คำเตือน

JFolder: :files: Path is not a folder. Path: /home/consumer/web/consumerthai.org/public_html/images/action/550807_smnews

แจ้งให้ทราบ

There was a problem rendering your image gallery. Please make sure that the folder you are using in the Simple Image Gallery plugin tags exists and contains valid image files. The plugin could not locate the folder: images/action/550807_smnews

ฉลาดซื้อเผยผลตรวจสารเคมี พบตกค้างในผักเกินมาตรฐาน 38 %

นิตยสารฉลาดซื้อ ร่วมกับเครือข่ายเตือนภัยสารเคมีเกษตร สุ่มตรวจผัก ผักในตลาดสดทั่วไปและรถเร่พบสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างเกินมาตรฐาน 38.1% ผักชี ถั่วฝักยาว พริกจินดา คือผัก 3 ชนิดที่มีสารพิษตกค้างมากที่สุด‏

 

 

 

 

 

 

{gallery}action/550807_smnews{/gallery}

บันทึกการถ่ายทอดสด การเปิดเผยผลการตรวจสารเคมีในผัก
{mp4-flv}550807_smbuyer{/mp4-flv}

7 ส.ค. 55  ห้องประชุมมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค นิตยสารฉลาดซื้อ ร่วมกับเครือข่ายเตือนภัยสารเคมีเกษตร ประกอบไปด้วย กะหล่ำปลี คะน้า ถั่วฝักยาว ผักกาดขาว ผักบุ้งจีน ผักชีและพริกจินดา โดยเลือกจากผักที่ขายใน 3 แหล่ง ได้แก่ ห้างสรรพสินค้า  ซึ่งมีทั้งผักมาตรฐาน Q และกลุ่มตราห้าง (house brand)   ตลาดสด 2 ตลาด และผักจากรถเร่    ขณะนี้การตรวจวิเคราะห์แล้วเสร็จมีรายงานผลออกมาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยจะมีการแถลงผล

นายพชร แกล้วกล้า เจ้าหน้าที่ ฝ่ายสนับสนุนองค์กรผู้บริโภคและพัฒนานโยบาย มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ตามที่เครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช (Thai-PAN : Thailand Pesticide Alert Network) ร่วมกับนิตยสารฉลาดซื้อ ได้ดำเนินการสุ่มตรวจผัก 7 ชนิดซึ่งเป็นผักที่บริโภคกันทั่วไป โดยสุ่มเก็บจากผักที่ได้รับมาตรฐาน Q และผักตราห้าง (house brand)ที่ขายในห้างค้าปลีกขนาดใหญ่และซุปเปอร์มาร์เก็ตต่างๆในเขตกรุงเทพมหานคร  และพบว่าพืชผักดังกล่าวมีสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างเกินค่ามาตรฐาน ถึง 6 ตัวอย่างจากจำนวนที่สุ่มเก็บมา 14 ตัวอย่าง หรือคิดเป็น 43% ของตัวอย่างทั้งหมด ซึ่งได้แถลงไปเมื่อวันที่ 11 กรกฏาคม 2555 ที่ผ่านมานั้น

เครือข่ายไทยแพนและนิตยสารฉลาดซื้อยังได้สุ่มผักจำนวน 7 ชนิด ซึ่งประกอบไปด้วย กะหล่ำปลี คะน้า ถั่วฝักยาว ผักกาดขาว ผักบุ้งจีน ผักชี และพริกจินดา ที่ขายในตลาดสดทั่วไป 2 ตลาด ได้แก่ ตลาดห้วยขวาง และตลาดประชานิเวศน์ รวมถึงผักที่ขายในรถเร่ ไปวิเคราะห์หาสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้าง 2 กลุ่ม คือ กลุ่มออร์แกโนฟอสเฟตและคาร์บาเมต ที่ห้องปฏิบัติการของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ปรากฏผลดังต่อไปนี้  

 

1. ผักในตลาดสดทั่วไปและรถเร่พบสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างเกินมาตรฐาน 38.1%

จากจำนวนตัวอย่างผักที่สุ่มตรวจจากตลาดห้วยขวาง 7 ตัวอย่าง ตลาดประชานิเวศน์หนึ่ง 7 ตัวอย่าง และจากรถเร่ 7 ตัวอย่าง พบสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างเกินมาตรฐานทั้งหมด 8 ตัวอย่างจากทั้งหมด 21 ตัวอย่าง หรือคิดเป็น  38.1 % ซึ่งถือว่าใกล้เคียงกับผลการสุ่มตรวจผักที่มีตรามาตรฐาน Q ของกรมวิชาการเกษตรและผักที่ขายในห้างซึ่งพบว่ามีผักที่พบสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างเกินมาตรฐาน 43 %  ทั้งๆที่ผักดังกล่าวมีราคาแพงมากกว่าผักที่ขายในตลาดสดตั้งแต่ 2-10 เท่า

ตารางแสดงผักที่มีสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างเกินค่า MRL ยุโรป แยกตามแหล่งที่ซื้อ

ชนิดผัก 

ที่มา 

Q

ตราห้าง 

ตลาดห้วยขวาง 

ประชานิเวศน์ 

รถเร่ 

ถั่วฝักยาว

P

P

P

P


ผักชี

P

P

P

P


คะน้า

 

P

P

 

 

พริกจินดา

 

P

P

P

P

2. ผักชี ถั่วฝักยาว พริกจินดา คือผัก 3 ชนิดที่มีสารพิษตกค้างมากที่สุด

1)      ถั่วฝักยาว พบสารตกค้างเกินมาตรฐาน 6 ชนิด  ได้แก่ Acephate, Carbofuran, EPN, Ethion, Methomyl และ Omethoate  เช่น ถั่วฝักยาวตราผักดอกเตอร์มี CarbofuranและMethomyl  เกินค่ามาตรฐานยุโรป 3.5 และ 4 เท่าตามลำดับ ถั่วฝักยาวที่ได้จากห้างเทสโก้พระรามสองพบ Ethion เกินมาตรฐาน 5 เท่า ในขณะที่ถั่วฝักยาวที่ได้จากตลาดห้วยขวางพบ EPNเกินค่ามาตรฐานถึง 34 เท่า

2)      ผักชี พบสารตกค้างเกินมาตรฐาน 5 ชนิด  ได้แก่ Carbofuran, Chlorpyrifos, EPN, Methidathion และ Methomy ที่น่าสนใจคือผักชีจากกูร์เมต์ มาร์เก็ต (สยามพารากอน) พบCarbofuran เกินค่ามาตรฐาน  37.5 เท่า ผักชีตลาดประชานิเวศน์ พบ Carbofuran เกิน 56.5 เท่า ในขณะที่ตลาดห้วยขวาง พบ EPN เกิน 102 เท่า

3)      พริกจินดา พบสารตกค้างเกินมาตรฐาน 2 ชนิด ได้แก่ Methidathion และ Triazophos  โดยพริกจินดาจากรถเร่มี Methidathion ตกค้างสูงกว่าค่ามาตรฐานถึง 121 เท่า ในขณะที่พบจากตลาดห้วยขวางและประชานิเวศน์ประมาณ 5 เท่า

4)      คะน้า พบสารตกค้างเกินมาตรฐาน 2 ชนิด ได้แก่ Dicrotophos และ Methidathion โดยพบสารเคมี Dicrotophos ตกค้างมากที่สุดที่ตลาดห้วยขวาง โดยพบสูงกว่า 202 เท่าเทียบกับมาตรฐานของยุโรป

 

3. ผักบุ้งจีนปลอดภัยกว่าแต่กะหล่ำปลีและผักกาดขาวยังต้องเฝ้าระวัง 

ผักที่ไม่พบสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในกลุ่มออร์แกโนฟอสเฟตและคาร์บาเมตตกค้างเลย คือ ผักบุ้งจีน เนื่องจากเป็นผักที่มักมีศัตรูพืชน้อยกว่าผักประเภทอื่นๆ สำหรับกะหล่ำปลีและผักกาดขาวซึ่งเป็นผักที่มีความเสี่ยงในการพบสารเคมีตกค้างค่อนข้างมากนั้น ผลการสำรวจครั้งนี้ยังพบว่ามีการตกค้างน้อยกว่ามาตรฐานที่สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (มกอช.) และของสหภาพยุโรปกำหนดไว้ ซึ่งอาจเกิดจากช่วงที่สุ่มเก็บตัวอย่างนั้นยังไม่ใช่ฤดูกาลที่ศัตรูพืชของผักประเภทนี้ระบาดทำให้มีการใช้สารเคมีน้อยกว่าปกติ อย่างไรก็ตามสารที่พบก็เป็นสารที่มีอันตรายร้ายแรง คือ Carbofuran และ Methomyl แม้ไม่เกินค่ามาตรฐานแต่หากได้รับบ่อยๆก็จะสะสมในร่างกายจนก่อให้เกิดอันตรายได้  

 

4. มีสารกำจัดศัตรูพืชที่ต้องเฝ้าระวังหรือห้ามใช้นอกเหนือจากวัตถุอันตรายร้ายแรง 4 ชนิด (Carbofuran, Methomyl, Dicrotophos และ EPN)

จากปริมาณสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่ตกค้างชี้ให้เห็นว่า มีสารเคมีหลายชนิดที่จะก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพของผู้บริโภค ซึ่งนอกจาก Carbofuran, Methomyl, Dicrotophos, EPN ที่เป็นสารอันตรายร้ายแรงและอยู่ในบัญชีเฝ้าระวังของกรมวิชาการเกษตรแล้ว ยังมีสารเคมีที่น่ากังวลอีก คือ Methidathion (ยุโรปห้ามใช้แล้ว) ที่พบในผักหลายชนิด พบจากทุกแหล่งซื้อ และมีปริมาณที่ตกค้างสูงมากจนน่ากังวล เช่น ในพริกจินดา ที่พบตกค้างมากเกินค่า MRL ถึง 121 เท่า


 

ด้าน นางสาวปรกชล อู๋ทรัพย์  ผู้ประสานงาน เครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ได้ยื่นข้อเสนอเพื่อหาทางออก ดังนี้

  1. กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะต้องดำเนินการควบคุมการส่งเสริมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของบริษัทสารเคมีและเกษตรกรให้เข้มงวดเท่าเทียมกับที่มีมาตรการที่ใช้กับผักส่งออก โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลิตภัณฑ์ที่ติดตรา Q ซึ่งเป็นมาตรฐานที่กรมวิชาการเกษตรกำกับอยู่ ทั้งนี้รวมทั้งการยกเลิกการขึ้นทะเบียนและห้ามมิให้มีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่หลายประเทศห้ามใช้แล้วโดยทันที
  2. สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุขต้องมีมาตรการในการสุ่มตรวจดูความปลอดภัยของผักและผลไม้โดยอาจประสานความร่วมมือกับเครือข่ายภาคประชาสังคมและองค์กรผู้บริโภค ทั้งนี้โดยทำงานในเชิงรุกร่วมกับห้างขนาดใหญ่ และตลาดสดที่อยู่ภายใต้กำกับของกรุงเทพมหานคร องค์กรท้องถิ่น หรือภาคเอกชน เพื่อให้ผักและผลไม้ภายในประเทศปลอดภัยยิ่งกว่านี้
  3. ผู้บริโภคและประชาชนทั่วไปร่วมกันสนับสนุนและผลักดันเกษตรกรรมอินทรีย์ เกษตรกรรมยั่งยืนซึ่งปฏิเสธและหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชให้เป็นแนวทางหลักของระบบเกษตรและอาหารของประเทศ อีกทั้งร่วมอุดหนุนผักและผลไม้จากระบบการผลิตดังกล่าวให้มากยิ่งขึ้น
  4. ในระยะเฉพาะหน้านี้ ผู้บริโภคอาจสามารถลดผลกระทบจากปัญหานี้ได้โดยการเลือกซื้อหรือบริโภคพืชผักที่มีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชน้อย ผักพื้นบ้าน ผักที่ได้รับมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ การลดสารเคมีตกค้างในผักโดยการล้างด้วยน้ำหลายๆครั้งหรือการใช้ด่างทับทิม (อาจไม่ได้ผลเสมอไปเพราะสารเคมีกำจัดศัตรูพืชหลายชนิดเป็นประเภทดูดซึม) ไปจนถึงการปลูกผักเพื่อบริโภคเอง โดยอาจหาข้อมูลเบื้องต้นที่เกี่ยวข้องได้จากเว็บไซท์ที่เกี่ยวข้อง เช่น www.consumerthai.org , www.thaipan.org  และ www.ฉลาดซื้อ.com

นางสาวทัศนีย์  แน่นอุดร  หัวหน้ากองบรรณาธิการนิตยสารฉลาดซื้อ แนะผู้บริโภค ควรบริโภคผัก ผลไม้ตามฤดูกาล หรือผักพื้นบ้าน  เพราะปลอดภัยจากสารฆ่าแมลง  นอกจากนี้ผู้บริโภคควรเป็นผู้กำหนดวิถีการกินได้ด้วยตนเอง    โดยต้องเข้มแข็งในการเลือกอาหารที่ปลอดภัยและมีประโยชน์  ไม่ใช่ให้ผู้ประกอบการมีบทบาทกำหนดสินค้าในตลาดได้อีกต่อไป

ตารางผนวกที่ 1 ปริมาณสารเคมีตกค้าง (มก./กก.) ของผักชนิดต่างๆแยกตามสถานที่ซื้อ

ลำดับที่

ชนิดผัก 

ผักห้างและผักมาตรฐานQ

ผักตลาดทั่วไปและรถเร่ 

มาตรฐาน Q

ผักตราห้าง 

ตลาดห้วยขวาง 

ตลาดประชานิเวศน์ 

รถเร่ 

1

กะหล่ำปลี

ไม่พบ

ไม่พบ

Carbofuran < 0.01  (0.02)

ไม่พบ

ไม่พบ

2

คะน้า

Methiocarb < 0.01  (0.02)

Methidathion < 0.05 (0.02) 2.5 เท่า

Dicrotophos 2.02  (0.01) 202 เท่า

Aldicarb < 0.01  (0.02)

ไม่พบ

 

 

Oxamyl < 0.01  (0.02)

Methiocarb 0.01 (0.02)

 

3

ถั่วฝักยาว

Carbofuran 0.07  (0.02) 3.5 เท่า

Ethion < 0.05  (0.01) 5 เท่า

Acephate < 0.05  (0.02) 2.5 เท่า

Omethoate 0.07  (0.02) 3.5 เท่า

Chlorpyrifos 0.05 (0.05)

Methomyl 0.08  (0.02) 4 เท่า

 

EPN 0.34      (0.01) 34 เท่า

 

Carbofuran < 0.01 (0.02)

 

 

 

 

Methomyl 0.01  (0.02)

4

ผักกาดขาว

ไม่พบ

ไม่พบ

Carbofuran 0.01  (0.02)

Carbofuran 0.01  (0.02)

Carbofuran < 0.01 (0.02)

 

 

Methomyl < 0.01  (0.02)

 

Methomyl 0.01  (0.02)

5

ผักบุ้งจีน

ไม่พบ

ไม่พบ

ไม่พบ

ไม่พบ

ไม่พบ

แถบสีเหลืองคือผักที่มีสารตกค้างเกินมาตรฐาน

วงเล็บสีแดงคือ MRL ตามมาตรฐานEU

ตัวเลขหลังวงเล็บคือจำนวนเท่าที่เกินมาตรฐาน

 

ลำดับที่

ชนิดผัก 

ผักห้างและผักมาตรฐานQ

ผักตลาดทั่วไปและรถเร่ 

ลำดับที่

ชนิดผัก 

ผักห้างและผักมาตรฐานQ

6

ผักชี

Methidathion < 0.05  (0.02) 2.5 เท่า

Chlorpyrifos 0.84  (0.05) 16.8 เท่า

Chlorpyrifos 0.10  (0.05) 2 เท่า

Chlorpyrifos < 0.05  (0.05)

ไม่พบ

 

Methidathion 0.06  (0.02) 3 เท่า

Methidathion 0.06 (0.02) 3 เท่า

Aldicarb 0.02  (0.02)

 

 

Aldicarb 0.01  (0.02)

EPN 1.02   (0.01) 102 เท่า

Carbofuran 1.13  (0.02) 56.5 เท่า

 

 

Carbofuran 0.75  (0.02) 37.5 เท่า

Methomyl 0.04  (0.3)

 

 

7

พริกจินดา

Chlorpyrifos 0.31  (0.5)

Methidathion < 0.05  (0.02) 2.5 เท่า

Chlorpyrifos 0.05  (0.5)

Chlorpyrifos 0.07  (0.5)

Methidathion 2.42  (0.02) 121 เท่า

 

 

Methidathion 0.11  (0.02) 5.5 เท่า

Methidathion 0.10  (0.02) 5 เท่า

Methomyl < 0.01 (0.02)

 

 

Carbaryl 0.01  (0.05)

Triazophos 0.05  (0.01) 5 เท่า

 

 

 

 

Carbaryl 0.02  (0.05)

 

 

แถบสีเหลืองคือผักที่มีสารตกค้างเกินมาตรฐาน

 

 

 

 

วงเล็บสีแดงคือ MRL ตามมาตรฐานEU

 

 

 

 

ตัวเลขหลังวงเล็บคือจำนวนเท่าที่เกินมาตรฐาน

 

 

 

พิมพ์ อีเมล