zoczoc banner

กาปฏิทินเคาะประมูล 3 จี เช็กชื่อเอกชน 3 รายหลักท้าชนชิงไลเซ่นส์

Pic_99702

 

กทช.เคาะช่วงวันที่ 22-28 ก.ย.นี้ แม้จะกลืนไม่เข้าคายไม่ออกกับเงื่อนไขบางประการ แต่ถือเป็นอนาคตที่ชัดเจนที่สุด เปิดหน้าตักดีแทค-ทรูมูฟมีลุ้นกรอบแปรสัมปทานคลัง-ไอซีทีส่งผลดี...

กทช.กาปฏิทินกำหนดวันประวัติศาสตร์เปิดประมูล 3 จี ช่วงวันที่ 22-28 ก.ย. เชื่อผู้ประกอบการมือถือ 3 รายหลักท้าชนช่วงชิงใบอนุญาต แม้จะกลืนไม่เข้าคายไม่ออกกับเงื่อนไขบางประการ แต่ถือเป็นอนาคตที่ชัดเจนที่สุด เปิดหน้าตักดีแทค-ทรูมูฟมีลุ้นกรอบแปรสัมปทานคลัง-ไอซีทีส่งผลดี

ผู้ สื่อข่าวรายงานว่า ในการประชุมคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) เมื่อวันที่ 28 ก.ค.ที่ผ่านมา ได้อนุมัติกรอบเวลาในการเปิดประมูลใบอนุญาตประกอบกิจการโทรศัพท์มือถือยุค 3 จีแล้ว ระหว่างวันที่ 22-28 ก.ย. 2553 โดยคาดว่าจะสามารถประกาศผลผู้ชนะ การประมูลได้ในวันที่ 29 ก.ย. และให้ใบอนุญาตได้ภายใน 45 วันจากนั้น

ผู้ สื่อข่าวรายงานว่า ผู้ประกอบการทั้ง 3 ค่าย ไม่ว่าจะเป็น บมจ.ทรูมูฟ, บลจ.โทเทิ่ล แอ็คเซส คอมมูนิเคชั่น หรือดีแทค และ บลจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส หรือเอไอเอส ต่างก็ต้องการเดินหน้าเข้าสู่การเปิดประมูล 3 จีด้วยกันทั้งสิ้น แม้ว่าในทางปฏิบัติเงื่อนไขบางประการของคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) อาจ ก่อให้เกิดภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออก โดยเฉพาะเงื่อนไขที่กำหนดให้เอกชนที่ได้รับใบอนุญาต 3 จี ต้องคืนคลื่นความถี่ 2 จี รวมทั้งข้อกำหนดที่ให้วางโครงข่าย 3 จีเพื่อจะสามารถให้บริการได้ครอบคลุมพื้นที่ 50% ภายในระยะเวลา 2 ปี และ 80% ภายในระยะเวลา 4 ปี ซึ่งผู้ประกอบการมองว่าอาจเกินกว่าความต้องการใช้จริงก็ตาม

ผู้ บริหารระดับสูงของค่ายมือถือกล่าวกับผู้สื่อข่าวว่า พวกเขาปฏิเสธไม่ได้ว่าการเปิดประมูล 3 จีนั้น เป็นแนวทางที่ชัดเจนที่สุดที่จะส่งผลดีต่อการดำเนินธุรกิจให้สามารถวางแผน ล่วงหน้าด้านการเงินและการลงทุนได้ ในขณะที่เงื่อนไขการแปรสัญญาสัมปทาน 2 จี ยังไม่มีความชัดเจนในรายละเอียดหลายด้าน

ทั้งนี้ หากมองลึกลงไปในแต่ละบริษัท เริ่มจาก บมจ.ทรูมูฟ ซึ่งอายุสัมปทานภายใต้ระบบ 2 จี บนคลื่นความถี่ 800 MHZ เหลือเพียง 3 ปี ความไม่สามารถในการขยายโครงข่ายปัจจุบัน และหนี้คงค้างที่กลุ่มมีอยู่เกือบ 100,000 ล้านบาท กำลังเป็นปัญหาสำคัญของการระดมทุน และการเจรจาเงินกู้กับธนาคาร เพื่อนำเงินมาขยายการลงทุน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อเข้าเปิดประมูลใบอนุญาต 3 จีที่กำลังใกล้เข้ามา และมีราคาเริ่มต้นที่ค่อนข้างสูงมากถึง 12,800 ล้านบาท นับว่าเกินฐานะของทรูมูฟ  ซึ่งเป็นผู้ประกอบการรายที่ 3 ทรูมูฟจึงถือเป็นผู้ประกอบการที่มีความเสี่ยงสูงสุดว่าอาจไม่ได้รับใบอนุญาต 3 จี

เมื่อพิจารณาเงื่อนไขการแปรสัญญาสัมปทานมือถือ 2 จีไปเป็นใบอนุญาตของกระทรวงการคลัง และกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ที่มีอายุยาวนานขึ้นจาก 3 ปี เป็น 15 ปี ก็อาจเป็นโอกาสของทรูมูฟในการใช้สิทธิให้บริการบนคลื่นเดิมต่อไปเท่าที่ฐานะ การเงินจะอำนวย หากที่สุดแล้ว ทรูมูฟไม่ชนะ ประมูล และไม่ได้รับใบอนุญาตเปิดให้บริการระบบ 3 จี บนคลื่นใหม่ 2,100 เมกะเฮิรตซ์ (MHZ) หรือ 2.1 กิ๊กกะเฮิรตซ์ (GHZ)

ส่วนมุมมองในฝั่งดี แทค การแปรสัญญาสัมปทาน 2 จีเป็นใบอนุญาต น่าจะก่อให้เกิดผลดี ต่อค่ายดีแทคเหนือกว่าค่ายอื่น ในแง่ของการได้ ถือครองคลื่นความถี่เดิมที่ดีแทคมีไว้ในครอบครองถึง 50 MHZ ต่อไปได้อีก 15 ปี จากที่จะหมดอายุลงในอีก 8 ปีข้างหน้า เปรียบเทียบกับใบอนุญาต 3 จีใหม่ที่ผู้รับใบอนุญาตจะได้รับการจัดสรรบนคลื่น 2,100 MHZ ที่ขนาด 15 MHZ

ที่ สำคัญในเงื่อนไขใบอนุญาต 3 จีของ กทช. ที่ระบุให้ต้องคืนคลื่น 2 จี อาจก่อให้เกิดความ เสี่ยงต่อดีแทคทันที เนื่องเพราะดีแทคจะต้องคืนคลื่นที่เคยถือครองไว้จำนวนมากแก่รัฐ ซึ่งที่ผ่านมาดีแทคนับว่าได้เปรียบในเรื่องดังกล่าว เพราะจำนวนคลื่นที่มีมาก ส่งผลต่อบริการที่ดีกว่า

ขณะที่พี่ใหญ่ อย่างบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส นั้น ดูเหมือน ว่าจะเป็นรายเดียวที่ไม่ได้รับผลประโยชน์เฉพาะเจาะจงต่อการแปรสัญญาเป็นใบ อนุญาต ในทางตรงกันข้ามเอไอเอสน่าจะเป็นผู้ที่ตั้งหน้าตั้งตารอการเปิดประมูล 3 จีมากที่สุด เนื่องจากปัจจุบันคลื่นความถี่ 900 MHZ ที่มีอยู่ 17 MHZ นั้น ให้บริการได้ค่อนข้างจำกัด ด้วยฐานลูกค้าถึง 30 ล้านเลขหมาย

ขณะ เดียวกัน ความเคลื่อนไหวล่าสุดในฝั่งของคณะกรรมการบอร์ดบริษัทกสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ซึ่งจะประชุมกันในวันที่ 29 ก.ค. ที่เตรียมพิจารณาอนุมัติให้เอกชนคู่สัมปทาน ทั้งดีแทคและทรูมูฟให้บริการเชิงพาณิชย์ 3 จี บนคลื่นความถี่เดิม (2 จี) ด้วยการติดตั้งอุปกรณ์ HSPA ได้เสียที ยังจะเป็นมูลเหตุสำคัญที่จะช่วยจูงใจดีแทคและทรูมูฟให้มุ่งพัฒนาโครงข่ายต่อ ซึ่งที่สุดแล้ว กสท ก็จะมีส่วนแบ่งรายได้เพิ่มขึ้น อย่างน้อยก็ก่อนการเปิดประมูลและการลงทุนโครงข่าย 3 จีจะเสร็จสิ้น โดยปัจจุบันดีแทคและทรูมูฟได้ให้บริการ 3 จีบนคลื่นเดิมในลักษณะทดลองให้บริการ เนื่องจาก กสท ยังไม่อนุญาตให้เอกชนให้บริการเชิงพาณิชย์ ทำให้การขยายเครือข่ายเป็นไปอย่างจำกัดและลักลอบ.

 

แหล่งอ้างอิง : ไทยรัฐออนไลน์ วันพฤหัสบดีที่ 29 กรกฎาคม 2553




พิมพ์ อีเมล