่ายกรณีเงินในบัญชีบำนาญของผู้รับบำนาญไม่เพียงพอจ่าย และยังช่วยเพิ่มโอกาสการมีหลักประกันด้านบำนาญตลอดชีพกับแรงงานนอกระบบได้ แท้จริง

ด้านนายวิเชียร กล่าวว่า กมธ.จะพิจารณาร่างในวันที่ 8 มี.ค.เป็นวันสุดท้าย จากนั้นจะทบทวนและให้ส.ว.มาชี้แจงคำแปรญัตติ ตนจะนำเรื่องนี้หารือในกมธ.เพื่อพิจารณาปรับแก้ เพราะเห็นด้วยว่า แรงงานนอกระบบควรมีบำนาญไปจนกระทั่งเสียชีวิต แต่ก็ต้องขึ้นกับเสียงในกมธ.และต้องถามฐานะการเงินกับกระทรวงการคลังด้วย นอกจากนี้ ก่อนหน้านี้กมธ.แก้ไขในเรื่องกรรมการที่จะนำเงินกองทุนไปลงทุนให้เงินงอกเงย แล้ว โดยกำหนดให้มีคุณสมบัติต้องเชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์ การเงิน การลงทุน เช่น อาจต้องมีประสบการณ์ในธนาคารขนาดใหญ่ไม่น้อยกว่า 2 แห่ง เพราะห่วงว่า การบริหารกองทุนอาจขาดทุนเหมือนกบข.ได้

นสพ.โพสต์ทูเดย์ 08/03/54

พิมพ์ อีเมล

บทความใกล้เคียงกัน