คำเตือน

JFolder: :files: Path is not a folder. Path: /home/consumer/web/consumerthai.org/public_html/images/action/t.v.uro

แจ้งให้ทราบ

There was a problem rendering your image gallery. Please make sure that the folder you are using in the Simple Image Gallery plugin tags exists and contains valid image files. The plugin could not locate the folder: images/action/t.v.uro

ผู้บริโภค จี้ กสทช.แก้ปัญหา จอดำ

ผู้บริโภค แถลงข่าว เรียกร้องรัฐบาลให้เร่งผลักดันองค์การอิสระเพื่อ การคุ้มครองผู้บริโภคตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ และ พร้อมให้ กสท บังคับทางปกครองกับช่อง 3, 5 และ 9 ให้แพร่ภาพโดยไม่เลือกปฏิบัติต่อทุกคนด้าน กสทช. หารือทางออกพรุ่งนี้

วันนี้ 13 มิ.ย.55 มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค จัดแถลงข่าวหาทางออก การถ่ายทอดฟุตบอลยูโร โดยเชิญตัวแทนจากสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค  น.ส.สุภิญญา  กลางณรงค์  คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) นางสาวสุวรรณา สมบัติรักษาสุข ประธานกรรมการบริหาร ศูนย์กฎหมายและนโยบายสื่อมวลชน สถาบันอิศรา มูลนิธิสื่อมวลชนและมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคร่วมแถลงข่าว

น.ส.สารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่าปัจจุบันผู้บริโภคจำนวน 20 ล้านครัวเรือน มีเพียงร้อยละ 25 เท่านั้นที่ใช้ระบบหนวดกุ้ง เสาอากาศหรือภาคพื้นดิน และมีสูงถึงร้อยละ 75 เป็นผู้บริโภคที่ใช้เคเบิ้ลและดาวเทียมเป็นเครื่องมือในการเข้าถึง FREE TV ซึ่งถือเป็นการละอาจ จะเนื่องจากหลายเหตุผล เช่น ไม่สามารถรับสัญญาณจากหนวดกุ้งหรือเสาอากาศได้ อาศัยในอาคารสูงหรือคอนโดมิเนียม หรือบ้านเรือนปกติแต่ถูกอาคารสูงแวดล้อมจนรับสัญญาณไม่ได้ หรือมีความชอบทางการเมืองที่แตกต่างกัน ซึ่งเครื่องมือเหล่านี้ช่วยสถานีโทรทัศน์ 3 ,5,9 ให้บริการสาธารณะและส่งสัญญาณออกอากาศมาเป็นเวลานาน โดยโทรทัศน์ประเภทบริการสาธารณะหรือ FREE TV แทบจะไม่มีแผนในการขยายพื้นที่ในการส่งสัญญาณภาคพื้นดินในปัจจุบัน

“ถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิ์ผู้บริโภคในการเข้าถึง FREE TV ที่ผ่านมาเรายื่นหนังสือ ถึง กทค. เรื่องขอให้มี มติด่วนให้ออกคำสั่งบังคับทางปกครองกับช่อง 3,5 และ9 และให้แพร่ภาพ  โดยไม่เลือกปฏิบัติกับทุกครัวเรือนเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค  การคุ้มครองผู้บริโภคในกรณีจึงมีความสำคัญและเร่งด่วนเป็นอย่างยิ่ง รวมทั้งเป็นบทบาทและภารกิจโดยตรงของกสท.”

เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ในฐานะตัวแทนองค์กรผู้บริโภคทั่วประเทศ 302 องค์กร ได้ขอเรียกร้องให้กสท. 1.ขอให้ กสท. มีคำสั่งทางปกครองกับช่อง 3, 5, และ 9 เนื่องจากการให้ลิขสิทธิ์ถ่ายทอดฟุตบอลยูโรมีเงื่อนไขของยูฟ่า ว่า ต้องถ่ายทอดผ่านระบบฟรีทีวี ดังนั้นถือเป็นบริการสาธารณะปกติ แต่เมื่อให้ถ่ายทอดทางช่อง 3, 5, และ 9  สถานีโทรทัศน์เหล่านี้ซึ่งเป็นผู้รับใบอนุญาตให้บริการสาธารณะ กลับพบว่า มีการออกอากาศสองรูปแบบในปัจจุบัน คือ มีรายการฟุตบอลและมีการขึ้นคำขออภัยซึ่งเท่ากับว่าสถานีเหล่านี้หยุดให้ บริการสาธารณะ ดังนั้น กสท. ต้องมีคำสั่งบังคับทางปกครองในฐานะผู้รับใบอนุญาตบริการสาธารณะที่หยุดให้ บริการในปัจจุบันเช่นเดียวกับบริษัท TRUE หรือหาก จะเข้มงวดจริงก็ต้องยกเลิกให้ใบอนุญาตบริการสาธารณะ เพราะปฏิบัติขัดต่อแผนแม่บทการเข้าถึงการกระจายเสียงและการแพร่ภาพสาธารณะ เนื่องจากแผนแม่บทเรื่องการเข้าถึงของกสทช.ไม่ได้จำกัดเฉพาะวิธีหนวดกุ้ง หรือภาคพื้นดินแต่จะเป็นวิธีการเป็นแบบไหนก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นเคเบิ้ล หรือดาวเทียม   โดยพบว่าในปัจจุบันผู้บริโภคจำนวน 20 ล้านครัวเรือน มีเพียงร้อยละ 25 เท่านั้นที่ใช้ระบบหนวดกุ้ง เสาอากาศหรือภาคพื้นดิน และมีสูงถึงร้อยละ 75 เป็นผู้บริโภคที่ใช้เคเบิ้ลและดาวเทียมเป็นเครื่องมือในการเข้าถึง FREE TV อาจ จะเนื่องจากหลายเหตุผล เช่น ไม่สามารถรับสัญญาณจากหนวดกุ้งหรือเสาอากาศได้ อาศัยในอาคารสูงหรือคอนโดมิเนียม หรือบ้านเรือนปกติแต่ถูกอาคารสูงแวดล้อมจนรับสัญญาณไม่ได้ หรือมีความชอบทางการเมืองที่แตกต่างกัน ซึ่งเครื่องมือเหล่านี้ช่วยสถานีโทรทัศน์ 3 ,5,9 ให้บริการสาธารณะและส่งสัญญาณออกอากาศมาเป็นเวลานาน โดยโทรทัศน์ประเภทบริการสาธารณะหรือ FREE TV แทบจะไม่มีแผนในการขยายพื้นที่ในการส่งสัญญาณภาคพื้นดินในปัจจุบัน

2. ขอ ให้ดำเนินการลงโทษและปรับทางปกครองกับบริษัทแกรมมี่ในฐานะผู้ได้ลิขสิทธิ์ใน ปัจจุบันที่ได้ดำเนินการผูกขาดในการให้บริการในครั้งนี้ รวมทั้งได้รับประโยชน์มากมาย ทั้งการประชาสัมพันธ์ช่องของตนเอง การขายกล่อง การขายโฆษณา การมีพันธมิตรธุรกิจด้านนี้ และที่สำคัญบริษัทแกรมมี่ไม่เคารพสิทธิของผู้บริโภคที่ต้องเข้าถึงฟรีทีวี ไม่ว่าจะใช้ช่องทางประเภทใด ปัญหาเรื่องค่าตอบแทนลิขสิทธิ์เป็นเรื่องที่มีความสำคัญน้อยในทางธุรกิจใน ครั้งนี้ แต่สิ่งที่สำคัญคือการรับรู้ถึงความมีตัวตนของช่องแกรมมี่ เป้าหมายการขายโฆษณา ซึ่งบริษัทแกรมมี่ควรเลือกอย่างใดอย่างหนึ่งและไม่ใช่ดำเนินการที่อาจจะขัด ต่อกฎหมาย ถึงอย่างไรก็ตามองค์กรผู้บริโภคก็มีจุดยืนว่า การคุ้มครองผลประโยชน์ลิขสิทธิ์เอกชนต้องไม่เกินเลยผลประโยชน์สาธารณะที่ไม่ ได้ดูฟุตบอลในครั้งนี้ จะใช้ข้ออ้างหรือข้อเสนอ ว่า ไมได้ปิดโอกาสฟรีทีวี ใครอยากดูก็ให้ไปซื้อจานของตนเอง(แกรมมี่) หรือไม่ก็สามารถซื้อหนวดกุ้งมาติดชั่วคราว อันละประมาณ 200 บาท(เอง) แต่ 200 บาทเมื่อเทียบกับจำนวนครัวเรือนที่ไม่น้อยกว่า 10 ล้านครัวเรือนก็มีจำนวนสูงถึง 2,000 ล้านบาท นอกจากนี้แกรมมี่ยังสามารถออกอากาศของตนเองด้วยช่องทางผ่านดาวเทียม เพราะลูกค้าต้องใช้กล่องรับสัญญาณเช่นเดียวกันกับเจ้าอื่น(ดังนั้นในทาง เทคนิคไม่ควรมีข้อโต้แย้งว่า จะไม่สามารถจัดการให้จานดาวเทียมต่างๆจำกัดการแพร่ภาพและกระจายเสียงอยู่ เฉพาะในเมืองไทย ซึ่งเป็นเรื่องที่สามารถทำได้ในทางเทคนิคเกือบ 100 เปอร์เซ็นต์) แต่แกรมมี่ใช้การผูกขาดและกีดกัน การผูกขาดในการให้บริการการของแกรมมี่ กสท.จะอ้างว่าไม่ใช่ผู้รับใบอนุญาต เลยจัดการไม่ได้ก็คงไม่ถูกต้อง หรือคงไม่เพียงพอหากดำเนินการเพียงการขึ้นบัญชีดำ หากมาขอใบอนุญาตสถานีโทรทัศน์ในอนาคต แต่ต้องจัดการปัญหาการผูกขาดในการให้บริการ(เถื่อน)ครั้งนี้ด้วยเพราะให้ บริการเถื่อนโดยไม่ขออนุญาตแล้วยังอาจกระทำขัดต่อกฎหมาย และที่สำคัญจะเป็นเยี่ยงอย่างให้กับผู้ประกอบธุรกิจอื่นๆ หากอีกสองปีใครได้รับอนุญาตเป็นผู้แพร่ภาพและกระจายเสียงฟุตบอลโลกเราคงต้อง ซื้อกล่องใหม่กันอีก โดยไม่สนใจผู้บริโภค แล้วผู้บริโภคไทยต้องมีกล่องกี่ประเภทถึงจะเข้าถึงการแพร่ภาพและการกระจาย เสียง

3.ขอ ให้ดำเนินการตรวจสอบการรับอนุญาตการรับและส่งสัณญาณจากดาวเทียมต่างประเทศ และให้มีคำสั่งทางปกครองกับการสื่อสารแห่งประเทศไทย(กสท.) หากไม่มีการขออนุญาต เนื่องจากร่วมมือกับเอกชนในการส่งและตัดสัญญาณ ทำให้เอกชนบางรายได้ประโยชน์ และทำให้ผู้บริโภคไม่สามารถเข้าถึงบริการฟรีทีวีในครั้งนี้ อาจเข้าข่ายสมคบกระทำความผิดด้วย

4. ขอให้กสท.ช่วยสนับสนุนการดำเนินการฟ้องคดีกับ TRUE เพราะ ค่าปรับทางปกครองตามกฎหมายมีมูลค่าที่ต่ำมากเกินไปในปัจจุบัน ควรต้องสนับสนุนให้เกิดการเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นตามจริงที่เป็น เหตุผล เนื่องจากการให้บริการของ TRUE มีการให้สัญญากับลูกค้าหรือผู้บริโภคว่าสามารถดู FREE TV หรือดูฟุตบอลยูโรได้ และสมาชิก TRUE บาง ส่วนมีการเก็บค่าสมาชิกรายเดือนกับลูกค้า ก็ควรรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดจากการให้สัญญากับลูกค้าหรือผู้บริโภค แล้วไม่ทำตามคำสัญญา

นอกจากนั้น ยังมีการวิพากษ์ถึงลิขสิทธิ์ที่บริษัทจีเอ็มเอ็มแกรมมี่ได้รับ และกล่องสัญญาณราคา 1,500 บาทที่ด้อยประสิทธิภาพแล้ว และยังตั้งคำถามว่าการโฆษณาชวนเชื่อของทรูส์ที่ก่อนหน้านี้ย้ำว่าผู้บริโภค จะสามารถรับชมฟุตบอลยูโร 2012แต่กลายเป็นว่ารับชมไม่ได้นั้น จะถือเป็นการหลอกลวงผู้บริโภคหรือไม่ และมีการเสนอให้สืบหาข้อเท็จจริงและตั้งคำถามหรือหาหลักฐานว่าใครคือผู้สมคบ คิดและอยู่เบื้องหลังกรณีจอดำ เอาเปรียบผู้บริโภคในครั้งนี้

สำหรับประเด็นบทบาทของกสทช. ต่อกรณีปัญหาที่เกิดขึ้น ผู้ร่วมเสวนา ทั้งนางบุญยืน, นางสาวสุวรรณา สมบัติรักษาสุข และนางสาวสุวรรณา จิตรประภัสร์ ต่างตั้งคำถามถึงบทบาทและขอบข่ายอำนาจหน้าที่ของกสทช.

“เราเห็นกสทช.ทำงานเย็นได้อย่างเดียว แต่วันนี้เป็นงานร้อน เราต้องรอไปอีก 4 ปี ใครรับผิดชอบ เราถูกละเมิดสิทธิ์ไปฟรีๆ 4 ปี ใครรับผิดชอบ” นางบุญยืน ตั้งข้อสังเกต

ขณะที่ นางสุวรรณา สมบัติรักษาสุข มีความเห็นว่า การที่กสทช.อธิบายกับสังคมในทำนองว่ายึดหลักตามข้อกฎหมายนั้น ต้องไม่ลืมว่าการตีความตามกฎหมายที่ถูกต้องตามตัวหนังสืออย่างเดียวโดยไม่ คำนึงถึงความยุติธรรมที่จะเกิดขึ้นแก่สังคมด้วยนั้น นั่นถือเป็นการใช้กฎหมายที่มีช่องว่าง

ส่วนนางสาวสุวรรณา จิตรประภัสร์ ได้ฝากคำถามที่ท้าทายว่าวันนี้ ผู้บริโภคเดือดร้อน กสทช.ต้องพิจารณา แสดงให้ประชาชนเห็นว่ามีความเป็นอิสระสมกับเป็นองค์กรอิสระจริงๆ มิใช่คิดแบบระบบราชการ

ทางด้านนางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ ตัวแทนจากกสทช. ยอมรับว่าประเด็นจอดำที่กำลังเกิดขึ้นนี้ สิ่งที่มีพลังที่สุดที่จะทำให้มีการเปลี่ยนแปลงที่เป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย ก็คือการเปิดโต๊ะเจรจาจากทุกส่วนที่เกี่ยวข้อง และสำคัญที่สุดคือการที่คนในสังคมได้ร่วมกันอภิปราย แสดงความคิดเห็น หาทางออกร่วมกัน และกำหนดกรอบกติการ่วมกันเพื่อป้องกันไม่ให้เหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นอีกใน อนาคต ทั้งยอมรับว่าเนื่องจาก กสทช. ยังมีข้อจำกัดหลายด้าน เพราะเพิ่งก่อตั้งมาได้เพียง 7 เดือนเท่านั้น กรอบกติกาใดๆ จึงยังไม่ชัดเจนมากพอ

“เชื่อมั่นในการแสวงหาทางออกร่วมกันของคนในสังคมและเชื่อในมาตรการ ทางสังคมที่จะร่วมกันแสดงพลังเพื่อหากรอบกติกาที่เหมาะสมร่วมกัน” นางสาวสุภิญญา กล่าวทิ้งท้าย

 {gallery}action/t.v.uro{/gallery}

พิมพ์ อีเมล