บริหารเวลา

เขียนโดย มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (มพบ.). จำนวนผู้ชม: 2637

ถ้าคุณรู้สึกว่า อะไรๆ ก็ฉัน ลองอ่าน บทความนี้ดูค่ะ

คุณเคยพบสถานการณ์แบบนี้ในที่ทำงานไหม ?
++ ต้องพูดคุยกับคนแปลกหน้า ที่ไม่ได้นัดหมายไว้
++ ดูเหมือนคุณมีงานยุ่งอยู่ตลอดเวลา
++ ไม่ได้เป็นพนักงานรับโทรศัพท์ แต่ทำไมรับโทรศัพท์ตลอดเลยนะ
++ ดูเหมือนว่า จะไปทำงานของคนอื่นเข้า จนลืมงานตัวเองไป
++ เสียเวลาเพราะข้าวของไม่อยู่เป็นที่เป็นทาง
++ ชอบคิดว่า พรุ่งนี้ไม่สายเกินไป
++ ต้องย้อนกลับไปทำเรื่องที่ทำเสร็จไปแล้ว
++ ชอบบอกตัวเองว่า ไม่มีเวลา
++ คุณโทษคนอื่นอยู่เสมอเวลาที่งานผิดพลาด
++คุณเอางานที่ควรจะเสร็จตั้งแต่เมื่อวานนี้มาทำวันนี้
++ คุณไม่เคยวางเป้าหมายงานของตัวเอง
++คุณทำงานทุกอย่างแต่เพียงผู้เดียว

ถ้าคุณรู้สึกว่ามันเป็นอย่างนั้นใช่เลยมากกว่าครึ่งหนึ่ง เรากำลังบอกคุณว่า ไม่แปลกหรอกที่วันหนึ่งซึ่งมี 24 ชั่วโมงเท่ากันทุกคน แต่คุณกลับรู้สึกว่า มันน้อยเสียเหลือเกิน เพราะคุณมัวเสียเวลาไปกับเรื่องที่ไม่เป็นเรื่องมากเกินไป ปัจจัยนั้นมาจากทั้งตัวคุณเอง เช่น นิสัยชอบทำงานคนเดียว ผัดวันประกันพรุ่งหรือโทษคนอื่น

ปัจจัยจากภายนอกเช่น การรับโทรศัพท์ การเสียเวลาไปกับคนแปลกหน้า หรือแม้แต่การอ่านหนังสือประเภทนิตยสารซึ่งทำให้เวลาของคุณเสียไป แม้แต่การเสียเวลาไปจัดเอกสารที่ควรทิ้งไปได้แล้วเพื่อหาเอกสารสำคัญ ๆ ซึ่งวางไว้กระจัดกระจาย

ลองมาปรับใหม่ โดยเริ่มต้นจาก
++ การวางแผนประจำวันว่า วันนี้คุณต้องทำอะไรบ้าง ตรงเวลาและให้ความสำคัญกับแผนที่วางไว้ วิธีการทำงานมีได้มากกว่าหนึ่งวิธี ไม่ควรแบกภาระไว้คนเดียว กระจายงานไปให้กับบุคคลที่เหมาะสมกับงาน
++ ปัจจัยภายนอกอย่างเรื่องรับโทรศัพท์ การวุ่นวายกับเครื่องไม้เครื่องมือ น่าจะแก้ไขได้โดยการแบ่งภาระหน้าที่และสร้างความชำนาญให้ตัวเองในเรื่องเครื่องไม้เครื่องมือ

หัวใจของความสำเร็จของการบริหารเวลาคือ ให้ความสำคัญกับงานของตัวเอง เลี่ยงการเสียเวลาจากสถานการณ์ต่าง ๆ ตลอดจนทบทวนว่าแผนที่วางไว้ คุณได้ทำลุล่วงไปแล้ว
"อย่าทำงานของวันนี้ในวันพรุ่งนี้"

เก็บข้อมูลดีดีมาฝากจากจากฉลาดซื้อ ฉบับที่ 41

พิมพ์