เอายาปฏิชีวนะ ออกจากอาหารของเรา

590311 anti5
banner name
ปัจจุบัน ๕๐% ของยาปฏิชีวนะทั่วโลก ถูกใช้ในทางการเกษตร ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญในการทำให้เกิดปัญหาเชื้อดื้อยา และเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตจากภาวะติดเชื้อและการเจ็บป่วยเล็กน้อยซึ่งเคย รักษาได้ในอดีต

คนตายปีละ ๓๘๔๘๑ คน คนป่วยเป็นแสน สูญเสียทางเศรษฐกิจ ๔๐,๐๐๐ ล้านบาทต่อปี

กระทรวงสาธารณสุข เปิดเผย ปัจจุบันปัญหาการดื้อยาของเชื้อจุลชีพที่ทำให้เกิดโรคมีแนวโน้มสูงขึ้น เรื่อยๆ สาเหตุสำคัญมาจากการใช้ยาปฏิชีวนะที่มากขึ้น ทั้งการใช้อย่างไม่จำเป็นและเกินความจำเป็น โดยมูลค่าการใช้ยาปฏิชีวนะของคนไทยมากกว่า ๑๐,๐๐๐ ล้านบาทต่อปี และมีการติดเชื้อชนิดที่ดื้อยาปฏิชีวนะปีละกว่า ๑๐๐,๐๐๐ คน มีผู้ป่วยติดเชื้อชนิดดื้อต่อยาปฏิชีวนะ ๕ ชนิด เสียชีวิต ๓๘,๔๘๑ ราย แซงโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด มูลค่าสูญเสียทางเศรษฐกิจจากการเจ็บป่วยและเสียชีวิตก่อนวัยอันควรปีละกว่า ๔๐,๐๐๐ ล้านบาท ทำให้ยาปฏิชีวนะตัวเก่าที่เคยใช้ ไม่ได้ผลเท่าที่ควร ผู้ป่วยบางรายต้องเปลี่ยนใช้ยาตัวใหม่ซึ่งมีราคาแพงมาก เชื้อดื้อยาบางชนิดไม่มียารักษาที่มีประสิทธิผลดีและปลอดภัย ทำให้มีค่าใช้จ่ายในการรักษาเพิ่มขึ้น ใช้เวลารักษานานขึ้นและโอกาสเสียชีวิตสูง ผลเสียต่อไปหากเชื้อชนิดนี้แพร่ไปสู่ผู้ป่วยรายอื่นและเกิดการระบาดในชุมชน จะมีผลทำให้โรคติดต่อที่เคยควบคุมได้กลับมาระบาดมากขึ้น นอกจากนี้ เชื้อดื้อยายังสามารถถ่ายทอดรหัสพันธุกรรมดื้อยาไปสู่เชื้อสายพันธุ์อื่นทำ ให้ปัญหาการดื้อยาทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นนี้

วันที่ ๑๕ มีนาคมของทุกปี ถือเป็น “วันสิทธิผู้บริโภคสากล” World Consumer Rights Day ซึ่งปีนี้สหพันธ์ผู้บริโภคสากล (Consumers International หรือ CI)[1] ร่วมกับองค์กรผู้บริโภคทั่วโลก เรียกร้องให้ได้ให้ความสำคัญเรื่องอาหารปลอดภัยและรณรงค์“เอายาปฏิชีวนะ ออกจากอาหารของเรา ” (Antibiotics Off the Menu)  เพื่อลดอันตรายจากเชื้อดื้อยาปฏิชีวนะ รวมทั้งลด ละ เลิกการใช้ยาปฏิชีวนะในการกระบวนการเลี้ยงสัตว์เพื่อเป็นอาหาร 


[1] สหพันธ์ผู้บริโภคสากล (Consumers International หรือ CI) เป็นเครือข่ายขององค์กรผู้บริโภคทั่วโลก มีสมาชิกเป็นองค์กรผู้บริโภค จำนวน ๒๒๐ องค์กรใน ๑๑๕ ประเทศ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เป็นสมาชิกสามัญของประเทศไทย


พิมพ์ อีเมล