ข้อมูลเพื่อผู้บริโภค

ค่าสาธารณูปโภคส่วนกลาง ถ้าไม่ได้อยู่ต้องจ่ายหรือไม่

580421 homeคุณปัญญา (ขอสงวนนามสกุล) ซื้อคอนโดมิเนียมไว้ ตั้งแต่ 5-6 ปีก่อนแต่ไม่เคยเข้าไปอยู่อาศัย ต่อมาต้องการจะขายห้องชุดของตนจึงไปติดต่อกับนิติบุคคลอาคารชุด (กรรมการคอนโดฯ) จึงทราบว่าตนเองเป็นหนี้ค่าดูแลสาธารณูปโภคส่วนกลาง และเบี้ยปรับที่เกิดจากการค้างชำระตลอดระยะเวลา 5-6 ปีที่ผ่านมา รวมทั้งหมดประมาณ 6-7 หมื่นบาท คุณปัญญาเห็นว่าเป็นเงินจำนวนมาก อีกทั้งเบี้ยปรับที่เรียกเก็บก็สูงถึงร้อยละ 10 ต่อเดือน จึงสอบถามมายังศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภคว่า กรณีนี้สมควรต้องจ่ายหนี้ดังกล่าวหรือไม่ตามพระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. 2522 กำหนดให้ "เจ้าของร่วม" (ผู้มีกรรมสิทธิ์ในห้องชุด) ต้องร่วมกันออกค่าใช้จ่ายที่เกิดจากเครื่องใช้และบริการที่มีไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกัน เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟฟ้าที่ให้แสงสว่างแก่ตัวอาคารชุด ค่าจ้างยามรักษาความปลอดภัย ดังนั้นคุณปัญญาจึงต้องจ่ายค่าดูแลสาธารณูปโภคส่วนกลางนี้ เพราะกฎหมายกำหนดชัดว่าเจ้าของร่วมต้องชำระโดยไม่จำเป็นว่าจะได้อยู่ใช้อาคารชุดนั้นหรือไม่ก็ตาม

ส่วนประเด็นที่ว่า "เบี้ยปรับ" ที่เรียกเก็บในอัตราร้อยละ 10 นั้น ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่นั้น เบี้ยปรับไม่อยู่ภายใต้บทบัญญัติมาตรา 224 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ห้ามเรียกเก็บดอกเบี้ยเงินกู้เกินร้อยละ 7.5 ต่อปี ดังนั้นคู่สัญญาจะกำหนดเบี้ยปรับเท่าไรก็ได้ แต่ศาลก็อาจจะพิจารณาลดหย่อนได้ตามสมควรหากเบี้ยปรับนั้นสูงเกินไป

ศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภคเห็นว่ากรณีนี้ควรจ่าย แต่ก็สามารถต่อรองขอลดหย่อนกับทางนิติบุคคลอาคารชุดได้
ปรึกษาปัญหาผู้บริโภค โทรศัพท์ 02-2483737

พิมพ์ อีเมล

11367 views
ดิฉันได้อ่านบทความคอลัมน์ ชีวิตที่เลือกได้ เรื่อง กฟผ โดยคุณชัยอนันต์ สมุทวณิช ในนสพ. ผู้จัดการ เมื่...

Read more

24257 views
แม้ว่าในฉลากยา จะระบุให้ผู้ใช้ยาได้ทราบถึงวิธีใช้ยาและความถี่ของการใช้แล้วก็ตาม ...

Read more

10724 views
ถกกันอีกรอบกับประเด็น ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่เอกชนเตรียมรวมตัวกันในนาม 9 สมาคมฯ ขอรัฐแก้กฎหมาย...

Read more

13586 views
 ปัจจุบันนี้อาหารสำเร็จรูปเป็นที่นิยมสำหรับผู้บริโภคมากขึ้น ฉลากโภชนาการเป็นข้อมูลที่ช่วยให้ไ...

Read more

รู้ไว้ใช้สิทธิ์

IMAGE มหากาพย์ซิมฟรี แถมหนี้ไม่อั้น
“ได้รับแจกซิมฟรี แต่ไม่ได้เปิดใช้บริการ...
IMAGE อันตรายจากการหางานตามใบปลิว
เดี๋ยวนี้เวลาไปไหนมาไหน...
IMAGE สิทธิของผู้โดยสาร
ทุกครั้งที่เกิดอุบัติเหตุทางถนนสิ่ง ที่ตามมาก็คือ...
IMAGE กฎหมายน่ารู้ผู้โดยสาร
พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ