คอบช.หนุนรัฐธรรมนูญใหม่ต้องเกิดองค์การอิสระคุ้มครองผู้บริโภค

เขียนโดย มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (มพบ.) วันที่ . จำนวนผู้ชม: 11705

pic9
คอบช. เสนอให้มีการทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญ คุ้มครองสิทธิพลเมืองด้านผู้บริโภค เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมจากภาคประชาชน และการให้มีองค์การอิสระคุ้มครองผู้บริโภค ที่อิสระในด้านงบประมาณ มีอำนาจหน้าที่ตามร่างพระราชบัญญัติองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. ... และให้มีตัวแทนของผู้บริโภคเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการฯ โดยให้คัดเลือกกันเอง


29 เม.ย. 58 คณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชน ( คอบช. )แถลงในวันคุ้มครองผู้บริโภคไทย 30 เม.ย.58 ที่โรงแรมเอบีน่า ถึงการได้ทำหน้าที่เหมือนที่ระบุใน ร่าง พระราชบัญญัติองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ซึ่งเป็นองค์การอิสระจากหน่วยงานของรัฐ ตามที่ระบุใน มาตรา 61 ของ รัฐธรรมนูญปี 2550 และในร่างรัฐธรรมนูญปี 2558 ได้มีการระบุอยู่ใน มาตรา 60 โดยเฉพาะการทำบทบาทติดตามนโยบายสาธารณะ ที่ส่งผลกระทบต่อผู้บริโภคทั้งมวลในสังคมไทย

นางสาวสุรีรัตน์ ตรีมรรคา กรรมการผู้เชี่ยวชาญ ด้านบริการสุขภาพ กล่าวว่า ในเรื่องของการยกร่างรัฐธรรมนูญ คณะกรรมการฯ ได้ทำความเห็นต่อ คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ให้มีการกำหนดเรื่อง การคุ้มครองสิทธิพลเมืองด้านผู้บริโภค เสนอให้มีการทำประชามติ เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมจากภาคประชาชน และการให้มีองค์การอิสระคุ้มครองผู้บริโภค

"การเกิดองค์การอิสระคุ้มครองผู้บริโภคอยากให้คงหลักสำคัญ 3 ประการ คือ 1. เป็นองค์การที่มีความอิสระในด้านงบประมาณ โดยรัฐมีการสนับสนุนงบประมาณตามจำนวนหัวประชากร 2. มีอำนาจหน้าที่ตามร่างพระราชบัญญัติองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. ... 3. มีตัวแทนของผู้บริโภคเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการองค์การอิสระฯ โดยการคัดเลือกกันเองเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชน" นางสาวสุรีรัตน์กล่าว

supapornนางสุภาพร ถิ่นวัฒนากูล กรรมการ/ผู้แทนเขต 5 ภาคเหนือ กล่าวว่า มีการสร้างความเข้มแข็งให้เครือข่ายองค์กรผู้บริโภคทั้งประเทศ โดยผ่านการทำงานในโครงการต่างๆ ร่วมกัน เช่น โครงการรถโดยสารสาธารณะ โครงการเฝ้าระวังสื่อ และโครงการสร้างความเข้มแข็งกลไกการคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชน

" จากสถิติการร้องเรียนของหน่วยงานเครือข่ายองค์กรผู้บริโภค 6 ภาค และมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค มีเรื่องร้องเรียนที่ผ่านมาในปี 2557 รวมทั้งสิ้น 2,710 เรื่อง พบปัญหาที่ผู้บริโภคร้องเรียนเข้ามามากที่สุดได้แก่ ปัญหาบริการสุขภาพและสาธารณสุข 858 เรื่อง ปัญหาด้านการเงินการธนาคาร 476 เรื่อง และปัญหาด้านสื่อและโทรคมนาคม 426 เรื่อง ตามลำดับ นอกจากนี้ ในเรื่องของการตรวจสอบหน่วยงานรัฐ พบว่า หลายหน่วยงานไม่ปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ คำสั่ง ที่กำหนดไว้ในกฎหมาย เช่น กรณีที่กรุงเทพมหานคร และสำนักงานเขตปทุมวันอนุญาตให้มีการก่อสร้างตึกสูงในซอยร่วมฤดีโดยผิดกฎหมาย ซึ่งศาลปกครองสูงสุดได้มีคำพิพากษาให้ชาวบ้านในชุมชนซอยร่วมฤดีชนะคดี พร้อมมีคำสั่งให้กทม.และสำนักงานเขตปทุมวันดำเนินการรื้อถอนอาคารเจ้าปัญหา ภายใน 60 วัน ซึ่งคดีนี้จะเป็นตัวอย่างที่ดีให้แก่การดำเนินงานของหน่วยงานรัฐต้องมีความเข้มงวดในการอนุญาตการก่อสร้างอาคารมากขึ้น หรือในกรณีกระทรวงอุตสาหกรรมไม่ได้ปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตีในการยกเลิกแร่ใยหิน ทำให้ผู้บริโภคยังตกอยู่ในความเสี่ยงต่อสุขภาพจากอันตรายของแร่ใยหินซึ่งตามร่างรัฐธรรมนูญที่กำลังพิจารณาอยู่นี้ ก็มีการตั้งหน่วยงานตรวจสอบขึ้นมามากมาย และหนึ่งในนั้นคือ องค์การเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ซึ่งได้กำหนดไว้ในมาตรา 60 " นางสุภาพรกล่าว

pic charomภญ.ชโลม เกตุจินดา กรรมการ/ผู้แทนเขต 7 ภาคใต้ กล่าวว่า มีการตรวจสอบการปฏิบัติงานของหน่วยงานรัฐโดยส่งเรื่องให้ สภานิติบัญญัติแห่งชาติตรวจสอบ กสทช. ใน 2 กรณีสำคัญคือ (1) กำหนดค่าโทรศัพท์ตามจริงโดยไม่ปัดเศษเป็นนาที เพื่อคุ้มครองสิทธิผู้บริโภค ไม่ให้ถูกเอาเปรียบจากการใช้บริการโทรคมนาคม (2) การครอบงำกิจการสื่อ กรณีการเข้าซื้อหุ้นของ บริษัทเนชั่น โดยเจ้าของทีวีช่องดิจิตอลอีกช่องหนึ่ง

พร้อมกล่าวเพิ่มเติมว่า ในการสื่อสารและสร้างการเรียนรู้แก่ผู้บริโภค มีการเผยแพร่ข้อมูลให้ผู้บริโภคผ่านทางสื่อต่างๆ ทั้ง www.indyconsumers.org และเฟสบุคองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค พร้อมจัดประกวดผลงานสื่อมวลชนและหน่วยงานดีเด่นด้านการคุ้มครองผู้บริโภคในทุกปี

นางสาวบุญยืน ศิริธรรม กรรมการ/ผู้แทนเขต 6 ภาคตะวันตก กล่าวว่า มีการเสนอความเห็นต่อหน่วยงานรัฐ ใน 2 เรื่องสำคัญ คือ ในด้านการเงินการธนาคาร ที่มีการคิดค่าธรรมเนียมต่างๆ โดยเสนอให้ยกเลิกการคิดค่าธรรมเนียม ซึ่งหลังจากมีรัฐบาลได้เสนอความเห็นในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติการทวงถามหนี้ ต่อคณะกรรมาธิการพิจารณาร่าง พระราชบัญญัติการทวงถามหนี้ พ.ศ.

"ในสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เสนอให้มีการคุ้มครองลูกหนี้นอกระบบ และมีกลไกภาคประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมในคณะกรรมการทวงถามหนี้ทุกระดับ ทั้งในระดับจังหวัดและระดับประเทศ และในด้านพลังงาน ได้เสนอความเห็นไปยังรัฐบาลเพื่อขอให้ชะลอการเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 จนกว่าจะมีการตรวจสอบปริมาณการใช้ การผลิตที่แท้จริง และให้มีการปรับโครงสร้างราคาพลังงานที่เป็นธรรม

เรื่องพลังงานเป็นอีกเรื่องทำสำคัญที่องค์การอิสระฯ เข้าไปมีส่วนร่วมเพราะหากปล่อยมีเปิดสัมปทานรอบที่ 21 การปฏิรูปโครงสร้างพลังงานต้องรอถึง 39 ปี คณะองค์การอิสระฯ จึงได้มีความเห็นไปยังรัฐบาลให้แก้ไข พ.ร.บ.ปิโตเลียม 2514 ก่อนจึงจะเปิดให้สัมปทาน เพราะใน พ.ร.บ.เดิมกำหนดคนที่จะทำเรื่องพลังงานต้องได้รับสัมปทานเท่านั้น ในปี 2565 สัมปทานด้านพลังงานต่างๆจะหมดสัมปทานและทรัพย์สินต่างๆจะตกมาเป็นของประเทศไทย และช่วงนี้เองเราสามารถจ้างคนและแบ่งปันผลผลิตเพื่อเป็นประชาชนไทย จนในที่สุดรัฐบาลยอมรับฟังและชลอการเปิดสัมปทาน จนกว่าจะแก้ พ.ร.บ.ปิโตเลียมเสร็จ"กรรมการ/ผู้แทนเขต 6 ภาคตะวันตกกล่าว

chumponอาจารย์จุมพล ชื่นจิตร์ศิริ รองประธาน/ ผู้เชี่ยวชาญด้านอสังหาริมทรัพย์ กล่าวว่า มีการสนับสนุนงานวิจัยที่ส่งผลต่อการกำหนดนโยบายการคุ้มครองสิทธิผู้บริโภค เช่น เรื่อง " โครงการวิจัยความรับผิดเพื่อชำรุดบกพร่องในสัญญาซื้อขายและการคุ้มครองผู้บริโภค " โดย นายเชิดวุฒิ สินพิมลบูรณ์ ซึ่งข้อเสนอจากงานวิจัยดังกล่าว สภาปฏิรูปแห่งชาติ ( สปช. ) ได้ใช้ผลักดันให้เกิดการร่างกฎหมายความรับผิดในความชำรุดบกพร่องของสินค้า

pic10รศ.ดร.จิราพร ลิ้มปานานนท์ ประธาน/ผู้เชี่ยวชาญ ด้านอาหารยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ กล่าวว่า มีการพัฒนาข้อมูลวิชาการ ผ่านการทำงานวิจัย ในพื้นที่ทุกภูมิภาค

"ซึ่งทำทั้ง 1. การศึกษาเรื่อง ราคาค่าใช้จ่ายด้านการรับบริการสุขภาพในโรงพยาบาล ของเอกชน และของรัฐ ซึ่งถือเป็นอุปสรรคในการสร้างความเป็นธรรมต่อผู้บริโภค ที่ไปรับบริการแล้วถูกเรียกเก็บเงินสูงมาก กรณีนโยบาย ฉุกเฉิน ๓ กองทุน เข้ารักษาที่ไหนก็ได้ ไม่ถามสิทธิ ไม่ต้องจ่ายเงิน 2. งานวิจัยเพื่อพัฒนาสู่ข้อเสนอต่อหน่วยงานรัฐในการมีนโยบายหรือกฎหมายในการสร้างความเข้าใจกับประชาชน ก่อนการติดตั้งเสาส่งสัญญาณโทรศัพท์ เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมของประชาชนและคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคในการใช้บริการโทรคมนาคม" รศ.ดร.จิราพรกล่าว

พิมพ์