คำเตือน

JFolder: :files: Path is not a folder. Path: /home/consumer/web/consumerthai.org/public_html/images/001-consumers_net/540622_newssouth

แจ้งให้ทราบ

There was a problem rendering your image gallery. Please make sure that the folder you are using in the Simple Image Gallery plugin tags exists and contains valid image files. The plugin could not locate the folder: images/001-consumers_net/540622_newssouth

เครือข่ายผู้บริโภคใต้เฝ้าระวังเคเบิล-วิทยุชุมชนโฆษณา “ยา-อาหารเสริม” เกินจริงระบาด

เครือข่ายผู้บริโภคภาคใต้ กระทุ้งสาธารณสุขจังหวัดเร่งจัดการโฆษณายาอาหารเสริมที่อวดอ้างสรรพคุณเกิน จริงระบาดในสื่อวิทยุชุมชน ภายหลังจากที่องค์กรที่เป็นเครือข่ายใน 5 จังหวัด มีการเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์อาหารและสุขภาพทางสื่อวิทยุชุมชน และเคเบิลทีวี ซึ่งผลิตภัณฑ์บางตัวนั้นทำผิดซ้ำซากแต่ถูกปรับเพียงเล็กน้อย



วันที่ 21 มิ.ย. เมื่อเวลา 11.00 น.ณ โรงแรมคริสตัล อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา เครือข่ายองค์กรผู้บริโภคภาคใต้รายงานผลการเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์อาหารและ สุขภาพทางสื่อวิทยุชุมชน และเคเบิลทีวี ที่มีการโฆษณาเกินจริง ขณะที่หน่วยงานรัฐรับร้องเรียนแต่ติดปัญหาการกำกับดูแลส่งข้อมูลปัญหาให้ สาธารณสุขจังหวัด แต่ติดขัดไม่มีอำนาจดำเนินการเบ็ดเสร็จต่อสถานีวิทยุและเคเบิลทีวีเนื่องจาก กสทช.ที่ต้องทำหน้าที่หลักยังไม่มีการจัดตั้ง ผู้ประกอบการจึงไม่กลัวบทลงโทษ

นางสาวจุฑา สังขชาติ ผู้ประสานงานเครือข่ายองค์กรผู้บริโภคภาคใต้ กล่าวว่า ปัญหาด้านอาหารและผลิตภัณฑ์ด้านสุขภาพ นับวันจะรุนแรงมากขึ้น เห็นได้จากข่าวไก่เน่า ท้องเสียเป็นกลุ่มขายตรง โฆษณาเกินจริง ซึ่งในภาคใต้เคยประสบปัญหาปลากระป๋องเน่า แต่การดำเนินการเป็นได้เพียงส่งเรื่องร้องเรียน เหตุการณ์ทำนองเดียวกันนี้จึงเกิดอย่างต่อเนื่อง

เครือข่ายองค์กรผู้บริโภคทั้งประเทศ 5 ภูมิภาค โดยภาคใต้มีพื้นที่ปฏิบัติการ 5 จังหวัด คือสุราษฎร์ธานี สงขลา ตรัง สตูล พัทลุง ขณะนี้มีเป้าหมายที่การโฆษณาผลิตภัณฑ์อาหารสุขภาพ และยาผ่านช่องทางวิทยุชุมชน และเคเบิลทีวี ซึ่งมีการถกเถียงก่อนหน้านี้ในเครือข่ายว่าเป็นปัญหาหนัก เพราะขณะนี้มีความถี่และเข้าถึงชาวบ้านในพื้นที่ผ่านการขายตรงโดยชักชวนคนใน ชุมชนเป็นสมาชิกขายตรง แต่โฆษณานั้นไม่ได้รับอนุญาตและมีเนื้อหาที่อวดอ้างสรรพคุณเกินจริง

การเฝ้าระวังในพื้นที่ นางสาวสิรินา เพชรรัตน์ ผู้ประสานงานโครงการบริโภคสร้างสรรค์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี เปิดเผยว่า จากการเฝ้าฟังวิทยุชุมชน 3 สถานี คือคลื่นเอฟเอ็ม 98.25 MHz, 103.25 MHz, 106 .00 MHz ซึ่งโฆษณาตัวผลิตภัณฑ์ที่ชัดเจนมีทั้งที่เป็นสปอตโฆษณาและการจัดรายการพูด คุยเป็นช่วงๆ ทั้งวัน ผลิตภัณฑ์ยา 15 ตัว มีตัวหนึ่งที่เน้นเรื่องความน่ากลัวของกินทำให้เป็นมะเร็งโดยผลิตภัณฑ์นี้จะ ช่วยถอนพิษได้ ไปจนถึงการโฆษณาว่าเพิ่มแรงจูงใจทางเพศ

สอดรับกับสงขลาโดย นางสาวบารีย๊ะ ยาดำ สมาคมผู้บริโภคสงขลา เล่าว่า มีการเฝ้าฟัง 2 คลื่น คือ เอฟเอ็ม 87.75 MHz, 91.25 MHz น่าสังเกตว่า เป็นตัวผลิตภัณฑ์เดียวกันกับที่โฆษณาอวดอ้างสรรพคุณเกิดจริงใน จ.สุราษฎร์ธานี โดยมีการจัดรายการพูดคุย 2 ช่วงเวลาใช้บุคคลที่อ้างอิงว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องมดลูก และมีสปอตถี่ทั้งวัน ขณะที่จังหวัดตรัง นายสุชานนท์ สินธิทันยา ผู้ประสานงานพื้นที่เฝ้าคลื่นเอฟเอ็ม 105.25 MHz ให้ข้อมูลเป็นทิศทางเดียวกัน

ทั้งนี้ นางอภิญญา แก้วจันทร์ อาสาสมัครในจังหวัดสงขลาให้ข้อมูลเพิ่มเติมปัญหาการใช้ผลิตภัณฑ์ในอำเภอรัตภูมิ โดยว่ามี เซลล์บอกขายตรงกับญาติ ซึ่งมีปัญหาเส้นเลือดขอด กินไป 3 เดือน มีอาการปวดท้องจึงหยุด อีกผลิตภัณฑ์ คือ เจนิฟูด ลูกหลานดูเคเบิลทีวี ซื้อให้ย่าวัย 80 ปี กินมีปัญหาต้องส่งโรงพยาบาล หมอสั่งให้หยุดและนำผลิตภัณฑ์ส่งต่อให้โรงพยาบาลรัตภูมิ ซึ่งอยู่ระหว่างตรวจสอบว่าสาเหตุของอาการป่วยนั้นมาจากการใช้ผลิตภัณฑ์หรือ ไม่

จากการแลกเปลี่ยนข้อมูลกับสาธารณสุขจังหวัด นางชโลม เกตุจินดา ที่ปรึกษาเครือข่ายผู้บริโภค ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า การบังคับใช้กฎหมายของ อย.จะมีความแตกต่างกันตามตัวผลิตภัณฑ์ถ้าเป็นอาหารก็จะเป็น พ.ร.บ.อาหาร เครื่องสำอางจะเป็น พ.ร.บ.เครื่องสำอาง ซึ่งยาจะเป็นผลิตภัณฑ์ที่เข้มงวดต้องมีการส่งข้อมูลการโฆษณา เพื่อขออนุญาตก่อนนำไปใช้ในสื่อต่างๆ และมีการดำเนินการจับปรับทั่วประเทศโดยบทลงโทษไม่หนัก ทำให้ผู้ประกอบการไม่เกรงกลัวมีการกระทำซ้ำซาก ทำให้ผู้บริโภคเข้าใจว่ามีการรับรองโดยสามารถสื่อในสาธารณะอย่างต่อเนื่อง

“ที่น่าสนใจผลิตภัณฑ์ตัวนี้ชื่อ ซันคาร่า และมีการดำเนินการแพร่หลายทั้งที่ถูกดำเนินการโดยตลอด รวมถึง กสทช.โดยศูนย์เฝ้าฟังยังไม่สามารถดำเนินการใดกับสถานีวิทยุที่ทำการโฆษณา ซึ่งทำได้เพียงส่งเรื่องกลับมาสาธารณสุขจังหวัด” นางชโลมจิต กล่าว

ทั้งนี้ เครือข่ายมีข้อเสนอให้มีมาตรการขั้นเด็ดขาดในการปิดสถานีใช้หลักเกณฑ์วิทยุ กระจายเสียงชุมชน 2552 ข้อ 8(3) (ค) ข้อ 12(4) ข้อ 12(5) และเงื่อนไขตามข้อกฎหมาย (ไม่มีโฆษณา) โดยจะมีการดำเนินการร่วมมือกับสาธารณสุขจังหวัด โดยเครือข่ายจะจัดทำข้อมูลส่งต่อเทปเสียงที่บันทึกไว้เพื่อให้สาธารณสุข จังหวัด และ กสทช.(ศูนย์เฝ้าฟังในพื้นที่) ดำเนินการจัดการสถานีที่กระทำผิดชัดเจนเพื่อเตรียมการเมื่อมี กสทช.จริง และระยะจากนี้เครือข่ายจะดำเนินการเฝ้าระวังฉลากอาหาร และอาหาร ขนมหน้าโรงเรียนที่มีความไม่ปลอดภัย และเป็นปัญหาที่ไม่สามารถจัดการแก้ปัญหาได้เช่นกัน

หลัง จากนี้ เครือข่ายผู้บริโภคภาคใต้จะทำการรณรงค์อย่างต่อเนื่องร่วมกับเครือข่ายผู้ บริโภคทั้งประเทศ และมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคเพื่อเตรียมความพร้อมองค์การอิสระผู้บริโภคที่อยู่ ในวาระค้างคาในวุฒิสภาต่อไปเมื่อผ่านการเลือกตั้งครั้งนี้

{gallery}001-consumers_net/540622_newssouth{/gallery}

พิมพ์ อีเมล