ผู้บริโภคอ่างทองจับมือขนส่งฯ ลงนาม MOU รถโดยสารปลอดภัย

590304 news2
เครือข่ายผู้บริโภคเปิดสภาผู้บริโภคพัฒนาระบบรถโดยสารปลอดภัย จับมือรัฐและเจ้าของรถ เพื่อยกระดับการคุ้มครองผู้บริโภค


วันที่ 4 มี.ค. ศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคจังหวัดอ่างทอง ร่วมกับมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค จัดเวทีสภาผู้บริโภครถโดยสารสาธารณะจังหวัดอ่างทอง เรื่องความร่วมมือของเครือข่ายผู้บริโภคกับหน่วยงานรัฐและผู้ประกอบการเพื่อรถโดยสารปลอดภัย โดยมีทั้งขนส่งจังหวัดอ่างทอง กองคุ้มครองผู้บริโภค บริษัทขนส่งจำกัด ตำรวจ เข้าร่วมงาน

590304 news6
นายสุธี ประเสริฐศรี หัวหน้าศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคจังหวัดอ่างทอง เผยถึงผลการสำรวจคุณภาพบริการและความปลอดภัยของรถตู้โดยสารประจำทาง โดยภาพรวม 7 จังหวัดภาคกลางนั่นคือ พระนครศรีอยุธยา สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง ลพบุรี ปทุมธานี และนนทบุรี

ประเด็นความพึงพอใจของผู้โดยสารพบกว่ามีความพอใจในการใช้บริการทั้งค่าโดยสาร การปฏิบัติตามกฎจราจร พอใจต่อพนักงานขับรถ กรณีความรู้พื้นฐานการใช้บริการรถตู้โดยสารพบว่าร้อยละ 42.9 ยังไม่ทราบว่าตัวเองนั่งรถประเภทใด ประเด็นเข็มขัดนิรภัยในรถพบว่าร้อยละ 76.4 มีเข็มขัดนิรภัย แต่ร้อยละ 79.6 พนักงานขับรถไม่ได้แจ้งให้คาดเข็มขัดนิรภัย และร้อยละ 55.1 ไม่รู้ว่าถ้าไม่คาดเข็มขัดนิรภัยต้องถูกปรับ5,000บาท ร้อยละ 44.9 ทราบว่าถ้าไม่คาดเข็มขัดนิรภัยต้องถูกปรับ 5,000บาท ประเด็นพฤติกรรมการคาดเข็มขัดนิรภัยของผู้โดยสารพบว่า ร้อยละ 76 ไม่คาดเข็มขัดนิรภัย โดยมีเหตุผล 3 อันดับแรกคือ ร้อยละ 33.2 รู้สึกอึดอัด ร้อยละ 30.5 โดยสารรถเพียงระยะสั้น และร้อยละ 20.7 เข็มขัดถูกมัดไว้ที่เบาะ

“จากการสำรวจ 4 เรื่องหลัก ในจังหวัดนำร่อง 4 จังหวัดนั่นคือจังหวัดอ่างทอง สิงห์บุรี สระบุรีและอยุธยา พบว่า ประเด็นการขับรถเร็วและขับขี่รถหวาดเสียว จ.สิงห์บุรี มาอันดับ 1 ร้อยละ 87 รองลงมาคือ จ.สระบุรี ร้อยละ 60 จ.อ่างทอง ร้อยละ 23 และ จ.อยุธยา ร้อยละ 21

ประเด็นการติดเข็มขัดนิรภัยในรถโดยสารพบว่า มีเข็มขัดนิรภัยเรียงตามลำดับคือ จ.สระบุรี ร้อยละ 97 รองลงมาคือ จ.สิงห์บุรี ร้อยละ 90 จ.อยุธยา ร้อยละ 87 และ จ.อ่างทอง ร้อยละ 78
ประเด็นการแจ้งของพนักงานขับรถให้คาดเข็มขัดนิรภัย จ.สระบุรี ร้อยละ 38.8 จ.อยุธยา ร้อยละ 31.7 จ.สิงห์บุรี ร้อยละ 9.2 และจ.อยุธยา ร้อยละ 5.9 และ
ประเด็นการขาดเข็มขัดนิรภัยของผู้บริโภคพบว่ามีการคาดเข็มขัดนิรภัย จ.สระบุรี ร้อยละ 66.9 จ.อ่างทอง ร้อยละ 42.5 จ.อยุธยา ร้อยละ5.8 และ จ.สิงห์บุรี ร้อยละ 3.7”

นายสมฤกษ์ บัวใหญ่ รองผู้ว่าราชการการจังหวัดอ่างทอง เป็นประธานเปิดงาน กล่าวว่าทางจังหวัดยินดีที่จะให้ความร่วมมือในการพัฒนาและยกระดับมาตรฐานรถโดยสารที่ปลอดภัย เพราะการดูแลผู้โดยสารนั้นต้องยกระดับการคุ้มครองผู้บริโภคให้มากขึ้น รู้สึกยินดีที่มีทุกภาคส่วนทั้งขนส่งจังหวัด คปภ. ตำรวจ รวมถึงผู้ประกอบการ ให้ความร่วมมือในการยกระดับการคุ้มครองผู้บริโภค

590304 news7นางนฤมล เมฆบริสุทธิ์ หัวหน้าศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า การทำงานเรื่องรถโดยสารนั้นฯ การยกระดับการคุ้มครองผู้บริโภครถโดยสารเกี่ยวข้องกับนโยบาย และต้องพัฒนาความร่วมมือที่เป็นรูปธรรม ซึ่งปัญหาที่พบนั้นเช่นหน่วยงานรัฐมีกำลังน้อย อีกทั้งผู้บริโภคเองยังไม่รู้สิทธิ์ของตัวเอง ในขณะที่ยังมีรถไม่ได้มาตรฐาน วิ่งเร็วเกินกำหนด บรรทุกเกิน จึงต้องมีความร่วมมือจากหลายๆฝ่าย เพื่อยกระดับมาตรการดูแลผู้โดยสาร

590304 news5นางรินดา โรจน์กัญญาพร นักวิชาการขนส่งชำนาญการพิเศษ ขนส่งจังหวัดอ่างทอง กล่าวถึงมาตรการในการควบคุมกำกับดูแลรถโดยสารสาธารณะประจำทางว่า มีการใช้กฎหมายการพักใช้รถและเพิกถอนใบอนุญาตการขับรถ ซึ่งบังคับใช้ไปเมื่อวันที่ 1 มี.ค. 59 ที่ผ่านมา โดยเปิดรับเรื่องหลายช่องทางทั้งโทรศัพท์ 1584 หรือ มาร้องด้วยตัวเอง

“หากบรรทุกผู้โดยสารเกินกำหนด ปรับ 5,000 บาท และพักใช้ใบอนุญาตขับรถ 3 – 5 เดือนหากยังทำผิดอีกจะเพิกถอนใบอนุญาตการเดินรถ กรณีการขับรถเร็วทางขนส่งอ่างทองนั้นได้ทำ MOU ร่วมกับขนส่งจ.สระบุรี อยุธยา สิงห์บุรี จะมีกล้องจับความเร็วตลอดเส้นทาง หากทำผิดปรับ 5,000 บาท อบรมการใช้รถ หากยังทำผิดอีกจะปรับ 5,000 บาท และพักใช้อนุญาตการเดินรถ และเข้มงวดการติดตั้งเข็มขัดนิรภัยกับรถโดยสารทุกคัน ติด GPS ตามประกาศของกรมขนส่งทางบก” นางรินดากล่าว

นายนิมิตร อินทรา ผู้ช่วยกองคุ้มครองผู้โดยสาร บริษัทขน จำกัด จ.อ่างทอง กล่าวว่าการดูแลผู้โดยสารนั้นดูแลตั้งแต่สถานีขนส่งไปจนถึงรถโดยสาร มีการเข้มงวดตั้งแต่ความพร้อมของพนักงานขับรถต้องไม่เมา นอนเพียงพอ สภาพรถนั้นต้องมีการตรวจสภาพรถ รถต้องอยู่ในสภาพความพร้อมมีเข็มขัดนิรภัย ยางไม่สึก และจะทำการตรวจทุกครั้งก่อนรถออกจากสถานี


590304 news3
ในงานมีลงนามบันทึกความร่วมือ (MOU) เพื่อรถโดยสารสาธารณะปลอดภัย จังหวัดอ่างทอง ร่วมกันระหว่าง คณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) บริษัทขนส่ง จำกัด (บขส.) มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และ ศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคจังหวัดอ่างทอง เพื่อร่วมมือรณรงค์การบังคับใช้กฎหมายและยกระดับความปลอดภัยและพัฒนากลไกป้องกันเฝ้าระวังรถโดยสารปลอดภัยร่วมกันต่อไป

พิมพ์ อีเมล