คำเตือน

JFolder: :files: Path is not a folder. Path: /home/consumer/web/consumerthai.org/public_html/images/action/560402_actionfood-kit

แจ้งให้ทราบ

There was a problem rendering your image gallery. Please make sure that the folder you are using in the Simple Image Gallery plugin tags exists and contains valid image files. The plugin could not locate the folder: images/action/560402_actionfood-kit

มพบ.ชี้เนสท์เล่ ต้องเรียกเก็บคิทแคทมีพลาสติกผสมในไทยด้วย

มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ทวงความรับผิดชอบจากเนสท์เล่  ให้มีมาตราฐานเดียว กรณี พบคิทแคทมีพลาสติกผสม  : เรียกร้องให้เรียกเก็บคืนสินค้าออกจากชั้นวางของในไทย เช่นเดียวกับที่ทำในประเทศอื่น ๆ  พร้อมสื่อสารสาธารณะแจ้งให้ประชาชนทราบถึงสาเหตุของปัญหา

 

วันนี้ (2 เมษายน 2556)  เวลา 14.00 น.  ที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค และโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งกลไกคุ้มครองผู้บริโภคความปลอดภัยด้านอาหารภาคประชาชน แถลงข่าว ร้องขอความรับผิดชอบจาก เนสท์เล่ ให้มีการเรียกคืน คิทแคท ชั้งกี้ ออกจากชั้นวาง เช่นเดียวกับที่ทำในหลายประเทศที่เป็นข่าวไปแล้ว พร้อมชี้แจงแก่สาธารณะให้ทราบถึงสาเหตุของปัญหาและวิธีการแก้ไขของบริษัท

จากกรณีที่มีข่าวเนสท์เล่สั่งเก็บ คิทแคท 6 ชนิด โดยสมัครใจ หลังพบพลาสติกผสมอยู่ในเนื้อช็อกโกแลตที่เคลือบขนม โดยได้มีการเลือกคืนสินค้าในประเทศอังกฤษ เยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ มอลตาแคนาดา ออสเตรเลีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ และมาเลเซีย พร้อมให้ผู้บริโภคนำสินค้ามาคืนและรับเงินได้เต็มจำนวนภายใต้ข้อแม้ว่าหีบห่อของสินค้ายังอยู่ในสภาพสมบูรณ์ไม่มีรอยฉีกขาด นั้น

นายอิฐบูรณ์ อ้นวงษา หัวหน้าศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค ได้รับเรื่องจากการประชุมผู้บริโภคของเครือข่ายผู้บริโภคภาคเหนือเมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา ได้พบ คิทแคท ชั้งกี้ ที่ซื้อจากห้างเทสโก้ โลตัส สาขาสิงห์บุรี มีพลาสติกผสมอยู่ในเนื้อช็อกโกแลตเคลือบขนม เช่นเดียวกับที่เป็นข่าวในต่างประเทศ ซึ่งเป็นข้อพิสูจน์ว่าความผิดพลาดที่เกิดขึ้นมิได้จำกัดอยู่แค่ประเทศใดประเทศหนึ่ง หากแต่ อาจจะมีความเสี่ยงแบบเดียวกันกระจายอยู่ในทุกที่ ที่มีการจำหน่ายสินค้าชนิดนี้  

“เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ทางผู้ผลิตควรต้องแสดงความรับผิดชอบและใช้มาตรฐานเดียวในการดำเนินการ มากกว่าแค่รอให้เกิดเรื่องแบบเดียวกันขึ้นในประเทศอื่น แล้วค่อยแก้ไขปัญหาด้วยการคืนเงินค่าสินค้า การเรียกคืนสินค้าที่จำหน่ายในประเทศไทยทั้งหมดควรจะเกิดขึ้นตั้งแต่ก่อนจะมีข้อมูลว่าพบสินค้าที่มีปัญหาแบบเดียวกันแล้วและ จากข่าวยังมีข้อมูลอีกว่ามีการเรียกคืนสินค้าในประเทศมาเลเซีย ซึ่งคิทแคททั้งหมดที่จำหน่ายในบ้านเรา นำเข้ามาจากมาเลย์ทั้งหมด ดังนั้น เมื่อมีการเรียกคืนสินค้าในประเทศที่เป็นแหล่งผลิต การเรียกคืนสินค้าในประเทศที่เป็นแหล่งจำหน่าย เป็นเรื่องสมควรอย่างยิ่งที่ต้องกระทำ นอกจากนี้ ผู้ประกอบการสมควรจะต้องแจ้งให้ผู้บริโภคทราบถึงที่ไปที่มาของปัญหาอย่างเป็นทางการพร้อมสิ่งที่บริษัทจะดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นนี้ด้วย  สำหรับผู้บริโภคที่พบปัญหานี้สามารถแจ้งความไว้เป็นหลักฐาน เพื่อดำเนินคดีได้นายอิฐบูรณ์ กล่าว  

นายพชร แกล้วกล้า ผู้ประสานงานโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งกลไกคุ้มครองผู้บริโภคความปลอดภัยด้านอาหารภาคประชาชน กล่าวว่า การเรียกคืน (Recall) คำนี้ตามกฎหมายไทย ไม่ได้ให้นิยามไว้ แต่เมื่อพิจารณานิยามการเรียกคืนผลิตภัณฑ์สุขภาพของสำนักงานอาหารและยา สหรัฐอเมริกาให้นิยามการเรียกคืนผลิตภัณฑ์ว่าเป็นกระบวนการที่นำผลิตภัณฑ์ออกจากตลาด ซึ่งอาจริเริ่มดำเนินการจากผู้ประกอบการ หรือตามที่สำนักงานอาหารและยาร้องขอ หรือโดยคำสั่งของสำนักงานอาหารและยาซึ่งใช้อำนาจตามกฎหมาย[1] ส่วน The General Product Safety Regulations 2005 ของอังกฤษให้นิยามการเรียกคืนว่าเป็นมาตรการใดที่มีจุดมุ่งหมายนำผลิตภัณฑ์ซึ่งขายหรือทำให้แก่ผู้บริโภคแล้วนำกลับคืนมา[2]

นายพชร กล่าวต่อว่า โดยสรุป การเรียกคืนผลิตภัณฑ์ คือ  มาตรการใดที่เกี่ยวข้องกับการนำผลิตภัณฑ์ออกจากตลาด โดยผู้ประกอบการอาจใช้ความสมัครใจริเริ่มดำเนินการด้วยตนเอง หรือเริ่มจากหน่วยงานภาครัฐที่มีหน้าที่กำกับดูแลร้องขอ หรือโดยคำสั่งจากหน่วยงานของรัฐซึ่งใช้อำนาจตามกฎหมาย ซึ่งการเรียกคืนนี้อาจเป็นการเปลี่ยนเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ หรือนำผลิตภัณฑ์เดิมไปซ่อมแซม หรือนำผลิตภัณฑ์ที่มีความชำรุดบกพร่องหรือไม่ปลอดภัยออกไป โดยที่ไม่จำเป็นต้องมีการทำลายผลิตภัณฑ์ที่มีการเรียกคืนเสมอไป หากสามารถเปลี่ยนแปลงผลิตภัณฑ์ได้เพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดตามกฎหมาย ข้อกำหนดด้านสุขภาพและความปลอดภัย

การเรียกคืนสินค้ากลุ่มอาหารผ่านการใช้อำนาจรัฐในประเทศไทยเท่าที่ทราบยังไม่ปรากฏ เนื่องจาก ตาม พ... อาหาร พ.. 2522 มิได้มีการกำหนดให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) มีอำนาจในการสั่งเรียกเก็บคืนสินค้าออกจากชั้นวางหากพบว่าเป็นอาหารที่มีปัญหา  โดยกำหนดอำนาจไว้แค่ให้เจ้าหน้าที่มีอำนาจในการยึดหรืออายัดอาหารหรือภาชนะบรรจุที่เก็บมาโดยพนักงานเจ้าหน้าที่เมื่อได้ทำการตรวจพิสูจน์เป็นที่แน่นอนว่าเป็นอาหารไม่บริสุทธิ์, อาหารปลอม, อาหารผิดมาตรฐาน, หรือเป็นภาชนะบรรจุที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพหรือนามัยของประชาชนหรือมีลักษณะไม่ถูกต้องตามคุณภาพหรือมาตรฐาน ที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดตามมาตรา 6(6) และได้กำหนดให้ เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยาหรือผู้ซึ่งเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยามอบหมายโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการอาหารอาจสั่งทำลาย หรือปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่เห็นสมควรได้ ตามมาตรา 44” นายพชร กล่าว

 

นายพชร ยังกล่าวอีกว่าอย่างไรก็ตาม ปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงทางกฎหมาย ทำให้การเรียกคืนสินค้าได้ถูกระบุไว้ ใน พ...คุ้มครองผู้บริโภค (ฉบับที่ 3) .. 2556 ซึ่งประกาศเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2556 โดยได้มีการแก้ไขเพิ่มเติม ในสาระสำคัญเกี่ยวกับการเรียกคืนและทำลายสินค้าโดยมีการกำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจจัดเก็บสินค้าที่ยังไม่ได้จำหน่ายแก่ผู้บริโภคกลับคืน หรือเรียกคืนสินค้าจากผู้บริโภค (มาตรา 36 วรรคสอง(1)) ให้ผู้ประกอบธุรกิจทำลายสินค้านั้น (มาตรา 36 วรรคสอง (5)) ให้ผู้ประกอบธุรกิจปิดประกาศ แจ้ง หรือโฆษณาข่าวสารเกี่ยวกับอันตรายของสินค้านั้นให้ผู้บริโภคทราบ หรือการดำเนินการที่เกี่ยวข้อง (มาตรา 36 วรรคสอง (6)) พร้อมให้ผู้ประกอบธุรกิจรับผิดชอบค่าใช้จ่ายของผู้บริโภคและค่าใช้จ่ายในการดำเนินการตามวรรคสอง (มาตรา 36 วรรคสาม) ทั้งนี้ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการดำเนินการตามมาตรา 36 วรรคสอง มาตรา 36 วรรคสาม ให้เป็นไปตามประกาศของคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา นอกจากนี้หากมีมาตรการใดเกี่ยวกับสินค้าตามมาตรานี้ก็ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเช่นเดียวกัน” “จะเห็นว่ายังมีโอกาสที่จะมีการปรับแก้ พ... อาหารให้มีการให้อำนาจแก่ อย. เช่นเดียวกับที่เกิดขึ้นกับ สคบ. เพื่อให้เกิดการแก้ไขเชิงระบบ อันนำมาซึ่งการหลีกเลี่ยงปัญหาที่คล้ายกันซึ่งอาจจะเกิดขึ้นกับผลิตภัณฑ์อื่นในภายหลังได้

 จึงขอเรียกร้องให้สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ดำเนินการสั่งให้บริษัทเนสท์เล่ เรียกคืนผลิตภัณฑ์ในประเทศไทยเช่นเดียวกันกับที่เกิดขึ้นในประเทศต่าง ๆ แล้วทั้ง 9 ประเทศ ตามที่เป็นข่าว และจะทำหนังสือถึง อย. ให้ข้อเสนอแนะในการเพิ่มเติมให้มีการเรียกคืนผลิตภัณฑ์ระบุไว้ใน พ... อาหาร ซึ่งขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการปรับปรุงและอยู่ในกระบวนการพิจารณาโดยกฤษฎีกาด้วย

{gallery}action/560402_actionfood-kit{/gallery}

มพบ.ชี้เนสท์เล่  ต้องเรียกเก็บคิทแคทมีพลาสติกผสมในไทยด้วย 

พิมพ์ อีเมล