“ค่าส่วนกลางล่วงหน้า” บริการอะไรบ้างที่สามารถเรียกเก็บได้หรือไม่ได้

เขียนโดย ศูนย์ข่าวผู้บริโภค วันที่ . จำนวนผู้ชม: 7042

blog 3
เมื่อได้ทำการซื้อบ้าน ทาวน์โฮม หรือคอนโดมิเนียมแล้ว ผู้ซื้อบ้าน ทาวน์โฮม หรือคอนโดมิเนียม มีหน้าที่ต้องชำระค่าส่วนกลางซึ่งเป็นหน้าที่ตามกฎหมายที่เจ้าของร่วมทุกคนต้องปฏิบัติ โดยจะคำนวณเก็บตามอัตราส่วนหรือเนื้อที่ที่ระบุในหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ห้องชุดเป็นตารางเมตร ประเด็นเกี่ยวกับ “ค่าส่วนกลาง” สำหรับผู้อยู่อาศัยในหมู่บ้านจัดสรรมีปัญหาสารพัด

และข้อขัดแย้งในเรื่องนี้ระหว่าง “เจ้าของโครงการ” หรือผู้ดำเนินการจัดสรรกับ “ผู้ซื้อ” หรือลูกบ้านก็มีให้เห็นอยู่เป็นประจำ แม้กระทั่งการจัดตั้ง “นิติบุคคล” ขึ้นมาบริหารหมู่บ้านแล้ว ปัญหาเกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้ก็ยังเกิดขึ้นอยู่เสมอ ค่าส่วนกลางที่เก็บนั้นจะนำไปชำระค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า ค่าสาธารณูปโภคต่างๆ ค่าทำความสะอาด ค่าจัดเก็บขยะมูลฝอย ค่ายามรักษาความปลอดภัย เงินเดือนพนักงาน รวมถึงการดูแลระบบการจ่ายน้ำ-ไฟไปยังห้องชุดย่อยๆ ค่าภาษีอากรต่างๆ

โดยปกติในวันโอนกรรมสิทธิ์ผู้ซื้อมักต้องชำระ “ค่าส่วนกลางล่วงหน้า” ซึ่งทั่วไปกำหนดไว้ 1-2 ปี ส่วนอัตราเท่าไหร่นั้นก็แล้วแต่โครงการจะกำหนด นิติบุคคลอาคารชุดแต่ละแห่งจะมีมาตรการในการจัดเก็บค่าส่วนกลางไม่เหมือนกัน แล้วแต่ข้อบังคับของนิติบุคคลอาคารชุดนั้นๆ เงินจัดเก็บสำหรับค่าส่วนกลางนี่กฎหมายกำหนดให้สามารถนำไปเป็นค่าใช้จ่ายประเภท “บริการสาธารณะ” ได้ แต่ทั้งนี้ต้องเฉพาะในกรณีที่ผู้จัดสรรที่ดินได้เขียนรายละเอียดไว้ในแผนงานโครงการ และวิธีการจัดสรรว่าจะเรียกเก็บค่าบริการสาธารณะจากผู้ซื้อที่ดินจัดสรร ตามอัตราที่ได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการจัดสรรที่ดินที่กำหนดไว้ในขั้นตอนการยื่นคำขอจัดสรรเท่านั้น

สำหรับปัญหาที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่เป็นเรื่องของการนำเงินค่าใช้จ่ายส่วนกลางนี้ไปใช้จ่ายไม่ถูกประเภท ดังนั้นในฐานะของผู้พักอาศัยที่มีหน้าที่จ่ายค่าส่วนกลาง จึงควรรู้ว่าเงินค่าส่วนกลางที่เก็บล่วงหน้าไปนั้นนำไปใช้จ่ายในทางที่ถูกต้องหรือไม่ และบริการอะไรบ้างที่สามารถเรียกเก็บได้หรือไม่ได้ ทั้งนี้เพื่อรักษาผลประโยชน์ของเราเอง

ค่าส่วนกลางที่เรียกเก็บได้:

ซึ่งเป็นบริการสาธารณะ “บริการสาธารณะ” หมายความว่า คือ การให้บริการหรือสิ่งอำนวยความสะดวกในโครงการจัดสรรที่ดิน ที่กำหนดไว้ในโครงการที่ขออนุญาตจัดสรรที่ดินตามมาตรา 23(4) ประกอบด้วย

ค่าส่วนกลางที่เรียกเก็บไม่ได้

ซึ่งเป็นการบริการสาธารณูปโภค ประกอบด้วย

การไม่ชำระค่าส่วนกลางมีผลเสียมากมายต่อเจ้าของร่วมทุกคน ทางที่ดีควรชำระตามกำ หนดไปเถอะครับ และร่วมกันบริหารจัดการหรือตรวจสอบบัญชีจะเป็นการดีกว่า การเก็บค่าส่วนกลางของนิติบุคคลเก็บไปก็เพื่อประโยชน์ในการดูแลใช้จ่าย ซ่อมแซมปรับปรุงทรัพย์ส่วนกลางให้สามารถใช้งานได้นานๆ และทำให้เกิดความสงบเรียบร้อยในที่อยู่อาศัยของเราเอง

ขอบคุณข้อมูลจาก ASEANLiViNG

พิมพ์