วันนี้ (23 ม.ค.) เครือข่ายปฏิรูปพลังงานไทย นำโดย ม.ล.กรกสิวัฒน์ เกษมศรี ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยนโยบายพลังงาและทรัพยากร มหาวิทยาลัยรังสิต นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ นักวิชาการอิสระ และนายอิฐบูรณ์ อ้นวงษา มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค จัดเวที ‘เปิดหลักฐานสัมปทานปิโตรเลียมไทย’ ที่มหาวิทยาลัยรังสิต ศูนย์วิภาวดี อาคาร TST Tower เผยหลักฐานเปิดสัมปทานปิโตรเลียม ครั้งที่ 20 ชี้ประเทศไทยต้องยุบ พ.ร.บ.ปิโตรเลียม 2514 ทิ้ง สร้างกฎหมายใหม่ เพื่อประโยชน์สูงสุดของประเทศ
ม.ล.กรกสิวัฒน์ เผยหลักฐานและประเด็นปัญหาการเปิดสัมปทาน ครั้งที่ 20 ว่า ได้มีการนำรายละเอียดประกอบการพิจารณาการให้สัมปทาน ครั้งที่ 20 เข้าสู่คณะกรรมาธิการปฏิรูปพลังงาน สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ซึ่งในข้อมูลจากเอกสารและหนังสือยืนยันจากรัฐบาลยืนยันว่าข้อมูลดังกล่าวเป็นจริง ในการประมูลครั้งนี้มีผู้ยื่นประมูลรายเดียวและได้ตกไป แต่ได้มีการเจรจากับบริษัทดังกล่าวจนผ่านการประมูล โดยอ้างว่าเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติ ซึ่งต้องให้สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) ตรวจสอบว่าเป็นไปเพื่อประโยชน์สูงสุดหรือไม่
นอกจากนี้ ม.ล.กรสิวัฒน์ ยังชี้ให้เห็นว่ารัฐบาลเป็นผู้รับความเสี่ยงว่า “มีข้อสรุปที่อยากจะบอกว่าสัมปทานไทย ข้อดีคือเอกชนเป็นผู้รับความเสี่ยง ในความเป็นจริงมันไม่ตรง เพราะสามารถนำมาหักค่าใช้จ่ายก่อนเสียภาษีได้ ข้อนี้เองทำให้ไม่เกิดความเป็นธรรมในหมู่เอกชน ทำให้บริษัทใหม่ๆ ไม่อยากมากัน มีแต่เจ้าเดิมๆ เพราะเจ้าใหม่มาลงทุน มีค่าใช้จ่ายตัวเองต้องรับไปเอง แต่ถ้าเจ้าเก่าหลวงจะต้องรับผิดชอบ เพราะรายเก่ามีฐานรายได้ที่ต้องเสียภาษีเอาแปลงใหม่ที่ขุดเจอไม่เจอนี่มาหักได้ ดังนั้นจึงไม่เกิดความเป็นธรรมในการแข่งขันเลย นี่คือเหตุผลหนึ่ง สัมปทานไทยต้องเปลี่ยนแปลง”
ด้าน นายอิฐบูรณ์ กล่าวถึง พ.ร.บ.ปิโตรเลียม 2514 ว่า กฎหมายฉบับดังกล่าวมีปัญหาอยู่ในตัวของมันและมีการแก้ไขหลายครั้ง แต่ยังคงสาระสำคัญในหลักการคือคงใช้ระบบสัมปทานเหมือนเดิม แต่ก็ไม่สามารถแก้ไขได้ ต้องยุบทิ้งทิ้งหรือยกเลิกไปแล้วร่างกฎหมายขึ้นมาใหม่ แต่มีการท้วงว่าต้องใช้เวลา 5-6 ปีในการทำกฎหมายฉบับนี้ ควรต้องกฎหมายเดิมไปก่อนและให้มีเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 ไปก่อน ขณะที่ตอนนี้กำลังทำกฎหมายใหญ่ซึ่งเป็นกฎหมายรัฐธรรมนูญให้เสร็จภายใน 1-2 ปี แต่ทำไมกฎหมายลูกอย่าง พ.ร.บ.ปิโตรเลียมจึงไม่สามารถดำเนินการได้
“ยอมรับว่ากฎหมายปิโตรเลียมมีปัญหาอยู่หลายๆ ส่วน แล้วพยายามปรับแก้ไขครั้งแล้วครั้งเล่า แต่สิ่งที่ ม.ล.กรกสิวัฒน์ ได้ชี้ให้เห็นตัวอย่างถึงการได้สิทธิในการสำรวจและผลิตปิโตรเลียม เราได้ชี้ให้เห็นว่ามันมีปัญหาในตัวของมันเองซึ่งเป็นหลักสาระสำคัญอย่างมาก หลักที่จะชี้ให้เห็นว่า พรบ.ปิโตรเลียม 2514 ที่นำไปสู่การเข้าถึงสิทธิในการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมของไทยมันแก้ไขไม่ได้ มันต้องยุบทิ้งหรือยกเลิกออกไปเสียทั้งฉบับและต้องร่างฉบับใหม่ขึ้นมา” นายอิฐบูรณ์ กล่าว
เปิดหลักฐานและประเด็นปัญหาการเปิดสัมปทานรอบที่ 20 ใน 8 ประเด็น คือ
- มีการเจรจาปรับแก้ไขให้ผู้ที่เสนอรับสัมปทานมีคะแนนเพิ่มขึ้นโดยไม่มีการแข่งขัน จริงหรือไม่?
- มีการเจรจาปรับแก้ไขย้ายรายการ โดยไม่เปลี่ยนแปลงจำนวนเงินโดยรวม แต่เป็นผลทำให้ผู้เสนอเข้ารับสัมปทานมีคะแนนเพิ่มขึ้น จริงหรือไม่?
- มีกรณีที่เดิมผู้ที่เสนอสัมปทานไม่ได้คะแนนเลย เพราะไม่ได้มีการกรอกจำนวนเงินในเรื่องผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษ แต่กลับเรียกเจรจาแล้วเป็นผลทำให้มีการปรับย้ายรายการโดยจำวนเงินโดยรวมเท่าเดิมแล้วเป็นผลทำให้คะแนนในส่วนดังกล่าวเพิ่มขึ้น จริงหรือไม่?
- มีกรณีที่เดิมผู้รับสัมปทานไม่มีการกรอกผลประโยชน์พิเศษ จึงไม่มีคะแนนในหมวดดังกล่าว แต่กลับมีการเรียกเจรจาเพิ่มภายหลังด้วยจำนวนเงินเพียง 15,000 เหรียญสหรัฐ (ประมาณ 450,000 บาท) ทำให้ได้คะแนนเต็มในส่วนดังกล่าว จริงหรือไม่?
- มีข้อสังเกตว่าผลตอบแทนพิเศษบางรายใส่ 205,000 เหรียญสหรัฐ (ประมาณ 6,000,000 บาท) กลับได้คะแนน 18.5 จากคะแนนเต็ม 20 แต่บางรายใส่ผลตอบแทนพิเศษเพียงแค่ 15,000 เหรียญสหรัฐ (ประมาณ 450,000 บาท) กลับได้คะแนนเต็ม จริงหรือไม่?
- บริษัที่เข้าร่วมประมูลบางรายเพิ่งจดทะเบียน 2 เดือนเศษ ภายหลังจากประกาศเชิญชวนเข้าร่วมเสนอการสัมปทาน จริงหรือไม่?
- มีบริษัททุนจดทะเบียน 10 ล้านบาท และ 1 ล้านบาท ซึ่งต่ำมากแต่มีสิทธิ์ในการได้รับสัมปทาน จริงหรือไม่?
- ข้อสังเกตมาตรา 24 ของ พรบ.ปิโตรเลียม โดยให้กรณีที่ผู้ขอสัมปทานที่ไม่มีลักษณะครบถ้วน เช่น ทุน เครื่องจักร อุปกรณ์ และผู้เชี่ยวชาญที่จะสำรวจ ผลิต ขาย และจำหน่ายปิโตรเลียม แล้วให้บริษัทอื่นซึ่งรัฐบางเชื่อถือ และมีความสัมพันธ์ในด้านทุนหรือจัดการกับผู้ขอสัมปทาน รับรองที่จะให้ทุน เครื่องจักร เครื่ องมือ อุปกรณ์ และผู้เชี่ยวชาญเพียงพอที่จะสำรวจ ผลิต ขาย และจำหน่ายปิโตรเลียม
ที่มา : คณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ภาคประชาชน 24 Jan 2015
บทความเนื้อหาใกล้เคียงกัน :
|