บริษัทประกันชีวิตยอมถอย "ถอดโฆษณา-ปรับเงื่อนไข"

เขียนโดย ศูนย์ข่าวผู้บริโภค. จำนวนผู้ชม: 7762

580901 medical
สมาคมประกันชีวิตยอมถอย ประสานทุกบริษัทถอดโฆษณาผู้สูงอายุทางทีวีทุกบริษัท เริ่ม 1ก.ย.นี้ ชี้เนื้อหาครอบคลุมผู้สูงอายุเข้าใจ โดยเฉพาะเรื่อง "ไม่ตรวจสุขภาพ"

 
เมื่อวันที่ 31ส.ค. นสพ.เดลินิวส์ รายงานข่าวว่าที่สำนักงานใหญ่ นสพ.เดลินิวส์ ถนนวิภาวดีฯ นางบุษรา อึ๊งภากรณ์ ผอ.บริหารสมาคมประกันชีวิตไทยพร้อมด้วยคณะกรรมการสมาคมฯ ประกอบด้วย ม.ล.จิรเศรษฐ ศุขสวัสดิ์ อุปนายกฝ่ายการตลาด นายโชน โสภณพนิช เหรัญญิก นายกิตติ ปิณฑวิรุจน์ เลขาธิการสมาคมฯและคณะอนุกรรมการสมาคมฯ เข้าพบกองบรรณาธิการ นสพ.เดลินิวส์ เพื่อชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับการโฆษณาขายประกันชีวิตโดยไม่ต้องตรวจสุขภาพ ว่า ตั้งแต่วันที่ 1ก.ย.นี้ เป็นต้นไปบริษัทประกันชีวิตทุกบริษัทจะถอดโฆษณาการขายประกันชีวิตอาวุโสทั้ง หมด และหลังจากนั้นจะใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 2 เดือนในการปรับปรุงหรือปรับเปลี่ยนข้อความโฆษณาการขายประกันให้เกิดความ ชัดเจน โดยเฉพาะด้านการคุ้มครองประกันชีวิตว่า กรณีเสียชีวิตจากการเจ็บป่วยภายใน 2 ปีแรก บริษัทจะคืนเบี้ยประกันภัยพร้อมเงินเพิ่ม 2-5 เปอร์เซ็นต์ให้กับผู้เอาประกัน แต่ถ้าผ่านพ้นไปหลัง 2 ปีแล้ว เช่น ปีที่ 3 เกิดเสียชีวิตจะได้รับเงินคืนทั้งหมดตามทุนประกันที่ทำไว้กับบริษัทประกัน ชีวิต สำหรับข้อความการโฆษณานั้นจะแตกต่างกันแต่ต้องวงเล็บไว้ว่า เป็นประกันสำหรับผู้อาวุโส ส่วนรายละเอียดเงื่อนไขของกรมธรรม์ทุกบริษัทจะใช้เหมือนกันทั้งหมดเพื่อเป็น มาตรฐานเดียวกัน

ม.ล.จิรเศรษฐ กล่าวว่า การโฆษณาขายทางโทรทัศน์แต่ละบริษัทจะต้องมีการปรับถ้อยคำโฆษณาใหม่ให้ชัดเจน ซึ่งอาจต้องใช้เวลามากกว่า 2 เดือน ขึ้นกับแต่ละบริษัทว่าจะทำแล้วเสร็จก่อนหลัง เนื่องจากการผลิตโฆษณาและเนื้อหารายละเอียดของผลิตภัณฑ์ต้องผ่านคณะกรรมการ บริหารวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์(กบว.)และสำนักงานคณะกรรมการกำกับ และส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย(คปภ.)พิจารณาก่อน หากเห็นชอบก็สามารถโฆษณาใหม่ได้ทันที ขณะเดียวกันจะมีตัววิ่งเป็นตัวหนังสือขนาดใหญ่แจ้งรายละเอียดของผลิตภัณฑ์ ให้กับลูกค้าเพื่อให้เห็นง่ายขึ้น

“กรณีที่เสียชีวิตจากเจ็บป่วยใน 2 ปีแรกนั้น กำลังคิดคำพูดที่เหมาะสมว่าจะเป็นอย่างไร แต่นายประเวช องอาจสิทธิกุล เลขาธิการคปภ.อยากใช้คำว่าคืนเบี้ยประกันบวกผลประโยชน์เพิ่ม โดยข้อความโฆษณาของแต่ละบริษัทจะต้องชัดเจนว่าผลประโยชน์ที่เพิ่มนั้นจะให้ เท่าไหร่ ส่วนทุนประกันนั้นจะไม่ได้คืน" ม.ล.จิรเศรษฐ กล่าว

และระบุว่า ทั้งนี้เห็นว่าการซื้อผลิตภัณฑ์ผ่านทางโทรศัพท์หรือเทเลมาร์เก็ตติ้งนั้นจะ มีการบันทึกเสียงระหว่างเจ้าหน้าที่และลูกค้าในแต่ละครั้ง พร้อมทั้งมีการคอนเฟิร์มการซื้อขายกรมธรรม์ ซึ่งหากพบว่ากรมธรรม์ที่ซื้อไม่เป็นไปตามที่ผู้ซื้อต้องการ ผู้ซื้อสามารถแจ้งเจ้าหน้าที่ของแต่ละบริษัทเพื่อขอยกเลิกกรมธรรม์ได้ ขณะที่เจ้าหน้าที่เทเลมาร์เก็ตติ้งจะต้องแจ้งรายละเอียดเงื่อนไขกรมธรรม์ให้ กับลูกค้าได้รับทราบข้อเท็จจริงและถ้าพบว่ามีเจตนาขายกรมธรรม์อย่างเดียวและ พูดตามสคริปท์ที่บริษัทวางไว้เท่านั้นโดยไม่แจ้งข้อเท็จจริงด้านเงื่อนไข ความคุ้มครองให้กับลูกค้าได้รับทราบ เจ้าหน้าที่คนนั้นจะต้องถูกลงโทษสูงสุดคือไล่ออก

"บทลงโทษเจ้าหน้าที่จะต้องดูเจตนาเป็นหลัก ซึ่งมีหลายขั้นตอนเบื้องต้นอาจถูกตักเตือน ภาคทัณฑ์ และร้ายแรงถึงไล่ออกเพราะไม่ว่าลูกค้าจะถามอะไรต้องตอบคำถามให้ลูกค้า และไม่ว่าจะขายประกันผ่านช่องทางไหนหลังจากที่ส่งเล่มกรมธรรม์ให้ลูกค้า แล้วจะต้องโทรศัพท์สอบถามเพื่อตรวจสอบหรือคอนเฟิร์มกรมธรรม์กับลูกค้า ทุกกลุ่ม เนื่องจากผลิตภัณฑ์บางรายการมีความซับซ้อน ดังนั้นเรื่องผลประโยชน์ การรักษาพยาบาลและค่าชดเชยรายวันต้องอธิบาย เพราะแบบประกันไม่เหมือนกันและบางบริษัทพ่วงอุบัติเหตุรวมไว้ด้วย เช่น กรณีเสียชีวิตจากอุบัติเหตุได้ทุนประกันเต็มจำนวนเป็นต้น" ม.ล.จิรเศรษฐชี้ แจงเพิ่มเติม

ด้านนายโชน กล่าวว่า จะต้องเพิ่มข้อความโฆษณามากขึ้นเพื่อไม่ให้ลูกค้าหรือประชาชนเข้าใจผิด รวมถึงทุนประกันลงไปในโฆษณาเพื่อให้เกิดความชัดเจน โดยแต่ละบริษัทจะหยุดโฆษณาตั้งแต่วันที่ 1ก.ย.เป็นต้นไป พร้อมปรับถ้อยคำโฆษณาใหม่ เชื่อว่าการเข้ามาดูแลรายละเอียดของโฆษณาจะทำให้เกิดความเชื่อมั่นต่อบริษัท และผู้ซื้อกรมธรรม์มากขึ้น นอกจากนี้ทางสมาคมฯจะกลับไปหารือด้วยว่าต่อไปนี้จะให้ทุกบริษัทนำคำอธิบาย หลักเกณฑ์และเงื่อนไขสำคัญในสัญญามาอยู่ในหน้าแรกของกรมธรรม์คล้ายกับเป็นใบ ปะหน้าแทนที่ก่อนหน้านี้ที่ข้อความดังกล่าวจะอยู่ด้านในซึ่งผู้เอาประกันอาจ จะไม่ทันได้สังเกตเห็น

ขอบคุณข้อมูลจาก นสพ.เดลินิวส์ 01/9/58

พิมพ์