ข้อมูลเพื่อผู้บริโภค

กฎหมายเกี่ยวกับการบังคับคดีหนี้สิน

 

เมื่อศาลมีคำพิพากษาให้เจ้าหนี้ชนะคดี หากลูกหนี้ไม่ชำระคืนตาม 30 วัน เจ้าหนี้มีสิทธิยึดทรัพย์หรืออายัดสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ได้ โดยให้ศาลตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อออกหมายยึดและอายัดต่อไป

การยึดทรัพย์
ตามขั้นตอนบังคับคดี โดยปกติเจ้าหนี้จะสืบหาว่าลูกหนี้มีทรัพย์สินใด พอให้ยึดมาขายทอดตลาดชำระหนี้บ้าง โดยเจ้าหนี้มีสิทธิที่จะยึดทรัพย์ทุกอย่างที่เป็นของลูกหนี้ หรือลูกหนี้มีกรรมสิทธิร่วม แต่กฎหมายก็ให้ความคุ้มครอง ห้ามเจ้าหนี้ยึดทรัพย์บางรายการที่มีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตหรือการประกอบอาชีพของลูกหนี้ ได้แก่

1. ทรัพย์สินที่จำเป็นในการดำรงชีวิต มูลค่ารวมกัน 50,000 บาทแรก ห้ามยึด เช่น โต๊ะกินข้าว เก้าอี้ เครื่องครัว เป็นต้น ส่วนทรัพย์สินส่วนตัว เช่น สร้อย แหวน นาฬิกา แม้เป็นทรัพย์สินส่วนตัวของลูกหนี้ แต่เจ้าหนี้ก็มีสิทธิยึดได้เพราะไม่จำเป็นต่อการใช้ชีวิต

2. ทรัพย์สินที่เป็นเครื่องมือทำมาหากินของลูกหนี้ ถ้ามูลค่ารวมกัน 100,000 บาทแรก ห้ามเจ้าหนี้ยึด เครื่องมือประกอบอาชีพ เช่น คอมพิวเตอร์ เครื่องถ่ายเอกสาร(ถ้าประกอบธุรกิจรับถ่ายเอกสาร) ในกรณีที่เครื่องมือประกอบอาชีพมีราคาสูงกว่า 100,000 บาท และจำเป็นต้องใช้จริง ๆ ก็สามารถขอต่อศาลได้
หากมีเจ้าหนี้หลายราย ทรัพย์ใดถูกยึดไปแล้ว ห้ามเจ้าหนี้รายอื่นมายึดซ้ำ เจ้าหนี้รายใดยึดก่อนก็ได้สิทธิก่อน

การอายัดเงินเดือน โบนัส ค่าตอบแทนต่าง ๆ

     ในกรณีที่ลูกหนี้ ไม่มีทรัพย์สินจะให้ยึด เจ้าหนี้จะสืบต่อไปว่าลูกหนี้ทำงานที่ไหน เพื่อจะอายัดสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ ซึ่งสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้นี้ ก็เช่น สิทธิที่จะได้รับเงินเดือนจากนายจ้าง ค่าล่วงเวลา เงินโบนัส ค่าจ้างทำของต่าง ๆ เป็นต้น โดยมีหลักเกณฑ์ในการอายัด ดังนี้
     1. อายัดเงินเดือน ค่าจ้าง ได้แค่ 30% ของเงินเดือน โดยคำนวณจากเงินเดือนก่อนหักค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เช่น ภาษี ประกันสังคม
     2. เงินโบนัส อายัดได้ 50%
     3. เงินตอบแทนกรณีลูกหนี้ออกจากงาน อายัดได้ 100%
     4. เงินค่าคอมมิชชั่นอายัดได้ 30%
     5. ส่วนเงินสวัสดิการ เช่น ค่าน้ำมัน,ค่าเบี้ยเลี้ยง,ค่าเดินทาง,ค่าที่พัก, ค่าน้ำ,ไฟฟ้า,ประปา,โทรศัพท์,ค่าตำแหน่ง,ความสามารถ ฯลฯ ที่จัดเป็นสวัสดิการ ขึ้นอยู่กับเจ้าหนี้จะสืบทราบและร้องขอต่อศาลว่าจะขออายัดเท่าไหร่
     6. ในกรณีลูกหนี้ เงินเดือน ไม่ถึง 10,000 บาท ห้ามเจ้าหนี้อายัดเงินเดือน แต่มิได้หมายความว่าหนี้จะหมดไป เพียงแต่แขวนหนี้เอาไว้ก่อน
     7. หากลูกหนี้เป็นข้าราชการหรือลูกจ้างประจำของส่วนราชการ ห้ามเจ้าหนี้อายัดเงินเดือน
     8. เมื่อถูกอายัดเงินเดือน หรือรายได้ใด ๆ ก็ตาม รวมแล้วลูกหนี้ต้องมีเงินเหลืออย่างน้อยเดือนละ 10,000 บาท แต่ถ้าจำเป็นต้องใช้เงินมากกว่า 10,000 บาท เช่น มีภาระครอบครัว ต้องดูแลบุพการี หรือมีโรคประจำตัว ก็สามารถยื่นคำร้องต่อศาลให้เพิ่มจำนวนเงินมากกว่า 10,000 บาทได้ นอกจากนี้ ก็ยังสามารถขอลดหย่อนสัดส่วนการอายัดรายได้ให้น้อยกว่าร้อยละ 30 หากมีความจำเป็น
     9. กรณีเจ้าหนี้หลายราย เมื่อเจ้าหนี้รายใดอายัดเงินเดือนลูกหนี้แล้ว ห้ามเจ้าหนี้อื่นอายัดเงินเดือนลูกหนี้ซ้ำอีก
     10. ลูกหนี้สามารถขอให้ทางบริษัท ออกหนังสือรับรอง หรือหลักฐานเพื่อแยกให้เห็นว่า เป็นเงินเดือนเท่าไร, เป็นสวัสดิการเท่าไร เพราะ เงินสวัสดิการเป็นค่าใช้จ่ายที่จำเป็นต้องใช้ เช่น ค่าที่พัก,ค่าน้ำมัน เป็นต้น

     การบังคับคดีตามคำพิพากษา ท่านห้ามมิให้บังคับคดีเมื่อพ้นกำหนดเวลา 10 ปี นับแต่ศาลมีคำพิพากษา

พิมพ์ อีเมล

11392 views
ดิฉันได้อ่านบทความคอลัมน์ ชีวิตที่เลือกได้ เรื่อง กฟผ โดยคุณชัยอนันต์ สมุทวณิช ในนสพ. ผู้จัดการ เมื่...

Read more

24288 views
แม้ว่าในฉลากยา จะระบุให้ผู้ใช้ยาได้ทราบถึงวิธีใช้ยาและความถี่ของการใช้แล้วก็ตาม ...

Read more

10745 views
ถกกันอีกรอบกับประเด็น ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่เอกชนเตรียมรวมตัวกันในนาม 9 สมาคมฯ ขอรัฐแก้กฎหมาย...

Read more

13612 views
 ปัจจุบันนี้อาหารสำเร็จรูปเป็นที่นิยมสำหรับผู้บริโภคมากขึ้น ฉลากโภชนาการเป็นข้อมูลที่ช่วยให้ไ...

Read more

รู้ไว้ใช้สิทธิ์

IMAGE มหากาพย์ซิมฟรี แถมหนี้ไม่อั้น
“ได้รับแจกซิมฟรี แต่ไม่ได้เปิดใช้บริการ...
IMAGE อันตรายจากการหางานตามใบปลิว
เดี๋ยวนี้เวลาไปไหนมาไหน...
IMAGE สิทธิของผู้โดยสาร
ทุกครั้งที่เกิดอุบัติเหตุทางถนนสิ่ง ที่ตามมาก็คือ...
IMAGE กฎหมายน่ารู้ผู้โดยสาร
พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ