ก๊าซหุงต้มขึ้นราคาระวัง "สุก" ทั้งแผ่นดิน

เขียนโดย มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (มพบ.). จำนวนผู้ชม: 12985

ถึง คุณพ่อบ้าน แม่บ้าน พ่อค้าแม่ขาย ผู้ใช้รถยนต์ LPG
และพี่น้องประชาชนที่เคารพทุกท่าน

จำได้ไหมว่า...ใครหาเสียงจะกระชากค่าครองชีพให้ประชาชน
ปีใหม่นี้โดนแน่ ถ้าประชาชนไม่ทำอะไร

 

 

กระทรวงพลังงาน บอกว่าจะขึ้นราคาก๊าซหุงต้มให้ได้เท่าราคาตลาดโลก ปรับขึ้นเดือนละ 50 สตางค์ต่อกก. ตั้งแต่มกราคม 2556 เป็นต้นไป ปีแรกจะขึ้นจาก 18.13 บาท/กก. เป็น 24.82 บาท/กก. เพิ่มขึ้น 6.69 บาท/กก. และเตรียมขยับขึ้นในปีถัดไปด้วย เห็นตัวเลขแบบนี้ อย่าคิดว่าเป็นเรื่องจิ๊บๆ นะ

 

คิดดูสิ...ถ้าบ้านเราใช้ก๊าซหุงต้มถังขนาด 15 กิโลกรัม เราจะต้องจ่ายค่าก๊าซเพิ่มขึ้นปีละ 100 บาท 2 ปี 200 บาทเชียวนะ นี่ยังไม่รวมค่ารถส่งก๊าซอีก เฮ้อ.. ได้ขึ้นค่าแรง 300 บาท แต่พอครบ 2 ปี ถูกเอาคืนไปถึง 200 บาท เชียวล่ะ !!

 

แล้วค่าครองชีพจะขึ้นไปอีกเท่าไหร่ล่ะ ทั้งข้าวแกง ข้าวถุง ค่าสินค้าในชีวิตประจาวัน คิดหรือว่าบัตรคูปองพลังงาน หรือร้านธงฟ้าจะช่วยเราได้จริงโดนกันอย่างนี้ ไม่รู้ว่ากระชากขึ้นหรือกระชากลงกันแน่ !

 


นอกจากก๊าซหุงต้มแล้ว รถยนต์ที่ใช้ก๊าซแอลพีจีล่ะจะเป็นยังไง?

 

 

ก๊าซแอลพีจีที่ใช้กับรถยนต์จะใช้หน่วยเป็นลิตร แอลพีจี 1 กิโลกรัม = 1.85 ลิตร

ตอนนี้ราคาก๊าซแอลพีจีที่ใช้ในรถยนต์อยู่ที่ 21.38 บ./กก. (11.56 บ./ลิตร)
รมต
. พลังงาบ เอ้ย พลังงาน บอกว่า ในปี 2556 จะปรับขึ้น 24.82 บ./กก.(13.42 บ./ลิตร)

หรือเพิ่มขึ้น 3.44 บ./กก. (1.86 บ./ลิตร) แต่ใจจริงแล้ว กระทรวงพลังงานอยากให้มีการปรับราคาขึ้นกิโลกรัมละ 1.20 บาท/เดือน เพื่อให้ถึงราคาตลาดโลกที่ 36 บาท/กก.ภายใน 1 ปี

 

หลังปรับราคาหนึ่งปี ราคาแอลพีจีที่ใช้กับรถยนต์จะขึ้นเป็นลิตรละ 19.34 บาท เท่ากับขึ้นไปถึง 67% เชียวล่ะ
ผลคือ จ่ายเงินเท่ากันแต่จะได้ก๊าซ LPG น้อยลง
ปัจจุบันลิตรละ 11.56 บาท เติม 500 บาทได้ก๊าซ LPG จานวน 43 ลิตร

ถ้าปรับขึ้นเป็นลิตรละ 19.34 บาท เติม 500 บาทเท่ากัน จะได้ก๊าซ LPG แค่ 26 ลิตรเท่านั้น
เงินเท่ากัน แต่ได้ก๊าซน้อยลงถึง 17 ลิตร

ตาย ตาย แน่ ๆ นี่มันกระชากค่าครองชีพขึ้นไปแขวนไว้บนขื่อนี่ ไม่ได้ช่วยลดค่าใช้จ่ายให้ประชาชนตาดา ๆ เลยนะ
บัตรเครดิตพลังงานก็เป็นช่วงโปรโมชั่นสั้น ๆ เท่านั้นแหละ !!

 


 

รู้ไหมว่า
ใครได้ใช้แอลพีจีราคาถูกที่สุด
?

ดูซิ...ธุรกิจปิโตรเคมีซึ่งส่วนใหญ่เป็นบริษัทในเครือ ปตท. ใช้แอลพีจีมากถึง 36% (เกือบเท่าภาคครัวเรือน) แต่ได้ใช้แอลพีจีราคาถูกกว่าใคร

รมต.พลังงานบอกว่า แอลพีจีที่เอาไปใช้ในธุรกิจปิโตรเคมีราคา 16.20 บาทต่อ กก.* ส่วนกลุ่มที่ใช้แพงสุด คือ กลุ่มโรงงานอุตสาหกรรมทั่วไป อย่างเช่น พวกเซรามิกใช้แค่ 11% ทั้งๆที่เป็นกลุ่มอุตสาหกรรมเหมือนกัน แต่จ่ายแพงที่สุดเกือบ 25 บาทต่อ กก.

เมื่อรัฐบาลจะขึ้นราคาแอลพีจีในภาคครัวเรือน ยานยนต์ และอุตสาหกรรมเล็กๆ ให้ไปใช้ราคาตลาด “โลภ” คือกิโลกรัมละ 36 บาทเป็นเป้าหมายสุงสุด กลุ่มที่จะได้รับประโยชน์คือกลุ่มบริษัทในเครือ ปตท.ทั้งหมด ได้แก่ กลุ่มธุรกิจก๊าซธรรมชาติ กลุ่มโรงกลั่นน้ามัน ที่ผลิตก๊าซแอลพีจีออกมาขายต้นทุนไทยแต่ได้ขายในราคาตลาดโลก และกลุ่มธุรกิจปิโตรเคมี จะมีอภิสิทธิ์มากกว่าภาคประชาชน เพราะได้ใช้ราคาถูกสุด คือ 16.20 บาทต่อ กก.

 อย่างนี้จะยุติธรรมกับประชาชนไหมเนี้ยะ?


 

จริงไหม...ที่กระทรวงพลังงานบอกว่า เราต้องนาเข้าก๊าซหุงต้มในราคาตลาดโลก
แต่เอามาขายคนไทยในราคาถูกกว่า เป็นต้นเหตุให้กองทุนน้ามันมีหนี้ก้อนโต

จริงหรือไม่จริง...ลองดูจากภาพนี้ก็ได้นะ

เห็นได้ชัดเจนว่าปริมาณก๊าซแอลพีจีที่คนไทยใช้มาจากแหล่งต่าง ๆ เรียงตามลำดับ ดังนี้

1. จากแหล่งก๊าซธรรมชาติในประเทศ 55%
2. จากโรงกลั่นน้ามันในประเทศ 23%
3. จากการนาเข้า 22%

ขณะนี้ก๊าซจากอ่าวไทยที่ใช้ผลิตแอลพีจี มีเพียงพอต่อการใช้ของประชาชนทั้งภาคครัวเรือนและยานยนต์ แต่รัฐบาลจะขับไล่ไสส่งให้คนไทยไปซื้อในราคานาเข้า 100% และอุ้มชูธุรกิจปิโตรเคมีที่นาแอลพีจีไปใช้เป็นวัตถุดิบ โดยซื้อได้ในราคาต่ากว่าตลาดโลกถึง 40-50% ต่ากว่าที่ประชาชนซื้อ

จึงพูดได้ว่า หนี้ก้อนโตของกองทุนน้ามันนั้นมาจากการอุ้มชูธุรกิจปิโตรเคมี ไม่ใช่เป็นเพราะการใช้ของประชาชนอย่างที่กระทรวงพลังงานโฆษณาหลอกประชาชนจ๊ะ !!


 

รัฐบาลควรทำอย่างไร

ในการกำหนดราคาแอลพีจีที่เป็นธรรมต่อประชาชน

1. ก๊าซแอลพีจีที่ผลิตจากโรงแยกก๊าซธรรมชาติ รัฐบาลควรจัดให้ภาคประชาชนได้ใช้ก่อนทั้งภาคครัวเรือนและยานยนต์ เพราะก๊าซธรรมชาติที่ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตแอลพีจีมาจากแผ่นดินไทย ถือเป็นทรัพยากรของประชาชน และเพียงพอต่อการใช้ของภาคประชาชนอยู่แล้ว แอลพีจีส่วนที่เหลือจากการใช้ของภาคประชาชนให้จาหน่ายกับภาคอุตสาหกรรมได้ หากไม่เพียงพอให้ภาคอุตสาหกรรมเป็นผู้รับภาระในการนำเข้าเอง

2. รัฐบาลควรหยุดนโยบายปรับขึ้นราคาแอลพีจีกับภาคครัวเรือนและภาคยานยนต์ เนื่องจากการให้สัมปทานปิโตรเลียมของประเทศไทย เป็นระบบสัมปทานที่รัฐได้รับผลประโยชน์ตอบแทนต่ำที่สุดในอาเซียน ทาให้ผู้รับสัมปทานมีต้นทุนการผลิตก๊าซธรรมชาติรวมถึงก๊าซแอลพีจีที่ต่ำ เช่น แหล่งน้ำมันสิริกิติ์ อันเป็นแหล่งใหญ่มีพื้นทีครอบคลุมถึง 5 จังหวัดได้ กำแพงเพชร สุโขทัย พิษณุโลก นครสวรรค์ และอุตรดิตถ์ มีต้นทุนการผลิตแอลพีจีบวกกำไรของผู้รับสัมปทาน อยู่ที่ประมาณ 9 บาทต่อกิโลกรัมเท่านั้น ขณะที่ราคาค้าปลีกแอลพีจีที่จำหน่ายให้แก่ภาคครัวเรือน และภาคยานยนต์ ซึ่งรวมกำไรของผู้ค้าและภาษีแล้ว อยู่ที่ 18.13 บาทต่อกิโลกรัม และ 21.38 บาทต่อกิโลกรัม ตามลำดับ จึงเป็นราคาที่ผู้ค้าได้กำไรมากอยู่แล้ว

3. หนี้ของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงที่ปัจจุบันติดลบอยู่ประมาณ 17,000 ล้านบาท เกิดจากการนาเงินกองทุนน้ำมันฯไปอุดหนุนธุรกิจปิโตรเคมีซึ่งเป็นบริษัทในเครือบริษัท ปตท จำกัด(มหาชน) ดังนั้น แทนที่รัฐบาลจะปรับขึ้นราคาแอลพีจีกับภาคครัวเรือนปีละ 6 บาทต่อกิโลกรัม รัฐบาลควรสั่งให้ปิโตรเคมีที่ใช้แอลพีจีปีละ 2,400 ล้านกิโลกรัม จ่ายเงินเข้ากองทุนน้ำมันอย่างน้อยกิโลกรัมละ 7 บาทเหมือนที่สั่งเก็บจากโรงงานอุตสาหกรรมอื่นๆ จะได้เงินถึงปีละ 16,800 ล้านบาท เพียงแค่ปีเดียวหนี้กองทุนน้ำมันฯจะหมดไป และเพื่อความเป็นธรรมกับประชาชน รัฐบาลควรสั่งให้ ปตท. ส่งคืนเงินที่ได้รับชดเชยส่วนต่างราคาแอลพีจีนำเข้าไปแล้วประมาณหนึ่งแสนล้านบาทให้แก่กองทุนน้ำมันฯ โดยเร็ว เพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินของกองทุนน้ำมันฯ ที่นำไปชดเชยให้ภาคปิโตรเคมีนับแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

 

4. สภาผู้แทนราษฎร ต้องเร่งออกกฎหมายองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคโดยด่วนที่สุด เพื่อให้ประชาชนในฐานะผู้บริโภคสามารถรวมตัวกันได้อย่างเข้มแข็งในการปกป้องคุ้มครองสิทธิของตนเอง ไม่ให้ใครมาเอารัดเอาเปรียบได้ง่ายๆ ปัจจุบันร่างกฎหมายฉบับนี้ ยังถูกแช่แข็งอยู่ในสภาผู้แทนราษฎร ส.ส.นักการเมือง เสียงส่วนใหญ่ยังไม่ยอมยกขึ้นมาพิจารณา น่าห่วงว่าถ้าประเทศไทยเข้าสู่ประชาคมอาเซียนโดยไม่มีองค์การอิสระฯ นี้เป็นเกราะกำบัง ผู้บริโภคไทยแย่แน่

กำหนดการเคลื่อน
มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคร่วมกับเครือข่ายธรรมาภิบาลด้านพลังงาน

“หยุด” ขึ้นราคาก๊าซแอลพีจี
 


วัน-เวลา 

กิจกรรม 

จันทร์ที่17 ธ.ค. 2555

10.00-13.00 น.

แถลงข่าวที่ ถ.สีลม หน้าตึก CP

พร้อมแจกเอกสาร “ตีแผ่ความจริง... ก๊าซหุงต้ม ใครปล้นคนไทย?”  

ตัวแทนเข้าร่วม.... มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ข่ายผู้บริโภค 

เครือข่ายสลัม 4 ภาค คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย

เครือข่ายสตรี 4 ภาค ข่าย ปปส. 50 เขต กทม.

กลุ่มทวงคืนพลังงานสาคร  ข่ายแรงงานนอกระบบ  

พฤหัสบดี 20 ธ.ค. 55

เช้า-บ่าย

เครือข่ายพี่น้องประชาชนต่างจังหวัด เข้ายื่นหนังสือคัดค้านการขึ้น LPG ถึงนายกรัฐมนตรีผ่านผู้ว่าราชการจังหวัด  

(จังหวัดที่ยืนยันมาแล้ว...เลย อุดรธานี อุบลราชธานี)

15.00-18.00 น. 

กรุงเทพมหานคร ขึ้นป้ายยักษ์ตีแผ่ความจริง ก๊าซหุงต้ม ใครปล้นคนไทย? ณ สะพานลอยและลานรอบอนุสาวรีย์ชัยฯ พร้อมแจกเอกสารความรู้สู่ประชาชน

ศุกร์ที่ 21 ธ.ค.2555 

09.00-12.00 น.

เครือข่ายปฏิรูปพลังงานแห่งชาติ เดินรณรงค์จากลานพระบรมรูป ร.5 ไปหน้ารัฐสภา ยื่นหนังสือต่อประธานรัฐสภาคัดค้านการขึ้นราคา LPG 

มกราคม 2556

เป็นต้นไป

เวทีดาวกระจาย ต่างจังหวัด เพิ่มความรู้ประชาชน สู้ปัญหาพลังงานไร้ธรรมาภิบาล 

ติดต่อประสานงาน มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค  

โทร.089-4552710 www.facebook.com/goosoogong

พิมพ์