บริการสุขภาพ

เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอดส์ร้อง สปส.ความไม่เท่าเทียมของรักษาฟรี และ ปกส.

เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอ วี ร้อง คกก.การแพทย์ สำนักงานประกันสังคมกรณีความไม่เท่าเทียมของของระบบรักษาฟรีและสิทธิประกัน สังคม โอดผู้ป่วยมีความทุกข์ แต่ สปส.ยังนิ่งเฉย

นายอภิวัฒน์ กวางแก้ว ประธานเครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ประเทศไทย นำกลุ่มผู้ติดเชื้อราว 50 คน เดินทางเข้าเรียกร้องขอความเป็นธรรมต่อคณะกรรมการการแพทย์ สำนักงานประกันสังคม (สปส.) เกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ของผู้ประกันตนที่ไม่เทียบเท่ากองทุนหลักประกัน สุขภาพถ้วนหน้า หรือ บัตรรักษาฟรี โดยมีนพ.สุรเดช วลีอิทธิกุล ผู้ อำนวยการสำนักจัดระบบบริการทางการแพทย์ สปส.เข้ารับเรื่องดังกล่าว แทนคณะกรรมการการแพทย์ เนื่องจากได้มีการเลื่อนประชุมเกี่ยวกับการเพิ่มสิทธิประโยชน์เป็นครั้งที่ 2 หลังจากเคยยกเลิกการประชุมกรณีที่เครือข่ายฯ เข้าเรียกร้องในลักษณะนี้ไปเมื่อช่วงปลายปี 2553 ที่ผ่านมา

โดย นายอภิวัฒน์ กล่าวว่า สิ่งที่เกิดขึ้นแสดงถึงความจริงใจในเรื่องการเพิ่มสิทธิประโยชน์ให้แก่ผู้ประกันตนอย่างชัดเจน เนื่อง จากการที่คณะกรรมการการแพทย์ไม่สนใจ ก็แสดงว่าผู้ประกันตนไม่สำคัญ ไม่สนใจความทุกข์ของผู้ป่วย จึงอยากให้ผู้บริหาร สปส.หยุดโกหก และเพิ่มสิทธิประโยชน์ของผู้ประกันตนให้เท่าเทียมกับบัตรรักษาฟรี ซึ่งในครั้งนี้ ทางเครือข่ายฯต้องการเรียกร้องความเป็นธรรม เรื่องสิทธิประโยชน์การรักษาพยาบาล โดยเฉพาะประเด็นการใช้ยาอะทาซานาเวียร์ (atazanavir) ซึ่งเป็นยาต้านไวรัสสูตรดื้อยา ในกลุ่มเดียวกับยาโลพินาเวียร์กับริโทนาเวียร์ หรือชื่อทางการค้า “คาเร็ตต้า” แต่ปัจจุบันแพทย์จะให้ยาโลพาเวียร์ กับริโทนาเวียร์ ก่อน ยก เว้นกรณีผู้ป่วยมีอาการข้างเคียงจากการใช้ยาสูตรเดิม จึงจะเปลี่ยนเป็นยาอีกสูตร ซึ่งโดยปกติในระบบสุขภาพทุกกองทุน ควรมีการเพิ่มยาอะทาซานาเวียร์เข้าไปในชุดการรักษาด้วย แต่ปัจจุบัน สปส.กลับไม่มี ขณะที่บัตรรักษาฟรีของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) มียาตัวนี้ให้แก่ผู้ป่วย

นายอภิวัฒน์ กล่าวว่า นอก จากนี้ ยังมีสิทธิอื่นๆ ที่ สปส.ละเลย เช่น การตรวจระดับ CD4 หรือการตรวจติดตามระดับเม็ดเลือดขาวชนิดซีดี 4 เพื่อประเมินสถานะภูมิคุ้มกัน ต้องมีการตรวจทุก 6 เดือน ซึ่งเป็นแนวทางการรักษาของประเทศ แต่ประกันสังคม ไม่ได้ระบุแนวทางการรักษาไว้ในประกาศ ขณะที่บัตรรักษาฟรีมีเกณฑ์นี้ จึงขอเรียกร้องให้กรรมการการแพทย์ พิจารณาและเพิ่มสิทธิประโยชน์ดังกล่าวเสีย เพราะผู้ประกันตนถือเป็นระบบเดียวที่ต้องจ่ายเงินสมทบ ขณะที่กองทุนอื่นๆ ทั้งบัตรรักษาฟรี สิทธิสวัสดิการข้าราชการ ไม่ต้องจ่ายเงินเลย” นายอภิวัฒน์ กล่าว

ด้าน นพ.สุรเดช กล่าวว่า กรณี ยาอะทาซานาเวียร์ มีอยู่ในชุดสิทธิประโยชน์ของ สปส.อยู่แล้ว แต่เป็นหน้าที่ของโรงพยาบาลที่ต้องจัดหามาให้ผู้ประกันตนหากเกิดกรณีที่ต้อง ใช้ยาตัวดังกล่าว ส่วนที่ผู้ป่วยบางรายไม่ได้รับนั้น อาจมาจากข้อบ่งชี้ในการใช้ หรืออาจมาจากระบบการจ่ายยา ซึ่งไม่สะดวกเหมือนของ สปสช.ขณะนี้อยู่ระหว่างการปรับปรุง ส่วน ประเด็นที่คณะกรรมการการแพทย์ สปส.ต้องเลื่อนการประชุมไปนั้น ขอยืนยันว่า ไม่ได้หนีผู้ประกันตน แต่เพราะกรรมการแพทย์หลายคนไม่สะดวก จึงต้องเลื่อนออกไปก่อน ซึ่งปกติจะมีการประชุมในลักษณะนี้เดือนละ 2 ครั้ง

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 3 มีนาคม 2554 00:22 น.

พิมพ์ อีเมล

บทความใกล้เคียงกัน