สธ.เผยสารให้ความหวานในเครื่องดื่มลดความอ้วนเสี่ยงโลหิตเป็นพิษ

 

กระทรวงสาธารณสุข เผยผลตรวจวิเคราะห์สารให้ความหวานในผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มลดความอ้วน(Diet) จากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ พบมีการใช้สารให้ความหวานแทนน้ำตาลบางผลิตภัณฑ์ใส่สารให้ความหวานเกิน มาตรฐาน เตือนประชาชนอย่าหลงเชื่อโฆษณาเครื่องดื่มหรือกาแฟลดความอ้วนเพราะอาจได้รับ ยาลดความอ้วนที่ห้ามใช้ในอาหาร เพราะอาจเป็นอันตรายได้

นางพรรณสิริ กุลนาถศิริ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง สาธารณสุข(สธ.) เปิดเผยว่า ปัจจุบันเครื่องดื่มหลายชนิดได้นำสารให้ความหวานแทนน้ำตาลมาใช้เพื่อสนอง ความต้องการของลูกค้าเพราะสารให้ความหวานเหล่านี้มีความหวานมากกว่าน้ำตาล หลายเท่าและให้พลังงานต่ำหรือไม่ให้พลังงานจึงเหมาะที่จะนำมาใช้ในผู้ป่วย เบาหวานหรือผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนักโดยสารให้ความหวานที่พบว่านิยมนำมา ใช้ในเครื่องดื่มชนิดต่าง ๆ ได้แก่แอสปาร์เทม (Aspartame) อะซีซัลเฟม-เค(Acesulfame-K) ซัคคาริน(Saccharine)ซูคลาโครส (Sucralose) อย่างไรก็ตามสารให้ความหวานเหล่านี้แม้จะไม่ให้พลังงานแต่ถ้ารับประทานใน ปริมาณมากก็อาจทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้โดยเฉพาะสารแอสปาร์เทม ไม่เหมาะกับผู้ป่วยโรค phenylketonuria ซึ่งเป็นโรคทางพันธุกรรมที่เกี่ยวกับความบกพร่องของการเมตาบอลิซึมของร่าง กายทำให้เกิดการสะสมของเฟนิลอะลามีน (Phenylalamine)เกิดอาการโลหิตเป็นพิษได้

 

รมช.สธ. กล่าวอีกว่า กระทรวงสาธารณสุขโดยสำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์จึงได้ทำการสำรวจวิเคราะห์ปริมาณสารให้ความหวานที่มี การใช้ในเครื่องดื่มลดความอ้วน(Diet) ชนิดต่าง ๆ โดยวิธี HPLC ในช่วงตุลาคม 2551 - มีนาคม 2553 รวมทั้งสิ้น 84 ตัวอย่าง ผลการตรวจวิเคราะห์พบว่าเครื่องดื่มมีการใช้สารให้ความหวานร่วมกัน 2 ชนิด คือ แอสปาร์เทม และอะซีซัลเฟม-เค โดยน้ำอัดลมพบสารแอสปาร์เทม 98 และพบสารอะซีซัลเฟม-เค 56.5 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม น้ำรสผลไม้พบสารแอสปาร์เทม 82 พบสารอะซีซัลเฟม-เค 82 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และน้ำหวานเข้มข้นพบสารแอสปาร์เทม 221.4 พบสารอะซีซัลเฟม-เค 261.2 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม แต่ปริมาณสารไม่เกินมาตรฐานที่ Codex กำหนด ยกเว้นเครื่องดื่มชนิดผง รวมทั้งโกโก้และกาแฟปรุงสำเร็จจะมีการใช้สารให้ความหวาน 2 ชนิดที่เกินมาตรฐาน คือ พบสารแอสปาร์เทม 564 และพบสารอะซีซัลเฟม-เค 1,040 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม แต่เนื่องจากเครื่องดื่มประเภทนี้ผู้บริโภคต้องเจือจางก่อนรับประทานซึ่งทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เป็นผู้พิจารณาจากวิธีเจือจาง

นพ.จักรธรรม ธรรมศักดิ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า Codex ได้กำหนดมาตรฐานสารให้ความหวานในเครื่องดื่มชนิดต่าง ๆ ดังนี้สารแอสปาร์เทมมีในเครื่องดื่มชนิดต่างๆ ได้ไม่เกิน 600 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม สารอะซีซัลเฟม-เค มีในเครื่องดื่มประเภทน้ำหวาน น้ำผลไม้ ได้ไม่เกิน 350 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม แต่ในเครื่องดื่มประเภทชา กาแฟ ธัญพืช สมุนไพรและโกโก้มีได้ไม่เกิน 600 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ส่วนสารซัคคารินมีในเครื่องดื่มประเภทน้ำหวาน น้ำผลไม้ ได้ไม่เกิน 80 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม แต่ในเครื่องดื่มประเภทชา กาแฟ ธัญพืช สมุนไพรและโกโก้มีได้ไม่เกิน 200 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ซึ่งจากการตรวจวิเคราะห์พบว่าส่วนใหญ่ไม่เกินมาตรฐานที่กำหนด อย่างไรก็ตามยังพบว่ามีการโฆษณากาแฟหรือผลิตภัณฑ์ลดความอ้วนบางยี่ห้อ
มีการเติมสารคาร์นิทีน(Carnitine)โดยกล่าวอ้างสรรพคุณสามารถลดความอ้วนและบางผลิตภัณฑ์เติมสารคอลาเจน (collagen) โดยกล่าวอ้างสรรพคุณว่าบำรุงสุขภาพ ลดรอยเหี่ยวย่นซึ่งการเติมสารเหล่านี้ลงในผลิตภัณฑ์ยังไม่มีรายงานการวิจัย ทางวิทยาศาสตร์สนับสนุน นอกจากนี้ยังมีบางผลิตภัณฑ์ผสมยาลดความอ้วนได้แก่ไซบูทามิน (Sibutamin)ซึ่งห้ามใช้ในอาหาร และอาจเกิดอันตรายต่อผู้บริโภคได้ ดังนั้นก่อนเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ดังกล่าวควรเลือกที่มีเลขสาระบบอาหารเพื่อ ความปลอดภัยของผู้บริโภค

............................................................................................

 

ที่มา:  ASTVผู้จัดการออนไลน์  6 สิงหาคม 2553 12:16 น.

พิมพ์ อีเมล

บทความใกล้เคียงกัน