เทศกาล 11.11 มพบ.พบ ‘เสริมอาหารผสมยาอันตราย’ เทขายเพียบ

เขียนโดย มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค. จำนวนผู้ชม: 4647

11 ad ffc 01

 

จากการเฝ้าระวังการขายผลิตภัณฑ์เสริมอาหารในห้างออนไลน์นั้นเทศกาล 11.11 นั้น มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคพบเสริมอาหารผสมสารอันตรายเพียบ ร้านค้าได้โอกาสเทล้างสต๊อก ขอให้ผู้ซื้อตั้งสติ ฉุกคิด อย่าตกหลุมพรางทางการตลาดบนโลกออนไลน์

วันที่ 11 พฤศจิกายน 2561 มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคเผยข้อมูลการเฝ้าระวังการขายผลิตภัณฑ์เสริมอาหารในห้างออนไลน์ 3 ห้างดัง คือ ลาซาด้า ช็อปปี้ และเจดีเซ็นทรัล พบว่ามีการขายผลิตภัณฑ์เสริมอาหารผิดกฎหมายทั้งในลาซาด้า และช็อปปี้ จำนวนมาก ซึ่งผลิตภัณฑ์ดังกล่าวนั้นทางกรมวิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจพบสารยา “ไซบูทรามีน” , “ซิลเดนาฟิล” และ "ไบซาโคดิล" ซึ่งเป็นยาอันตรายที่ห้ามใช้ในผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร และทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เคยออกประกาศเตือนภัยผู้บริโภคแล้ว แต่ผู้ประกอบการห้างออนไลน์ยังคงเพิกเฉย ไม่มีการตรวจสอบสินค้าผิดกฎหมาย ปล่อยให้มีการขายสินค้าอันตรายต่อชีวิตผู้บริโภค

สถาพร อารักษ์วทนะ นักวิชาการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า หลุมพรางการตลาดบนโลกออนไลน์ในเทศกาลต่างๆ ล้วนแต่เป็นกลยุทธ์การฉวยโอกาสเพิ่มยอดขายให้สินค้า โดยไม่ได้คำนึงถึงผลประโยชน์ของผู้บริโภคเป็นศูนย์กลาง ห้างออนไลน์ที่มีการขายผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจะต้องรับผิดชอบต่อชีวิตและสุขภาพของผู้ซื้อ ทางห้างฯจะมากล่าวอ้างไม่ได้ว่า ห้างฯเป็นเพียงพื้นที่ส่วนกลางที่อำนวยความสะดวกให้ผู้ขายมาขายเท่านั้น

สถาพร กล่าวอีกว่า กระทรวงสาธารณสุขประกาศให้ไซบูทามีนเป็นวัตถุออกฤทธิ์อันตรายในประเภทที่ 1 มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2561 ความว่า ผู้ใดผลิต นำเข้า หรือส่งออก มีโทษจำคุกตั้งแต่ 5-20 ปี และปรับตั้งแต่ 5 แสนบาท – 2 ล้านบาท ผู้ขายมีโทษจำคุกตั้งแต่ 4-20 ปี และปรับตั้งแต่ 4 แสนบาท – 2 ล้านบาท และผู้ครอบครอง มีโทษจำคุกตั้งแต่ 1-5 ปี หรือปรับตั้งแต่ 2 หมื่นบาท – 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ส่วนเรื่องโฆษณานั้น พรบ.ฉบับนี้ ได้กำหนดบทลงโทษไว้ว่า ผู้ใดโฆษณาต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับตั้งแต่ 2 หมื่นบาท – 2 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และปรับอีกวันละไม่เกิน 1 หมื่นบาท ตลอดระยะเวลาที่ยังฝ่าฝืน หรือจนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง และถ้าการกระทำนั้นๆ เป็นการกระทำของเจ้าของสื่อโฆษณาหรือผู้ประกอบกิจการโฆษณาต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้โฆษณา

เราขอเรียกร้องให้ อย.บังคับใช้กฎหมายโดยทันที โดยใช้บทลงโทษขั้นสูงสุดเพื่อแสดงความจริงใจในการคุ้มครองผู้บริโภค เป็นหน้าที่ของผู้ประกอบการที่ดีที่จะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ผู้ประกอบการจะต้องมีระบบตรวจสอบรายชื่อผลิตภัณฑ์ผิดกฎหมาย และรายชื่อผลิตภัณฑ์ที่ถูกเพิกถอนเลขอนุญาต ดังนั้นจะมากล่าวอ้างไม่ได้ว่า ไม่ทราบข้อมูล

 

ตัวอย่างบางส่วน ของการขายผลิตภัณฑ์เสริมอาหารผิดกฎหมาย ในลาซาด้า และช็อปปี้

เปรียบเทียบการตรวจพบสารประกอบอันตราย โดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

 

l fin by ลกสำรอง ไซบทรามน

compare ชว กรมวทย

S line กรมวทย

พิมพ์