กลูโคซามีน ยอดภูเขาน้ำแข็งของปัญหายานอกบัญชี

เขียนโดย มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (มพบ.) วันที่ . จำนวนผู้ชม: 4407

ค่าใช้จ่ายของระบบสวัสดิการรักษา พยาบาลข้าราชการนั้นสูงกว่าระบบหลักประกัน สุขภาพถ้วนหน้าหรือบัตรสามสิบบาทถึง 4 เท่า ทั้งที่ทั้งสองระบบต่างก็อาศัยงบประมาณแผ่นดินจากเงินภาษีประชาชนเหมือนกัน ทั้งนี้เพราะระบบสวัสดิการข้าราชการนั้นเป็นระบบงบปลายเปิดเบิกได้ไม่อั้น แม้งบที่ตั้งไว้จะหมดก็ล้ำมาใช้งบกลางได้เสมอ แม้ในปัจจุบันการเบิกยานอกบัญชีจะมีวางระบบให้แพทย์ต้องรับรองให้เกิดยุ่ง ยากมากขึ้น แต่ก้ไม่ทำให้การสั่งจ่ายยานอกบัญชีของแพทย์ลดลง

 


ค่าใช้จ่ายค่ารักษาพยาบาลของข้าราชการในปี 2547 งบประมาณที่ได้รับ 17,000 ล้านบาท แต่มีค่าใช้จ่ายจริง 26,043 ล้านบาท ในปี 2553 ได้รับจัดสรรงบประมาณ 48,500 ล้านบาท มีค่าใช้จ่ายจริงถึง 62,195 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเกือบ 3 เท่าในเวลาไม่กี่ปี ในขณะที่บัตรทองถูกแช่เข็งไม่ให้เพิ่มงบประมาณเป็นเวลา 3 ปี แต่สวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการกลับเพิ่มขึ้นอย่างมาก ยิ่งสร้างความเหลื่อมล้ำ ลดความเป็นธรรม สวนทางกับนโยบายเสื้อแดงของรัฐบาล

ยากลูโคซามีนเป็นยาผงละลายน้ำโดยมี สรรพคุณที่ยังมีความคลุมเครือทางวิชาการอย่างมากในการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม ด้วยว่ากินเข้าไปแล้วจะเพิ่มน้ำข้อเข่าได้จริงหรือไม่ และที่สำคัญข้าราชการมีการเบิกใช้ยาตัวนี้ตัวเดียวปีละกว่า 600 ล้านบาท กรมบัญชีกลางและนักวิชาการจึงออกระเบียบในการจัดให้เป็นยาที่ต้องจ่ายเงิน เอง ซึ่งก็สมเหตุสมผล แต่ได้รับการต่อต้านจากวิชาชีพแพทย์บางกลุ่มและบริษัทยาอย่างเป็นระบบ โดยอ้างว่าก้าวก่ายจำกัดสิทธิของผู้ป่วยและแพทย์

ปัญหาน่าปวดหัวของการสั่งจ่ายยาราคาแพงโดยรัฐหรือกองทุนสุขภาพต้อง เป็นผู้รับภาระนั้น เป็นเรื่องที่หลายประเทศในโลกล้วนประสบปัญหา ผู้ป่วยทุกคนอยากได้ยาแพงฟรีๆ แพทย์หรือโรงพยาบาลก็ได้กำไรตามมูลค่าที่สั่งจ่ายยาและแถมยังได้รับประโยชน์ จากการส่งเสริมการขายจากบริษัทยาเช่นการได้ค่าเดินทางให้ไปประชุมต่างประเทศ หรือไปเที่ยวหรือให้ของขวัญราคาแพง เสมือนการผันเอาภาษีคนทั้งประเทศมาให้บริษัทยาโดยฉกฉวยความไม่รู้ของผู้ป่วย มาเป็นเครื่องมือ

ในอดีตประเทศในยุโรปก็ปวดหัวกับเรื่องนี้อย่างมาก และสูตรสำเร็จของการแก้ปัญหาที่ดีที่สุดก็คือ การให้ผู้ป่วยร่วมจ่ายค่ายานอกบัญชียาหลัก โดยมีบัญชีอัตราร่วมจ่ายที่หลากหลายตามประเภทของยา อย่างยากลูโคซามีนที่ไม่มีหลักฐานทางวิชาการที่ชัดเจน วิตามิน อาหารเสริม อาจให้ร่วมจ่าย 100% แต่ยาบางตัวเช่นยาแก้ปวด ยาลดกรดที่อยู่นอกบัญชี หากแพทย์ประสงค์จะใช้ ผู้ป่วยอาจร่วมจ่าย 50% เมื่อผู้ป่วยร่วมจ่ายผู้ป่วยจะบอกแพทย์เองว่า สำหรับเขาแล้วเขาคิดว่ายาในบัญชีก็เพียงพอเพราะเขาป่วยไม่มาก ยานอกบัญชีไว้ใช้เมื่อยาในบัญชีใช้ไม่ได้ผลแล้ว เพราะเมื่อร่วมจ่าย เหตุผลเชิงความคุ้มค่าจะเข้ามาเป็นตัวประกอบในการที่ผู้ป่วยร่วมตัดสินใจใน ทันที แต่หากคนยากคนจนไม่มีเงินร่วมจ่าย อันนี้ก็เป็นหน้าที่ของระบบการสังคมสงเคราะห์ที่จะเข้ามาช่วยประเมินตรวจสอบ และให้การสงเคราะห์เป็นรายๆไป

ด้วยวิธีการร่วมจ่ายยานอกบัญชียาหลัก เท่านั้น จึงจะแก้ปัญหางบค่ารักษาพยาบาลของข้าราชการบานไม่หุบเช่นนี้ได้ ภาษีประชาชนที่ประหยัดได้นั้น ก็นำมาส่งเสริมสุขภาพข้าราชการหรือจ่ายคืนเป็นเงินจ่ายกับข้าวให้กับข้า ราชการยังดีเสียกว่าเอางบประมาณไปเข้ากระเป๋าบริษัทยา

ข้อมูลจาก นสพ.ASTVผู้จัดการออนไลน์
6/11/55

พิมพ์