รู้จักหนี้...เพื่อใช้ชีวิตอย่างเป็นสุข


การขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องการบริหารหนี้ ส่งผลให้หลายคนเข้าไปตกอยู่ในวงจรหนี้ที่ไม่อาจชำระได้ และอาจถูกเอาเปรียบและไม่ได้รับความเป็นธรรม โดยเฉพาะกรณีการทำสัญญา กู้เงินนอกระบบ ซึ่งถูกเอาเปรียบตั้งแต่ขั้นตอนของการทำสัญญาจนถึงขั้นฟ้องคดี ชวนคุณมาทำความรู้จักประเภทหนี้กัน ทั้งหนี้ในระบบและหนี้นอกระบบ



หนี้ในระบบ เป็นหนี้ ที่ถูกต้องตามกฎหมาย สัญญาระบุหนี้ไว้เท่าไร ได้แก่ หนี้บัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคล สินเชื่อซื้อบ้าน ซื้อรถยนต์ กู้ยืมเงินทั่วไป เจ้าหนี้หรือสถาบันการเงินที่ปล่อยกู้ คือ ธนาคาร หรือ สถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร (Non Bank) ที่คิดดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย เช่น บัตรเครดิต ที่มีการคิดการคิดดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมรวมกันจะต้องไม่เกินร้อยละ 20 ต่อปี หรือการกู้สินเชื่อส่วนบุคคล ที่คิดได้ไม่เกิน ร้อยละ 28 ต่อปี ตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย และการกู้ยืมทั่วไปที่กำหนดให้คิดอัตราดอกเบี้ยได้ไม่เกินร้อยละ 15 ต่อปี ตามกฎหมาย เป็นต้น หรือบัตรเครดิต

หนี้นอกระบบ เป็นหนี้การกู้ที่อยู่นอกระบบของสถาบันการเงิน เช่น หนี้ที่กู้ยืมจากนายทุน หนี้จากเสาไฟฟ้า เงินด่วนทันใจ หนี้อาบังที่คิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 20 ต่อเดือน หนี้ที่เกิดจากการทำสัญญาสินเชื่อเพื่อผ่อนสินค้า แต่ได้รับเงินสดมา เป็นต้น การกู้หนี้ลักษณะนี้เป็นหนี้ที่คิดดอกเบี้ยเกินร้อยละ 15 ต่อปี เป็นหนี้ที่คิดดอกเบี้ยผิดกฎหมาย เจ้าหนี้จึงใช้วิธีการต่าง ๆ ในการติดตามทวงหนี้ เพื่อกดดันลูกหนี้หรือให้ได้รับความอับอาย เกิดความกลัว ข่มขู่ อาจถึงขั้นประทุษร้ายต่อร่างกายและทรัพย์สิน เพื่อให้ได้เงินคืน

ถ้าคิดจะรูดบัตรเครดิต สินเชื่อต่างๆ หรือทำสัญญาเงินกู้นอกระบบครั้งใด ควรมีสติ ตรึกตรองให้รอบคอบ จะได้ไม่เกิดปัญหาให้มานั่งเครียดกันทีหลังนั่นเอง

เรียนรู้ “เป็นหนี้จะใช้ชีวิตอย่างไร” กับมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ด้วย 2 หลักสูตรอบรมแก้ปัญหาหนี้
1.หลักสูตรทางลัดกำจัดหนี้ (Short cut Debt relief Course) 2.หลักสูตร ฝ่าวิกฤติพิชิตหนี้ (Fighting Debt Course) สอบถามรายละเอียดได้ที่ 02-2483734-37 ต่อ 128

ข้อมูลจาก ศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค

พิมพ์ อีเมล