มูลนิธิเพื่อผู้บริโภควิจารณ์รัฐไม่ส่งเสริมพลังงานทางเลือก

มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ร้องรัฐแก้ปัญหาพลังงานอย่างยั่งยืน หนุนประชาชนใช้พลังงานทางเลือกแทนการนำเข้าก๊าซเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า

 
คลิป 1


คลิป 2


21 ก.พ. 56 ที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค รศ.ดร.จิราพร ลิ้มปานานนท์  ผศ. ประสาท มีแต้ม คณะกรรมการอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชน นางสาวบุญยืน ศิริธรรม  นายอิฐบูรณ์ อ้นวงษา ร่วมกันแถลงข่าวหัวข้อ"โรงไฟฟ้าไม่ง้อก๊าซ"

รศ.จิราพร ลิ้มปานานนท์ ประธานมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า ปัญหาพลังงาน ที่คล้ายกับกรณีที่รัฐบาลประกาศให้เป็นภาวะฉุกเฉิน เกิดขึ้นทุกปี เพราะรัฐบาลใช้พลังงานจากก๊าซธรรมชาติที่ต้องนำเข้าและผูกขาดเพียงบริษัท เดียว แต่รัฐบาลสามารถเลือกใช้พลังงานจากแหล่งอื่นที่ไม่สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวด ล้อมได้ และรัฐไม่ได้ส่งเสริมพลังงานทางเลือกอย่างจริงจัง

เช่นเดียวกับ ผศ.ประสาท มีแต้ม นักวิชาการด้านพลังงานที่เห็นว่าการนำพลังงานหมุนเวียนมาใช้เป็นทางออกที่ ง่ายที่สุด และรัฐบาลทำได้ทันที

นางสาวบุญยืน ศิริธรรม ประธานสหพันธุ์องค์กรผู้บริโภค กล่าวว่าตน ไม่รู้สึกอะไรเลยกับวิฤกติพลังเพราะรู้แล้วว่าที่รัฐบาลพูดอย่างนี้เพราะ ต้องการขึ้นค่าไฟ  ปีที่แล้วก็พูดแบบนี้ โรงไฟฟ้าจะปิดซ่อม ท่อกาซจะปิดซ่อม ไฟฟ้าพี้ก สุดท้ายสรุปคือ สร้างโรงไฟฟ้าใหม่จากถ่านหิน และขึ้นค่าไฟ แต่ไม่มีนโยบายจะแก้ไขปัญหาพลังงานเพื่อการพึ่งพาตนเองเลย มีความรู้สึกว่ารัฐบาลทำตัวเป็นลิเก ประกาศไฟฟ้าจะขาด ถอดเสื้อสูทแก้ผ้า แต่ยังใช้กาซ  ยังผูกขาดพลังงาน เราเป็นมูลนิธิเล็กๆ ไม่มีเงินงบประมาณจริงๆแล้วรัฐสภา ทำเนียบรัฐบาล ควรเป็นตัวอย่างติดตั้งโซ่ล่าเซลล์ ผลิตไฟฟ้าใช้เอง ผลิตไฟฟ้าจากแสงแดดบนหลังคาได้ ตนอยากเจาะสมองคนพลังงานเอาเรื่องโรงไฟฟ้าถ่านหินกับนิวเครีย์ออก ซึ่งห้างพารากอน ใช้กระแสไฟฟ้า จากเขื่อนถึง 3 เขื่ิอน ทำไมห้างเหล่านี้ไม่ผลิตไฟฟ้าใช้เอง วันนี้ รมต.บอกเราไม่มีไฟฟ้า บอกว่าผลิตเองได้ใช้เองได้ พลังงานแสงแดด ลม เป็นพลังงานสะอาด

นายอิฐบูรณ์  อ้นวงษา มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค   เรียกร้องให้รัฐมนตรีพลังงานทำแผนผลิตไฟฟ้าใหม่ในฉบับปรังปรุงครั้งที่ 3 ให้รัฐสนับสนุนโรงไฟฟ้าขนาดเล็ก หรือสนับสนุนติดพลังงานโซ่ล่าเซลล์ ตามหลังคาบ้านเรืิอนประชาชนเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าใช้ได้เอง เช่นเดียวกับการที่รัฐสนับสนุนออกเงินให้รถแท็กซี่ติดตั้งการใช้กาซเอ็นจีวี แต่ในทางกลับกันกระทรวงพลังงานกำลังประมูลสัญญาในเดือนเม.ย.นี้คือการสร้าง โรงไฟฟ้าถ่านหินขนาด  4,400 เมกกะวัตร์ ที่จะเกิดขึ้นในเดือนเม.ย.เช่นกัน นโยบายการถอดสูทเคยทำมาแล้วหลายรัฐบาลไม่เคยได้ผลจริง แต่กลับโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนของภาคประชาชน เช่นพลังงานชีวมวล ที่กำลังกลายเป็นฟางเพราะไม่สนับสนุนต่อเนื่อง เราอยากเห็นทางออกสังคมในวิฤกติพลังงาน รัฐไม่ส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กตามบ้านเรือน อาคาร โดยไม่รับซื้อแต่กักโควต้าไว้กับนักลงทุนขนาดใหญ่ โยการไฟฟ้าฝ่ายผลิต ไปเซ็นสัญญาล่วงหน้ารับซื้อไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าทั้งในประเทศและประเทศเพื่อน บ้านไว้ 6 หมื่นกว่าล้านและเตรียมขึ้นค้าเอฟทีปลายปีนี้เพื่อผลักภาระให้คนไทย.

ภาวะฉุกเฉินพลังงาน กระทบกรุงเทพฯ
นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ชี้แจงเหตุผลที่ให้ความสำคัญกับการหยุดจ่ายก๊าซ และประกาศภาวะฉุกเฉินด้านพลังงาน ว่าแม้การซ่อมบำรุงแหล่งผลิตก๊าซจะเป็นแผนงานประจำในทุกปี แต่ครั้งนี้ตรงกับช่วงเวลาคาดการณ์ยอดการใช้ไฟฟ้าสูงสุด ประกอบกับก๊าซที่หายไปทำให้ไม่สามารถผลิตไฟฟ้าได้ 6,000 เมกะวัตต์

จนเหลือปริมาณไฟฟ้าสำรองวันที่ 4, 5 เมษายนเพียง 600-700 เมกะวัตต์ ต่ำที่สุดเท่าที่เคยเกิดขึ้น แต่เมื่อผู้ผลิตก๊าซในพม่าเลื่อนการหยุดจ่ายก๊าซเพื่อป้อนโรงไฟฟ้าออกไปเป็น ช่วงบ่ายวันที่ 5 ทำให้โรงไฟฟ้าในไทยยังคงผลิตไฟฟ้าได้ และปริมาณสำรองวันที่ 4 ยังเป็นปกติ

แต่ยังต้องระมัดระวังในวันที่ 5 เม.ย. ที่ว่าอาจเกิดไฟฟ้าตกใน กรุงเทพมหานคร และภาคใต้ เพราะใช้ไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้า 6 แห่ง ฝั่งตะวันตกของประเทศ แต่แก้ปัญหาด้วยการดึงกำลังไฟฟ้าจากภาคอื่นมาใช้แทน

พิมพ์ อีเมล